การศึกษาการฝึกอบรมครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ภายใต้โครงการโรงเรียนไทยสู่ความเป็นเลิศ

Main Article Content

ภาวิณี โสธายะเพ็ชร
กีรติ คุวสานนท์

บทคัดย่อ

การจัดการฝึกอบรมเป็นหนึ่งในวิธีการพัฒนาครูได้อย่างเป็นรูปธรรมและนำไปใช้ได้จริง โดยโครงการโรงเรียนไทยสู่ความเป็นเลิศมีการจัดฝึกอบรมให้แก่ครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดการจัดการศึกษาแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาสภาพและปัญหาในการฝึกอบรมตามแนวคิดดังกล่าว และสังเคราะห์ความสำเร็จและความท้าทายจากการฝึกอบรม ด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods)


            ผลการวิจัย พบว่า สภาพและปัญหาในการจัดการฝึกอบรมในภาพรวม การปฏิบัติตามการอบรมในด้านครู นักเรียน หลักสูตรและสภาพแวดล้อม มีการปฏิบัติตามการอบรมเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยการปฏิบัตินั้นเน้นในด้านนักเรียนสูงที่สุด โดยมีการมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความเชื่อมั่น กล้าคิดกล้าทำ มีทักษะด้านการคิดและมีคุณธรรม จริยธรรม รองลงมาในด้านครู ด้านสภาพแวดล้อมและด้านหลักสูตร ตามลำดับ สำหรับปัญหาต่อการประยุกต์ใช้ความรู้ทั้ง 4 ด้าน พบว่า ด้านหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยของปัญหาสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบทั้ง 4 ด้าน โดยประเด็นที่เป็นความท้าทาย คือ การจัดกิจกรรมให้มีการเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม และการจัดกิจกรรมที่พัฒนาทักษะชีวิต ทักษะการสืบค้นหาความรู้และทักษะการคิดวิเคราะห์แยกแยะได้ ในส่วนของความสำเร็จ พบว่า ครูได้พัฒนาตนเอง ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อตนเอง ต่อนักเรียน ต่อเพื่อนครูด้วยกัน ทำให้ครูเข้าใจถึงพัฒนาการของนักเรียน คำนึงถึงความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคนและยังทำให้ตัวครูมีคุณลักษณะของครูที่ดีเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2565). เปิดชั้นเรียนสร้างสุข เมื่อปลายทางของการเรียนคือ ‘ความสุข’ ของผู้เรียน.

ดำรงค์ โตใย ปรีชา อ่วมปัญญา และธีระ ภักดี. (2549). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานการบริหารงบประมาณของ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2. ค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2566, จาก https://so05.tci- thaijo.org/index.php/tgt/article/view/7941/6899?fbclid=IwAR2pBLVwWdEFUqP4WuYL_72xBSKII4DsUK8qxOK14IcjmA4FxgawB7mZ69A

ผู้จัดการออนไลน์. (2557). สั่งเลิกอบรมครูในโรงแรม ใช้โรงเรียน-วัดประหยัดงบ. ค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2566, จาก

https://mgronline.com/daily/detail/9570000117946

ภคพร เลิกนอก และเอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2564). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลต่อการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 3(8), 1-13.

ภาวิณี โสธายะเพ็ชร. (2563). ครุศาสตร์ ต้องรอด! : “จะเป็นครู ต้องไม่หยุดเรียนรู้”. ค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2566,จาก https://www.the101.world/education-must-survive-post/

ภริมา วินิธาสถิตกุล และ ชนินันท์ แย้มขวัญยืน. (2565). การเรียนรู้เชิงรุก: แนวทางการเรียนการสอนที่เป็นเลิศใน ศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(3), 921-932.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). การให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนของครูส่งผลต่อผลการประเมินด้านการอ่านของนักเรียนอย่างไร. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2566, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2020-57/

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2544). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: เดอะโนว์เลจ เซ็นเตอร์.

หวน พินธุพันธ์. (2552). การเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : ปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญยิ่ง. ค้นเมื่อ 9 กันยายน 2566 จาก https://www.moe.go.th/การเรียนรู้โดยเน้นผู้เ/

อานนท์ เรืองวุฒิ. (2548). ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนทรวิโรฒ.

อัญญมณี บุญซื่อ. (2558). มุมห้องเรียน. วารสารครุศาสตร์, 43(4), 111-116.

The Potential. (2564). ครูต้องเชื่อว่าตัวเองมีเสรีภาพที่จะสร้างหลักสูตรในระดับปฏิบัติการ’ แนวคิดที่จะทำให้หลักสูตรฐานสมรรถนะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ: คุยกับ ดร.ออมสิน จตุพร. ค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2566, จาก https://thepotential.org/social-issues/omsin-jatuporn/

Wati, H. (2011). The effectiveness of Indonesian English teachers training programs in improving confidence and motivation. International Journal of Instruction, 4(1), 79-104.