การศึกษาความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในการเรียนรู้เรื่องแรงและความดัน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นบ่งชี้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และประวัติวิทยาศาสตร์

Main Article Content

ธัชวุฒิ กงประโคน
จิรดาวรรณ หันตุลา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ศึกษาความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 45 คน โรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ โดยใช้ประวัติวิทยาศาสตร์ เรื่องแรงและความดัน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยอาศัยแนวคิดของการวิจัยเชิงตีความ (Interpretive Paradigm) และสัมภาษณ์เพิ่มเติม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ ใบกิจกรรมบ่งชี้ความเข้าใจธรรมชาติของ วิทยาศาสตร์แบบปลายเปิด, แบบวัดความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์แบบปลายเปิด โดยตีความจากคำตอบ ของนักเรียนและจัดกลุ่มความเข้าใจออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้ มีความเข้าใจที่สมบูรณ์ มีความเข้าใจบางส่วนแต่ไม่สมบูรณ์ และไม่มีความเข้าใจ และแบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์

ผลการศึกษาพบว่า หลังจากผ่านการจัดกิจกรรม นักเรียนทุกคนมีความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ทั้ง 9 ด้าน ตามกรอบของ McComas (2004) และมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ 5 ด้าน เฉลี่ยอยู่ในระดับ มากดังนี้คือ ความ คิดเห็นทั่วไปต่อวิทยาศาสตร์ การเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ ความสนใจในวิทยาศาสตร์ การนิยมชมชอบต่อ วิทยาศาสตร์ การแสดงออกหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนแต่ละด้านดังนี้ 4.272, 4.017, 4.022, 4.067 และ 4.058 ตามลำดับ

 

The study of grade 5 students’ understanding of Nature of Science in learning about Force and Pressure through the inquiry-based learning emphasising NOS and Science Histories.

Thusshawoot Kongprakhon 1), Dr.Jiradawan Huntula 2)

1) Department of Science Education , Faculty of Educational, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand, 40002

2) Department of Science Education, Faculty of Educational, Khon kaen University, Khon Kaen , Thailand, 40002

The purpose of this study was to investigate students’ understanding about nature of science (NOS).The participants were 45 Grade 5 students, from Anuban Chaiyaphum School. Students were enhanced their understanding about Nature of Science (NOS) through History of science (HOS) in Force & Pressure. History of Science (HOS) was presented to students through the inquiry-based learning with historical sci¬entists comics. The open-ended questions were used to assess students’ understanding about Nature of Science. Students’ attitudes towards science was collected by using attitude survey questions. .

The research showed that students understood all issues about nature of science McComas(2004). In addition, students ‘attitude towards science of all student are in high level from learning through the inquiry-based learning emphasizing NOS and Science Histories, in 5 topics including : 1) General opinion in science 2) Awareness in science 3) Interest in science 4) Admiration in science and5) Participation in science are 4.272, 4.017, 4.022, 4.067 and 4.058

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)