การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา

Main Article Content

จีรกาญจน์ เต็มพรสิน
สุมาลี ชัยเจริญ
อนุชา โสมาบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา รูปแบบการวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental research) แบบ Type I ซึ่งประกอบด้วย 3 ระยะ คือ 1) การพัฒนาโมเดล 2) การตรวจสอบความตรงของของโมเดล และ 3) การใช้โมเดล กลุ่มเป้าหมาย ระยะที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพของโมเดล ระยะที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพของโมเดล และนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ระยะที่ 3 ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพของโมเดล และนักศึกษาปริญญาตรี ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


1) การออกแบบและพัฒนาโมเดลฯ มี 7 องค์ประกอบ คือ (1) สถานการณ์ปัญหา (2) ศูนย์ส่งเสริมการรู้ดิจิทัล (3) แหล่งเรียนรู้ (4) ศูนย์เครื่องมือทางปัญญา (5) ชุมชนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (6) ฐานการช่วยเหลือ (7) การโค้ช


2) การรู้ดิจิทัลของผู้เรียนอยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 84.86 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ผู้เรียนมีทักษะการรู้ดิจิทัล ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การใช้ 2) การเข้าใจ และ 3) การสร้าง


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผู้เรียนร้อยละ 86.67 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ได้แคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 84.13 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด


4) ความสัมพันธ์ระหว่างการรู้ดิจิทัลกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) มีค่าเท่ากับ 0.765 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกและมีความสัมพันธ์มาก


5) ความคิดเห็นของผู้เรียน พบว่า ด้านเนื้อหา ด้านสื่อ และด้านการออกแบบ มีความเหมาะสม ช่วยสนับสนุนส่งเสริมการรู้ดิจิทัล

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ชุติมา ยิ่งสุขวัฒนา. (2547). ความรู้ความสามารถด้านการรู้สารสนเทศและคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับการศึกษาระดับปริญญาตรี ตามความคิดเห็นและความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิตยา วงศ์ใหญ่. (2560). แนวทางการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของดิจิทัลเนทีฟ. Veridian E-Journal Silpakorn University, 10(2), 1630-1642.

ปณิตา วรรณพิรุณ และ นำโชค วัฒนานัณ. (2560). ความฉลาดทางดิจิทัล. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 104(34), 12–20.

แววตา เตชาทวีวรรณ และ อัจศรา ประเสริฐสิน. (2559). การพัฒนาแบบวดัการรู้ดิจิทัลสําหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. กรงุเทพฯ: ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริรัตน์ จันทร์ใต้. (2561). ระบบสอนเสริมอัจฉริยะเพื่อทดสอบความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. คณะวิทยาการสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา. ค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2562, จาก http://www.mua.go.th/users/tqf-hed

สุมาลี ชัยเจริญ. (2559). การออกแบบการสอน หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

American Library Association. (2012). Digital literacy, libraries, and public policy. Retrieved 2 March 2023, from http://www.districtdispatch.org/ wp-content/uploads/2013/01/2012_OITP_digilitreport_ 1_22_13.pdf

Bawden, D. (2008). Origins and Concepts of Digital Literacy. In Digital Literacies: Concepts, Policies and Practices. Ed. by C. Lankshear & M. Knobe. pp. 17-32. New York: Peter Lang.

Canada. Media Awareness Network. (2010). Digital Literacy in Canada: From Inclusion to Transformation. Ottawa: The Network.

Martin, A. (2008). Digital Literacy and the “Digital Society”. In Digital Literacies: Concepts, Policies and Practices. Ed. By C. Lankshear & M. Knobe. pp. 151-176. New York: Peter Lang.

UNESCO. (2013). Global Media and Information Literacy Assessment Framework: Country Readiness and Competencies. France. Retrieved March 18, 2020, from https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000224655