การพัฒนา EFs ในเด็กปฐมวัย โดยจัดประสบการณ์ดนตรีตามหลักสูตรดนตรีคีรีบูน
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักสูตรดนตรีคีรีบูน เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนากระบวนการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย โดยเฉพาะกระบวนการจัดประสบการณ์ดนตรีที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้เป็นสำคัญ ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน และมีทักษะทางดนตรีที่เหมาะสมกับวัย ไม่เน้นการท่องจำ ไม่เน้นการเล่นเครื่องดนตรีเพียงอย่างเดียว แต่เน้นที่กระบวนการเรียนรู้ ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ EFs ในเด็กปฐมวัยที่ได้รับจัดประสบการณ์ดนตรีตามหลักสูตรดนตรีคีรีบูน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ในรูปแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบการทดลองขั้นต้นและใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กอายุ 4-5 ปี จำนวน 25 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งของจังหวัดนนทบุรี ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดประสบการณ์ดนตรี และแบบประเมิน EFs สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัย อายุ 4-5 ปี ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ดนตรีตามหลักสูตรดนตรีคีรีบูนมี EFs ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลป์พฤกษ์ พลศร และพรจันทร์ โลจนะศุภฤกษ์. (2565). กิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จสำหรับเด็กปฐมวัย. Journal of Faculty of Physical Education, 25(1), 1-14.
กิติพงษ์ ลือนาม. (2561). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: โรงพิมพ์ ห้างหุ้นส่วน จำกัด โคราช มาร์เก็ตติ้ง แอนด์ โปรดักชั่น.
ไกรวิทย์ สุขวิน. (2565). บทบาทของดนตรีกับความสามัคคีในสังคมไทย. แก่นดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(1), 61-84.
ณัฏฐ์รดา ไชยอัครพงศ์. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ดนตรีที่ส่งเสริมทักษะการคิดเพื่อจัดการชีวิตสู่ความสำเร็จในเด็กปฐมวัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงการณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์]. http://grad.vru.ac.th/Database_thesis/thesis/file_pdf/Full_620a0341b8b10.pdf
ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประภัสสร พวงสำลี. (2565, 16 ธันวาคม). “ดนตรี” กับการส่งเสริมพัฒนาการในเด็กปฐมวัย. https://mgronline.com/qol/detail/9650000119276
ปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล. (2563). กิจกรรมดนตรีเพื่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย. วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ, 2(1), 59-74.
สมาคมพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ประเทศไทย. (2560). การประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร (EF) ในเด็กปฐมวัย.
วิทยา วัชระ. (2554). คนอารมณ์ดี (พิมพ์ครั้งที่ 1). อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับบลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
สิชฌน์เศก ย่านเดิม. (2558). แนวคิดทฤษฎีการสอนดนตรี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(2), 21-31.
เสาวนีย์ สังฆโสภณ. (2553). ดนตรีเพื่อสุขภาพ (ตอนที่ 1). https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=119.
อรุณี หรดาล. (2563). สอนอย่างไรให้เด็กปฐมวัยคิดเป็น. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 10(2), 211-228.
Budson, E. A. (2020). Why is music good for the brain?. https://www.health.harvard.edu/blog/why-is-music-
good-for-the-brain-2020100721062
Buss, T. A. & Lowery, N. K. (2020). Inhibitory control and executive function. Encyclopedia of Infant and Early Childhood Development (2nd ed.) https://doi.org/10.1016/B978-0-12-809324-5.23669-9
Chaiakaraphong N., Pichayakul, T., Klangphahol, K., & Chinnapong, P. (2021). Development of musical experiential model to enhance executive functions of early childhood. Kasetsart Journal of Social Sciences, 42(2021), 564-570. https://doi.org/10.34044/j.kjss.2021.42.3.17
Choksy, L., Abramson, M. R., Gillespie, E. A., & Cliffs, E. (1986). Teaching Music in the Twentieth Century. Prentice-Hall.
Dege, F., & Frischen, U. (2022). The impact of music training on executive functions in childhood-a systematic review. Z Erziehungswiss, 25, 579–602 (2022). https://doi.org/10.1007/s11618-022-01102-2
Dege, F., Kubicek, C., & Schwarzer, G. (2011). Music lessons and intelligence: a relation mediated by executive functions. Music Perception, 29(2), 195-201. https://doi.org/10.1525/mp.2011.29.2.195
Diamond, A. (2013). Executive Functions. Annual Review of Psychology, 64, 135-168. https://doi.org/10.1146/
Annurev-psych-113011-143750
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis (6th ed.). Pearson Prentice Hall.
Harvard University. (n.d.). Inbrief: executive function: skill for life and learning. https://harvardcenter.wpengin epowered.com/wp-content/uploads/2015/05/InBrief-Executive-Function-Skills-for-Life-and-Learning-2.pdf
McLeod, S. (2019). Likert scale definition, examples and analysis. https://simplypsychology.org/likert-scale.html
Najdowski, C. A., Persicke, A., & Kung, E. (2014). Chapter 18 – Executive Functions. Evidence-based treatment for children with autism. https://doi.org/10.1016/B978-0-12-411603-0.00018-5
Neville, H., Andersson, A., Bagdade, O., Bell, T., Currin, J., Fanning, J., Klein, S., Lauinger, B., Pakulak, E., Paulsen, D., Sabourin, L., Stevens, C., Sundborg, S., & Yamada, Y. (2008). Effects of music training in brain and cognitive development in under-privileged 3- to 5-year-old children: Preliminary results. Dana Press.
Schellenberg, E. G. (2011). Examining the association between music lessons and intelligence. British Journal of Psychology, 102(3), 283-302. https://doi.org/10.1111/j.2044-8295.2010.02000.x
Sira, S. C. & Mateer, A. C. (2014). Executive function. Encyclopedia of Neurological Sciences (2nd ed.). https://doi.org/10.1016/B978-0-12-385157-4.01147-7
WHO. (1997). Life skills education for children and adolescents in schools. https://apps.who.int/iris/bistream/handle/10665/63552/ WHO_MNH_PSF_93.7A_Rev.2.pdf?sequence=1&isAllowed=y
Zuk, J., Benjamin, C., Kenyon, A., & Gaab, N. (2014). Behavioral and neural correlates of executive functioning in musicians and non-musicians. PLoS ONE, 9(6), e99868. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0099868