การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพโดยใช้รูปแบบ ASSURE Model ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการงานอาชีพระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพโดยใช้รูปแบบ ASSURE Model หาประสิทธิภาพของกิจกรรมการจัดการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพโดยใช้รูปแบบ ASSURE Model และหาประสิทธิผลของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพโดยใช้รูปแบบ ASSURE Model กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ด้วยวิธีตามสะดวกหรือสมัครใจ (Convenient or Volunteer Sampling) เป็นโรงเรียนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 3 โรงเรียน ครูผู้สอน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ผู้วิจัยนำรูปแบบ ASSURE Model เป็นระบบออกแบบวางแผนการใช้สื่อการสอนดำเนินตามขั้นตอน ดังนี้ วิเคราะห์ผู้เรียนคุณลักษณะผู้เรียน (Analysis Learner) กำหนดวัตถุประสงค์ (States Objective) เลือกวิธีการ สื่อและวัสดุการเรียนการสอน (Select Method, Media and Materials) นำวิธีการและสื่อวัสดุไปใช้ (Utilized Media and Materials) การมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Require Learner Participation) การประเมินผล (Evaluation) ได้แผนการจัดการเรียนรู้ 5 บทเรียน คือ (1) ความรู้เบื้องต้นของสับปะรดนางแลและภูแล รายวิชาการถนอมอาหารและแปรรูปอาหาร (2) การจัดดอกไม้เบื้องต้น รายวิชาการจัดดอกไม้ (3) การตัดเย็บเบื้องต้น รายวิชาการงานอาชีพ (4) การแกะสลักผักและผลไม้ รายวิชาการงานอาชีพ และ (5) อาหารท้องถิ่น รายวิชาอาหารท้องถิ่น ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ ASSURE Model ทั้ง 5 บทเรียนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 72.61/81.60 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้80/80 และทั้ง 5 บทเรียนมีประสิทธิผลของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01ดังนั้นรูปแบบ ASSURE Model สามารถใช้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จันทร์จิรา จูมพลหล้า. (2560). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา การออกแบบและการจัดการเรียนรู้. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. http://portal5.udru.ac.th/ebook/pdf/upload/189UUus2QuW8298dsI58.pdf
ปริวรรต สมนึก. (2558). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง “ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว”. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, (11)1, 4-17.
รักชนก อินจันทร์ ชญานิน วังตาลและกฤษณกัณฑ์ ภาโพธิรัตน์. (2565). แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ ASSURE Model วิชาการงานอาชีพ ของครูผู้สอนในจังหวัดเชียงราย. รายงานการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13. หน้า 1662-1675, สงขลา, ประเทศไทย.
วลัยนุช สกุลนุ้ย. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สื่อการสอนตามความคิดเห็นของครูศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนนทบุรี. วิทยาลัยราชพฤกษ์. นนทบุรี.
ศักดิ์นคร สีหอแก้ว. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนทักษะงานช่างพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, (10)1, 109-128.
ศิโรจน์ ศรีโกมลทิพย์. (2557). ผลการใช้สื่อมัลติมีเดียร่วมกับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการผลิตสื่อศิลปะสำหรับเด็ก. (การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเทคโนโลยีทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย), มหาวิทยาลัยศิลปากร. เพชรบุรี.
สมจิต จันทร์ฉาย. (2557). การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. เพชรเกษมพริ้นติ้ง. นครปฐม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2560-2579.กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ. (ม.ป.ป.). แนวทางจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 21ST Century Skills. สืบค้นจาก file:///C:/Users/ACER/Downloads/20160908101755_51855.pdf