การพัฒนานิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลที่ส่งเสริมการรู้เท่าทันดิจิทัลตามแนวทางการจัดการเรียนรู้กระบวนทัศน์ใหม่

Main Article Content

ตรีทิพพา แก้วหานาม
อนุชา โสมาบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนานิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลที่ส่งเสริมการรู้เท่าทันดิจิทัลตามแนวทางการจัดการเรียนรู้กระบวนทัศน์ใหม่ 2) เพื่อศึกษาการรู้เท่าทันดิจิทัลของผู้เรียน 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองโนอีดำ 12 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ นิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลฯ แบบวัดความรู้เท่าทันดิจิทัล  แบบประเมินผลงานในการรู้เท่าทันดิจิทัล  แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐานและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสรุปตีความและบรรยายเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า


         1) การออกแบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลฯ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) สถานการณ์ปัญหา (2) ส่วนเรียนรู้  (3) ส่วนเรียนรู้ร่วมกัน (4) ส่วนช่วยเหลือผู้เรียนและ (5) คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ


         2) การรู้ดิจิทัลของผู้เรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ย 32.83 คิดเป็นร้อยละ 76.35  และจำนวนผู้เรียนที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 83.33  ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 70 ของผู้เรียนผ่านเกณฑ์ 70 เปอร์เซ็นต์ของคะแนนเต็ม


        3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า มีค่าคะแนนเฉลี่ย 15.82 ผู้เรียนที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 75.00


        4) ความคิดเห็นของผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนมีความเห็นว่าสถานการณ์ปัญหาบนนิเวศการเรียนรู้ฯ ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาคำตอบ ภารกิจการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับสภาพจริง เนื้อหาบนนิเวศการเรียนรู้ฯมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง  และมีเครื่องมือที่เหมาะสมที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กฤตย์ษุพัช สารนอก และคณะ. (2562). องค์ประกอบและสถาปัตยกรรมระบบของระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อการจัดการ เรียนการสอนด้วยการเล่าเรื่องแบบดิจิทัลสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 6(2), 87-100.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ธณัฐชา รัตนพันธ์. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์ ที่มีผลต่อทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลของนักศึกษาครุศาสตร์.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(4), 110-125.

ปิยะพร พุ่มจันทร์. (2562). ผลของสิ่งแวดลอมทางการเรียนรูบนเครือขายรวมกับเทคโนโลยีความเปนจริงเสริมตามแนว

ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสตที่สงเสริมการคิดสรางสรรค เรื่องการ สร้างแอนิเมชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1. วิทยานิพนธปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแกน.

ปรมินทร์ อัตตะเนย์. (2563). การพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนร้ออนไลน์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเกมมิฟิเคชัน เพื่อสนับสนุนการสร้างเมนทอลโมเดลและแรงจูงใจในการเรียน วิชาวิทยาการคํานวณ เรื่อง การโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พีรวิชญ์ คำเจริญ และคณะ. (2561). การรู้เท่าทันดิจิทัล:วิวัฒนาการ ความหมาย และการสังเคราะห์ ทักษะ. วารสารวิทยาการ สารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์, 1(2), 72-81.

พีรวิชญ์ คำเจริญ และคณะ. (2562). แนวทางการส่งเสริมการรู้เท่าทันดิจิทัลตามลีลาการเรียนรู้แบบวาร์ค สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาการสารสนเทศดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สิโรดม มณีแฮด และปณิตา วรรณพิรุณ. (2562). ระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลด้วยปัญญาประดิษฐ์สำหรับการเรียนรู้อย่างชาญฉลาด. ค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2565, จาก https://so06.tci- thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/ /download/159123/128008/516352.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). สรุปผลการสำรวจข้อมูลสถานภาพการรู้เท่าทันสื่อ และสารสนเทศของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพ:กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. ค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2565, จาก https://www.mdes.go.th/law/detail/3770.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2546). ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์. ขอนแก่น: ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (เอกสารอัดสำเนา).

สุมาลี ชัยเจริญ. (2547). เทคโนโลยีการศึกษาและการพัฒนาระบบการสอน. ขอนแก่น: ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (เอกสารอัดสำเนา).

สุมาลี ชัยเจริญ. (2557). การออกแบบการสอนหลักการ ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์เพ็ญพรินท์ติ้ง.

สุภิญญา กลางณรงค์ และณภัทร เรืองนภากุล. (2564). ความเป็นพลเมืองยุคดิจิทัลกับการรับมือด้านมืดออนไลน์ในวิถี ปรกติใหม่. ค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2565, จาก https://blog.cofact.org/digitalcitizen/.

สรานนท์ อินทนนท์. (2563). ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ Digital Intelligence). ค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2565, จาก http://cclickthailand.com/wp-content/uploads/2020/04/dq_FINAL.pdf.

อนุชา โสมาบุตร. (2560). การพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการรู้สื่อและสารสนเทศของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา. รายงานการวิจัยโครงการทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Brown, J. S., Collins, A., & Duguid, P. (1989). Situated Cognition and the Culture of Learning. Educational Researcher, 18(1), 32-42.

David, O., Kurt, P., Olga, P.,& Annie, S. (2014). The Reflective Learner: Perspectives of Engineering Faculty Engaged in Learning through Service [Electronic version]. International Journal for Service Learning in Engineering, 9(2), 29-46.

DQ Institute. (2019). DQ Competencies. Retrieved July 31, 2022, from https://www.dqinstitute.org/global-standards/#contentblock1.

Ficheman, I & Lopes, R. (2008). Digital learning ecosystems: authoring, collaboration, immersion and mobility. Proceeding of IDC08: 7th International Conference on Interactive Design and Children: 11 - 13 June 2008 Chicago Illinois, (pp. 9-12). Association for Computing Machinery: New York.

Flavell, J. H. (1979). Metacognition and cognitive monitoring: A new area of cognitive-developmental

inquiry. American Psychologist, 34(10), 906–911.

Jorge R. (2011). Digital Teaching and Learning Ecology (DTLE): A Theoretical Approach for Online Learning Environments. Retrieved July 31, 2022, from https://www.researchgate.net/publication/ 267685382.

Mayer, R.E. (1992). Thinking Problem Solving in Cognition (2nd ed.). New York: Freeman.

Mayer, R.E. (1996). Designing Instruction for Constructivist Learning. New Jersey: Lawrence.

Nguyen, L., Kanjug, I., Lowatcharin, G., Manakul, T. Poonpon, K., Sarakorn.et al. (2023). Digital Learning Ecology for Classroom Teaching in Thailand High Schools. SAGE Journals, 13(1), 1-14.

Paul G. (1997). Digital literacy. New York: Wiley Computer Pub.

Piaget , J. (1964). Cognitive Development in Children: Development and Learning. Journal of Research in Science Teaching, 2(September), 176-186.

Poonam S. (2017). Constructivism: A new paradigm in teaching and learning. International Journal of Academic Research and Development, 2(4), 183-186.

Richey, R. C., & Klein, J. (2007). Design and Development Research: Methods, Strategies, and Issues. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Tippawan, M., Sajeewan, P., & Prachyanun N. (2021). Interactive Tool in Digital Learning Ecology for Adaptive Online Learning Performance. Higher Education Studies, 11(3), 70-77.

Vygotsky, L. S. (1978). Mind and society: The development of higher psychological processes. Cambridge, MA: Harvard University Press.