การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 57 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) ที่ศึกษารายวิชาวิทยาการคำนวณ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษา ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาเนื้อหาสาระของหลักสูตร 2) การวิเคราะห์แหล่งเรียนรู้ และบริบทในชุมชน 3) การเชื่อมโยงเนื้อหารายวิชากับบริบทชุมชน 4) การออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา 5) กิจกรรมสะท้อนคิด และ 6) การประเมินผลตามสภาพจริง มีผลการหาประสิทธิภาพกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษา เท่ากับ 77.68/82.87
มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษา พบว่า ผู้เรียนมีทักษะการแก้ปัญหา ก่อนเรียนคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 15.57 คะแนน ส่วนคะแนนหลังเรียน คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 24.75 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. 2542. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ .2542. กรุงเทพฯ :กระทรวงศึกษาธิการ.
ชณิการ์ ผันผ่อน. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมดุลเคมี สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทิชานนท์ ชุมแวงวาปี และ ลัดดา ศิลาน้อย. (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาด้วยวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชาสังคมศึกษา ส 21103. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 38(4), 7-14.
ทิศนา แขมมณี. (2546). การพัฒนาทักษะการคิด : แนวทางที่หลากหลายสำหรับครู. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 28(1).
ปาลิตา สุขสำราญ และ วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมจิตวิทยาศาสตร์และทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21(3), 153-166.
พรรณพร นามโนรินทร์ และ ลัดดา น้อยศิลา. (2555). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PROBLEM–BASED LEARNING) ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองโก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(1), 87-94.
วนิดา ศรีสุข วิชิต สุรัตน์เรืองชัย และ พงศ์เทพ จิระโร. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 14(1), 380-381.
วิจารณ์ พานิช. (2557). นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา. สืบค้น 2 สิงหาคม 2565 จาก https://www.gotoknow.org/posts/565909
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2561). สี่เสาหลักของการศึกษา. สืบค้น 5 มิถุนายน 2565 จาก ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้: www.curriculumandlearning.com/upload/สี่เสาหลักทางการศึกษา_1415863493.pdf
วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ของครูในศตวรรษที่ 21. Graduate School Journal, 11(3).
ศรีวรรณ ฉัตรสุริยวงศ์ และ มาเรียม นิลพันธ์. (2559). กระบวนทัศน์การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เชิงสร้างสรรค์สําหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 1(8), 183-189.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สุปรียา ไผ่ล้อม. (2562). รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเมืองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อมของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2(5), 96-97.
สุมาลี ชัยเจริญ. (2557). การออกแบบการสอน หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Hough, J. a. (1970). Teaching description and analysis. Reading, Mass: Addison-Westlu.
Netwong, T. (2018). Development of Problem Solving Skills by Integration Learning Following STEM Education for Higher Education. International Journal of Information and Education Technology, 8 (9), 639-643.
Nor Hasbiah Ubaidullah, Z. M. (2021). Discovering the Role of Problem-Solving and Discussion Techniques in the Teaching Programming Environment to Improve Students “Computational Thinking Skills”. International Journal of Information and Education Technology, 11(12), 615-623.
Torrance, E. P. (1965). Guiding Creative Talent. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.