มโนมติที่คลาดเคลื่อนของทฤษฎีทางการศึกษา: การวิพากษ์ตามมุมมองของอริสโตเติล

Main Article Content

ศานิตย์ ศรีคุณ
https://orcid.org/0000-0002-7629-5488

บทคัดย่อ

ทฤษฎีมีบทบาทต่อการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานทางด้านการศึกษา พบว่าทฤษฎีมีบทบาทต่อการวิจัยและการปฏิบัติงานทางการศึกษาแต่ทว่านักการศึกษามักมีมโนมติที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับทฤษฎีทางการศึกษา ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรื้อฟื้นทบทวนรากเหง้าของทฤษฎีทางการศึกษา เพื่อให้เกิดมโนมติเกี่ยวกับทฤษฎีทางการศึกษาที่ถูกต้อง


ผลการวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ พบว่า (1) ทฤษฎี หมายถึง กิจกรรมเชิงเหตุผลที่มีการไตร่ตรองหรือการคิดคาดคะเนที่สัมพันธ์กับความรู้อันเป็นสากล โดยที่ความรู้เกิดขึ้นจากทฤษฎีได้บรรจบแนบแน่นกับมาตรฐาน และสากลอยู่ในเทอมของนัยทั่วไปเชิงตรรกะ และไม่จำกัดเวลาหรือสถานที่ (2) ทฤษฎีทางการศึกษา หมายถึง ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับวิธีการ ทฤษฎีที่อธิบายเกี่ยวกับวิธีการเหล่านั้น และคุณค่าหรืออุดมคติของมนุษย์ (3) แหล่งมโนมติที่คลาดเคลื่อนของทฤษฎีทางการศึกษา ได้แก่ 1) ทฤษฎีไม่ได้ก่อรูปที่สัมพันธ์กับความรู้ 2) ทฤษฎีไม่ได้ก่อรูปในเทอมของสากล และ 3) กระบวนการนำทฤษฎีสู่การปฏิบัติ

Article Details

บท
บทวิเคราะห์ (Commentary)

References

ส. ศิวรักษ์. (2516). ปรัชญาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ เคล็ดไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค

Dunn, P.M. (2006). Aristotle (384–322 bc): philosopher and scientist of ancient Greece. Arch Dis Child Fetal Neonatal Ed., 91(1), F75–F77.

Irby, B. J., Brown, G., Lara-Alecio, R., & Jackson, S. (2013). The handbook of educational theories. Information Age Pub: United States of America.

Steiner, E. (1988). Methodology of Theory Construction. Edocology Research Associates: Australia.

Wikipedia. (2566b). Aristotle. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2566, จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Aristotle