ผลของการจัดโปรแกรมการศึกษาส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) โดยใช้รูปแบบการประเมิน แบบซิปป์ไอโมเดล

Main Article Content

เชรษฐรัฐ กองรัตน์
เกษราภรณ์ สรวลเส
เบญจวรรณ ป้อมแสนศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินหลักสูตรส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยม ศึกษา (มอดินแดง) ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลกระทบ และ 2) ศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรฯ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ไอโมเดล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนในปีการศึกษา 2563 จำนวน 34 คน ผู้ปกครอง 18 คน ผู้บริหาร 7 คน อาจารย์ 36 คน และอาจารย์ระดับอุดมศึกษา 15 คน รวมทั้งสิ้น  110 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 3 ชุด แบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม และแบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรในภาพรวมทั้งของกลุ่มตัวอย่าง มีความสอดคล้องและความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง และอาจารย์ระดับอุดมศึกษามีความคิดเห็นสูงที่สุดในด้านผลกระทบอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนอาจารย์และผู้บริหารโรงเรียน มีความคิดเห็นสูงที่สุดในด้านกระบวนการอยู่ในระดับมาก และ 2) ความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครองเสนอแนะว่าหลักสูตรควรปรับปรุงด้านความหลากหลายของรายวิชาเพิ่มเติม และการให้บริการด้านสัญญาณ Wi-Fi        ส่วนความคิดเห็นของอาจารย์และผู้บริหารเสนอแนะว่าหลักสูตรควรปรับปรุงด้านรายวิชาที่เน้น Active Learning รายวิชา  ที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 และควรจัดอบรมพัฒนาองค์ความรู้ในด้านหลักสูตรและการจัด  การเรียนรู้ ตลอดจนการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน และอาจารย์ระดับอุดมศึกษาเสนอแนะว่าควรปรับปรุงด้านรายวิชาเพิ่มเติมตามจุดเน้นของหลักสูตร เช่น การคิดเชิงออกแบบ รายวิชาที่พัฒนา Soft Skill และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน   การเปลี่ยนแปลง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ณัฐวรรณ เฉลิมสุข. (2563). การประเมินหลักสูตรโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา โปรแกรมการศึกษานานาชาติขั้นพื้นฐาน (มัธยมศึกษา). วารสารศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(2), 16–30.

ทิพยาภา มานะสม. (2564). การประเมินหลักสูตรโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา โปรแกรมอังกฤษ-สังคม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 32(2), 106–119.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาเรียม นิลพันธุ และคณะ. (2560). การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสาร E–Veridian, Silpakorn University, 10(2), 1198–1216.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPIEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(2), 7–24.

รุจิราพร รามศิริ, ณชพงศ์ อุดมศรี และสุมิตร สุวรรณ. (2564). การประเมินหลักสูตรโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 13(2), 498–517.

วาสนา กีรติจำเริญ, สิรินาถ จงกลกลาง, สายสุนีย์ เติมสินสุข, อดิศร เนาวนนท, สิริรัตน นาคิน, อิสรา พลนงค์ และสุภาวดี วิสุวรรณ. (2564). ผลของการจัดโปรแกรมการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทางด้านหลักสูตรและการสอนของ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยใชรูปแบบการประเมินแบบซิปโมเดล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแกน, 5(2), 63–75.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2558). จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา: กระบวนทัศน์ใหม่การพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

สหวรัชญ์ พลหาญ. (2566). ทักษะแห่งอนาคตสำหรับคนรุ่นใหม่: การทบทวนวรรณกรรมแบบกำหนดขอบเขต. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 46(1), 56–75.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สิทธิพล อาจอินทร์. (2563). การประเมินหลักสูตร: ทฤษฎีและปฏิบัติ. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อิทธิเดช น้อยไม้. (2564). การประเมินหลักสูตรโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา โปรแกรมอังกฤษ-คณิตศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(3), 382–394.

Stufflebeam, D. L. & Anthony J. Shinkfield. (2007). Evaluation Theory Models and Applications.

San Francisco: Jossey-Bass.

Stufflebeam, D. L., et al. (1971). Educational Evaluation and Division Making. Itasca, IIT: Peacock.