ความต้องการจำเป็นในพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับครู ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต สปป.ลาว

Main Article Content

แลนต้า เกดอู่คำ
วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์
เพ็ญผกา ปัญจนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพที่มีอยู่จริง สภาพที่คาดหวัง และความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาสมรรถนะการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของครู โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต จำนวน 41 คน ซึ่งกำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความสำคัญของลำดับความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่มีอยู่จริงอยู่ในระดับปานกลาง (  =3.00) และสภาพที่คาดหวังเกี่ยวกับสมรรถนะการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (  =4.94) 2) ค่า PNImodified ภาพรวม เท่ากับ 0.65 ถือว่ามีความต้องการจำเป็นสูงที่ต้องได้รับการพัฒนา โดยเรียงลำดับสมรรถนะด้านทักษะการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด (PNImodified = 1.07) รองลงมา คือ ด้านความรู้ (PNImodified = 0.56) และด้านคุณลักษณะที่เอื้อต่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน (PNImodified = 0.32) ตามลำดับ ดังนั้น การพัฒนาพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับครู ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต สปป.ลาว จึงควรกำหนดให้มีการพัฒนาสมรรถนะเหล่านี้ในหลักสูตรการฝึกอบรมเหมือนดั่งการพัฒนาวิชาการหลัก นอกจากนี้สมรรถนะการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนควรมีการฝิกฝนและส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา. (2008). แผนยุทธศาตร์การประติรูประบบการศึกษาแห่งชาติ 2006-2015. เวียงจันทน์: กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา.

กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา. (2015). วิสัยทัศน์ถึงปี 2030 ยุทธศาสตร์ถึงปี 2025 และแผนพัฒนาแขนงการศึกษาและกีฬา 5 ปี ครั้งที่ (2016-2020). เวียงจันทน์: กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา.

กรมการศึกษาชั้นสูง. (2011). ท่าแรงด้านการวิจัยใน ส.ป.ป. ลาว. เวียงจันทน์: กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2542). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนาธิป พรกุล. (2547). ระบบและนวัตกรรมการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน. องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บัวดำ แสงคำคุคลาวงษ์ (2557). รูปแบบการพัฒนานักวิจัยของมหาวิทยาลัยที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(37). 59-67.

มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต (2019). รายงานผลงานในระยะ 10 ปี และแผนงาน 5 ปี การนำพาและคุ้มครองมหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต. ส.ป.ป. ลาว.: มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต.

ไพวัน ดวงพะจัน. (2561). สังเคราะห์ตัวบ่งชี้สมรรถนะการวิจัยของครูระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(1). 208-255

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2550). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สุรสิทธิ์ สิทธิอมร. (2558). การพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยและพัฒนาด้วยการเสริมสร้างพลังและการรับรู้ความสามารถของตนสำหรับครูมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชฏสกลนคร.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุวิมล ว่องวานิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจําเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมคิด บางโม. (2544). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.

สมชัย เทพสมบัติ และคณะ. (2020). ยุทธศาสตร์การพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของครูในวิทยาลัยครู สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 8(4). 1380-1393.

สมชาติ กิจยรรยง. (2545). เทคนิคการจัดการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

Best, J. W. (1981). Research in Education. 4th Ed. New Delhi: Prentice Hall of India Pvt. Ltd

GÖKER S. D., & Ürün Göker, M. (2021). Rethinking Innovative Learning Opportunities for Teachers in Educational Organizations toward Education 4.0. IntechOpen. doi: 10.5772/intechopen.93153

Elizabeth, J. E. (2015). The Relationship between English and Employability in the middle east and north Africa. British Council. ISBN 978-0-86355-778-1

Harkins, A. M. (2008). Leapfrog Principles and Practices: Core Components of Education 3.0 and 4.0. Futures Research Quarterly, 24(1). 1-15.

McCaslin, N. L., & Tibezinda, J. P. (1998) Assessing Target Group Needs. In: Swanson et al., Eds., Improving Agricultural Extension, a Reference Manual, F. A. O., Rome. http://www.fao.org/docrep/w5830e00.htm

Mcclelland, D. C. (1974). Testing for competence rather than for “Intelligence”. American Psychologist, 29(1). 59-59.

Spencer, L. M., & Spencer, S. M. (1993). Competence at Work: Models for Superior Performance. New York: John Wiley & Sons.

Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory and Practice. USA: HARCOURT, BRACE & WORLD Inc.

Witkin, B. R., & Altschuld, J. W. (1995). Planning and conducting needs assessments: A practical guide. CA: Thounsand Oaks.