สมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับสังคมผนวกกับแบบจำลองเป็นฐาน

Main Article Content

ภควัต สองเมือง
วรัญญา จีระวิพูลวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ก่อนและหลังเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับสังคมผนวกกับแบบจำลองเป็นฐาน (socio-scientific issue and model based learning, SIMBL) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี จำนวน 40 คน   โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ SIMBL จำนวน 4 แผน รวมเวลาจำนวน 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดสมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นข้อสอบชนิดสร้างคำตอบจำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีสมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียน ( gif.latex?\bar{x} = 13.78 คะแนน หรือ ร้อยละ 28.70) สูงกว่าก่อนเรียน ( gif.latex?\bar{x}  = 2.18 คะแนน หรือ ร้อยละ 2.28) และทุกองค์ประกอบของสมรรถนะ การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ชาตรี ฝ่ายคำตา และ ภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์. (2557). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 29(3), 86-99.

นิโลบล หลักหาญ, ธนาวุฒิ ลาตวงษ์ และ ภัทรภร ชัยป ระเสริฐ. (2564). การศึกษามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ด้วยการจัด การเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(3), 144-145.

วนิดา ผาระนัด และ ประสาท เนืองเฉลิม. (2561). การโต้แย้งอย่างมีเหตุผล: ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม, 37(2), 174-181.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). IMD 2015 จัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย. มองสถิติและตัวชี้วัดทางการศึกษา, 2(1), 1-8.

Ke, L., Sadler, T. D., Zangori, L., & Friedrichsen, P. J. (2021). Developing And Using Multiple Models to Promote Scientific Literacy in The Context of Socio-Scientific Issues. Science & Education, 30(3), 589–607.

Ke, L., Zangori, L. A., Sadler, T. D., & Friedrichsen, P. J. (2020). Integrating Scientific Modeling and Socio-Scientific Reasoning to Promote Scientific Literacy. In Sociocentric Issues-Based Instruction for Scientific Literacy Development (pp. 31-54). IGI Global.

Lin, S. S., & Mintzes, J. J. (2010). Learning Argumentation Skills Through Instruction In Sociocentric Issues: The Effect of Ability Level. International Journal of Science and Mathematics Education, 8, 993-1017.

OECD. (2019). PISA 2018 Science Framework in PISA 2018 Assessment and Analytical Framework. Paris: OECD.

Peel, A., Zangori, L., Friedrichsen, P., Hayes, E., & Sadler, T. (2019). Students’ Model-Based Explanations About Natural Selection and Antibiotic Resistance Through Socio-Scientific Issues-Based Learning. International Journal of Science Education, 41(4), 510–532.

Sadler, T. D., Friedrichsen, P., & Zangori, L. (2019). A Framework For Teaching For Socio-Scientific Issue And Model Based Learning (SIMBL). Educação e Fronteiras/Education and Borders, 9(25), 8–26.

Zeidler, D. L., & Nichols, B. H. (2009). Socioscientific Issues: Theory and Practice. Journal of Elementary Science Education, 21(2), 49–58.