การจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเอกชน: กรณีศึกษาโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานของสถานศึกษา และแนวทางการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ: กรณีศึกษาโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาการบริหารสู่ความเป็นเลิศ ตามเกณฑ์ TQA เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์รายงานการดำเนินงาน และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่าย และครู จำนวน 10 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการดำเนินงานของโรงเรียน เป็นไปตามเกณฑ์ TQA ทั้ง 7 หมวด 1) การนำองค์กร ผู้บริหารยึดหลักบริหารโรงเรียนเป็นฐาน 2) กลยุทธ์ มีโปรแกรม MIP และเปิดแผนการเรียน BCC NEXT 3) ลูกค้า จุดเด่น คือ สุภาพบุรุษ BCC 4) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Sustainable Happiness 5) บุคลากร มีการพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 6) การปฏิบัติการ เปิดห้องเรียน Innovation และแผนการเรียนเฉพาะด้าน 15 สาขา และ 7) ผลลัพธ์ เป็นผู้แทนประเทศแข่งขันโอลิมปิกนานาชาติ ต่อเนื่อง 15 ปี 2. แนวทางการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ตามเกณฑ์ TQA ดังนี้ 1) การนำองค์กร คุณลักษณะของผู้นำ ยึดมั่นในความรู้ควบคู่คุณธรรม 2) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ มีกำหนดเป้าหมายชัดเจน นำหลัก SWOT มาใช้ 3) การมุ่งเน้นลูกค้า เปิดโอกาสให้นักเรียน ผู้ปกครองร่วมวางแผนในกิจกรรมการเรียนการสอน 4) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ กำหนดมาตรฐานการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ
5) การมุ่งเน้นบุคลากร พัฒนาทักษะวิชาชีพให้บุคลากร ทั้งความรู้และทักษะชีวิต 6) การมุ่งเน้นการปฏิบัติการ จัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาระยะยาว 7) ผลลัพธ์ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ความถนัด และพัฒนาตนเอง ได้เต็มศักยภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกนาถ ทิมกลับ และเชวง วัฒนธีรางกูร. (2560). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 10(2), 231-237.
จีระศักดิ์ สงสัย. (2561). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเคหะบางพลี (๑๐ ปี สปช.) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 1(2), 13-25.
ชั้น อินต๊ะสาร ชูชีพ พุทธประเสริฐ และยงยุทธ ยะบุญธง. (2564). กระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 13(2), 139-148.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116.
พระอธิการบุญช่วย โชติว์โส. (2563). ภาวะผู้นำทางการศึกษา. เอกสารประกอบการสอน วิชา 210 202 ภาวะผู้นำทางการศึกษา. ขอนแก่น: เอมี่ ก๊อปปี้ เซ็นเตอร์.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2550). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์.
พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2564). คุณลักษณะเฉพาะของภาวะผู้นำของผู้บริหารการศึกษา. วารสารครุศาสตร์. 4(2), 100-105.
มัณฑนา เพ็งสาย และ ธีรภัทร กุโลภาส. (2564). แนวทางการบริหารโรงเรียนโดยใช้เทคโนโลยียุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 16(2), 199-210.
วาสินี จีนดี และศจีวรรณ ทรรพวสุ. (2565). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาและ ครู โรงเรียนเอกชน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการจัดการศึกษายุค 4.0. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 12(30), 473-485.
วิชิต อ่อนจันทร์ และและภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2564). แนวทางการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) ในกลุ่มคลองน้ำไหล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 10(1), 100-108.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). การบริหารจัดการระบบคุณภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. 2564. เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ปี 2565 - 2566. กรุงเทพฯ: บริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570). ค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2566. จาก https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_DraftFinal.pdf
สุชาดา นันทะไชย สุกัญญา สุดารารัตน อัญชิสา เหมทานนท์ และ จตุรงค์ สุวรรณแสง. (2565). แนวทางการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพที่พึงประสงค์ของครูและบุคลากรทางการศึกษา เจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ เอ็กซ์ และวาย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 12(2), 89-106.