ความต้องการจำเป็นและข้อมูลพื้นฐานในเขตภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี สำหรับเยาวชน

Main Article Content

เพ็ญผกา ปัญจนะ
ลัดดา ศิลาน้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสารสนเทศเพื่อการพัฒนาหลักสูตร 2) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและความคาดหวังในการพัฒนาหลักสูตร 3) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตร วิธีการวิจัยใช้การผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน บุคลากรในเขตพื้นที่และบุคลากรด้านสาธารณสุข ผู้ปกครองและชุมชน ในเขตพื้นที่ 3 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำสงคราม และลุ่มน้ำชี กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเปิดตาราง Krejcie & Morgan ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 413 โรงเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Sampling) ผลการวิจัยพบว่า 1) สารสนเทศเพื่อการพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวข้องกับข้อมูลด้านการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย ด้านการรับรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้ ด้านสถานการณ์ของโรค สุขาภิบาล ด้านสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ด้านทัศนคติ ความเชื่อ และพฤติกรรม ด้านความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และด้านการพัฒนาครูและเครือข่าย 2) สภาพที่เป็นจริงและความคาดหวัง ตามระดับของการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริง และสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นตามการรับรู้ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งสภาพที่เป็นจริง โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความคาดหวัง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ด้านความต้องการจำเป็นในด้านการพัฒนาหลักสูตร ครูและเครือข่าย มีความสำคัญลำดับที่ 1 มีค่า PNImodified เท่ากับ 0.29 รองลงมา ด้านการพัฒนาหลักสูตรและด้านความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชน มีค่า PNImodified เท่ากับ 0.25 และมีค่า PNImodified เท่ากับ 0.23 ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาเนื่องจาก ต้นทุนความรู้ในเรื่องนี้มีอยู่ในระดับต่ำ มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน และข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้รับในระดับน้อย มีการรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์และความเสี่ยงของโรคมีน้อยมาก และการจัดการเรียนการสอนไม่มีความต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2539). สถิติพื้นฐาน. ขอนแก่น: .โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: วีพรินท์ (1991).

ณรงค์ ขันตีแก้ว และ พวงรัตน์ ยงวณิชย์. (2555). แนวคิดด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการมะเร็งท่อน้ำดีอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ. ศรีนครินทร์เวชสาร, 27(3). หน้า 422-426.

ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม. (2554). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(2). หน้า 83 – 94.

ธวัช ปุณโณทก. (2531). ภูมิปัญญาชาวบ้านอีสาน ทัศนะของอาจารย์ปรีชา พิณทอง ทิศทางหมู่บ้านไทย. กรุงเทพฯ: เจริญวิทยาการพิมพ์.

ธิดารัตน์ บุญมาศ. (2558). วิวัฒนาการของพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี: Evolution of Liver Fluke & Cholngiocarcinoma. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

นิษณา นามวาท, วัชรินทร์ ลอยลม, และ พวงรัตน์ ยงวณิชย์. (2555). กระบวนการก่อมะเร็งท่อนำดีในระดับโมเลกุล 2: ยีนที่สัมพันธ์กับการก่อมะเร็งท่อน้ำดี. ศรีนครินทร์เวชสาร, 27(3), หน้า 364-370.

บุญเพิ่ม สอนภักดี ฉลอง ชาตรูประชีวิน และสุกัญญา แช่มช้อย. (2559). รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4). หน้า 99 – 113.

ปิยมาภรณ์ โชคอวยชัย. (2548). การสนองความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะสารสนเทศทางการพยาบาลและอุปสงค์ผ่านผลของการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุย้อนกลับ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พวงรัตน์ ยงวณิชย์. (2557). กระบวนการก่อมะเร็งท่อน้ำดีที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ. ขอนแก่น: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไพบูลย์ สิทธิถาวร. (2558). ธรรมชาติวิทยาของพยาธิใบไม้ตับ : หนังสืออ้างอิงเพื่อการเรียนการสอน. ภาควิชาปรสิตวิทยา และศูนย์วิจัยพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (เอกสารอัดสำเนา).

วนิดา โชควาณิชย์พงษ์, อำไพ สารขันธ์ และ ศุลีพร แสงกระจ่าง. (2552). การสำรวจพฤติกรรมและทัศนคติการบริโภคปลาดิบและการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี. วารสารโรคมะเร็ง, 29(4). หน้า 162-175.

วัชรพงศ์ พุทธิสวัสดิ์, ณรงค์ ขันตีแก้ว, ศิริ เชื้ออินทร์, เอก ปักเข็ม, ชุติมา ตลับนิล และ โสพิศ วงศ์คำ. (2555). มะเร็งท่อน้ำดี: ประสบการณ์โรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 27(3). หน้า 331-339.

สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มิตรสยาม.

สุรพล เวียงนนท์, กฤติกา สุวรรณรุ่งเรือง และ สุพจน์ คำสะอาด. (2555). มะเร็งท่อน้ำดี ในจังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 27(3). หน้า 326-330.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: วี พริ้น (1991).

อำไพ หรคุณารักษ์. (2550). ความรู้เพื่อประชาชน ชุด การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ลำดับที่ 1 คิด..มอง..คาดการณ์..เกี่ยวกับ..“การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย”. นนทบุรี: ศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย.

Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory and Practice. USA: HARCOURT, BRACE & WORLD Inc.

Tyler, R.W. (1949). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: The University of Chicago.

Oliva, P.F., Gordon, P.F. (2013). Developing Curriculum. 8th Eds. Singapore: Pearson Education South Asia.

Witkin, B.R., and Altschuld, J.W. (1995). Planning and conducting needs assessments: A practical guide. CA: Thounsand Oaks.