การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องรู้ทันโรคาทัศนาเมืองขอนแก่น ตามแนวคิด 5W1H ร่วมกับการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

เจิมขวัญ อิสสระพงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องรู้ทันโรคาทัศนาเมืองขอนแก่น ตามแนวคิด 5W1H ร่วมกับการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องรู้ทันโรคาทัศนาเมืองขอนแก่น ตามแนวคิด 5W1H ร่วมกับการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม  การเรียนรู้ เรื่องรู้ทันโรคาทัศนาเมืองขอนแก่น ตามแนวคิด 5W1H ร่วมกับการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  4) เพื่อเปรียบเทียบคะแนน การคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้ เรื่องรู้ทันโรคาทัศนาเมืองขอนแก่น ตามแนวคิด 5W1H ร่วมกับการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องรู้ทันโรคาทัศนาเมืองขอนแก่น ตามแนวคิด 5W1H ร่วมกับการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2  โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้อง มีนักเรียน 35 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 1 ชุดกิจกรรม จำนวน 10 เล่ม 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ จำนวน 20 ข้อ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (dependent)  ผลการศึกษาพบว่า


  1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องรู้ทันโรคาทัศนาเมืองขอนแก่น ตามแนวคิด 5W1H ร่วมกับ การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.11/81.62 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

  2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องรู้ทันโรคาทัศนาเมืองขอนแก่น ตามแนวคิด 5W1H ร่วมกับการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.7340

  3. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยของนักเรียนหลังของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องรู้ทันโรคาทัศนาเมืองขอนแก่น ตามแนวคิด 5W1H ร่วมกับการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  4. คะแนนการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยของนักเรียนหลังของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องรู้ทันโรคาทัศนาเมืองขอนแก่น ตามแนวคิด 5W1H ร่วมกับการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

        5. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องรู้ทันโรคาทัศนาเมืองขอนแก่น ตามแนวคิด 5W1H ร่วมกับการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). การคิดเชิงวิพากษ์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์, 5(3), 7 - 20.

ทัศนียา แก้วคงขำ. (2550). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเขียนสะกดคำภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

พงศ์ทัศ วนิชานันท์. (2563). การศึกษาพื้นฐานในยุค โควิด-19: จะเปิด-ปิดโรงเรียนอย่างไร?. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566,

จาก https://tdri.or.th/2020/05/basic-education-in-covid-19-crisisreopening-school-after-lockdown/

เพ็ญพิสุทธิ์ ใจสนิท. (2555). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. เชียงราย:

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

พระมหายุทธพิชาญ ทองจันทร์ และภักดี โพธิ์สิงห์. (2565). วิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ที่ต้องใฝ่ธรรม. วารสารวนัมฎอง แหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 9(1), 191-206.

มณีรัตน์ ศรีสุวรรณ และ อัญชลี ทองเอม. (2561). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับผังมโนทัศน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการ สอนวิทยาลัยครุศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

มงคล จิตรโสภิณ. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานผ่าน Google Classroom รายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. Journal of Modern Learning Development, 7(2), 242-259.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มูลนิธิสยามกัมมาจล.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2549). การศึกษาเพื่อการมีงานทํา. กรุงเทพฯ: พรินท์ พี.ที.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2549). แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2554). การนิเทศภายในหัวใจการปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียน. วารสารวิชาการ, 5(8), 25-31.

สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2551). ทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ซี.ซี.นอลลิดจ์ลิงคส์.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2552). 19 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สุวิทย์ มูลคำ. (2560). ครบเครื่องเรื่องการคิดกลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

Bergmann, J., & Sams, A. (2012). Flip Your Classroom: Reach Every Student in Every Class Every Day. International Society for Technology in Education. Retrieved May 10, 2023, from https://www.rcboe.org/cms/lib/GA01903614/Centricity/Domain/15451/Flip_Your_Classroom.pdf

McMahon, W. (2013). The Flipped Classroom 101. Retrieved May 10, 2023, from http://www.downloads01.smartech.com/media/sitecore/en/pdf/smart_publication/edcompass.pdf

O'Flaherty, J., & Phillips, C. (2015). The use of flipped classrooms in higher education: A scoping review. The Internet and Higher Education, 25, 85-95.