การพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อการพัฒนาโรงเรียนของชุมชนในท้องถิ่น

Main Article Content

นพดล ทุมเชื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อพัฒนาโรงเรียนของชุมชนในท้องถิ่น 2) พัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อพัฒนาโรงเรียนของชุมชนในท้องถิ่น 3) ศึกษาความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อรูปแบบการผลิตครูเพื่อพัฒนาโรงเรียนของชุมชนในท้องถิ่น กลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ประชากรที่ใช้ศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รวม 54 ท่าน 2) ประชากรที่ใช้พัฒนารูปแบบ คือผู้วิจัยโครงการย่อย รวม 14 ท่าน 3) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รวม 55 ท่าน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบบันทึกการประชุมกลุ่มย่อย 3) แบบประเมินความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล Content Analysis


ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานพบว่า การพัฒนารูปแบบการผลิตครูควรให้ความสำคัญกับเครือข่ายความร่วมมือ กระบวนการคัดเลือก อัตลักษณ์นักศึกษาครู กิจกรรมเสริม หลักสูตรการศึกษาพิเศษ ทักษะการวิจัยชุมชน ระบบดูแลนักศึกษา และระบบสารสนเทศ 2) การพัฒนาเป็นรูปแบบการผลิตครูเพื่อพัฒนาโรงเรียนของชุมชนในท้องถิ่นแบ่งเป็น 3 ภาคส่วน ได้แก่ กระบวนการคัดเลือกนักศึกษาครู กระบวนการผลิตครู และเครือข่ายความร่วมมือของสถาบันผลิตและพัฒนาครู 3) จากการศึกษาความคิดเห็น พบว่าด้านกระบวนการค้นหา คัดกรอง คัดเลือก และการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การเป็นนักศึกษาครู และด้านความสำคัญของเครือข่ายความร่วมมือของสถาบันผลิตและพัฒนาครูมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ข้อค้นพบคือการให้ความสำคัญกับการลงพื้นที่และการได้รับความร่วมมือจากคนในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาหลักสูตรที่ตรงตามความต้องการ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ชนิตา รักษ์พลเมือง และคณะ. (2560). การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต. วารสารครุศาสตร์, 45(3).

ทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น. (2563). โครงการสร้างโอกาศทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างใกลเป็นครูรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน. กรุงเทพฯ: กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2564, จากhttps://www.eef.or.th/fund/teachereef/

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิจัยเชิงคุณภาพการศึกษา. พิมพครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรลักษณ์ คำหว่าง และนงลักษณ์ ใจฉลาด. (2560). แนวทางพัฒนาทักษะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 6(1), 129-138.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2540). สถิติวิทยาการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาสน์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศักดิ์ชาย เพชรช่วย และคณะ. (2560). แนวปฏิบัติที่ดีของโครงการผลิตครูในสถาบันอุดมศึกษาไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(1).

ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์. (2559). รายงานชุดการปฏิรูประบบบุคลากรครู: ข้อเสนอการสร้างและคัดเลือกครูสอนดีรุ่นใหม่สู่การยกระดับคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ.

สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2564). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในศตวรรษที่ 21. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์. Journal of Teacher Professional Development, 2(1).

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). กรอบแนวคิดสำคัญในการปฏิรูปวิชาชีพครู. ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2564, จาก https://otepc.go.th/th/content_page/item/3378-pa-3.html

อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับการศึกษายุค 4.0. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Chaowarit. P., Noppadol. T., Warsittee. S., & Panupong R. (2023). The Process Development of Public Relation, Search, Screening, Selecttion, and Preparation For Admission To Scholarship Student In The Kru-Rak-Tin Project. The International Conference on Education and Social Science (ICESS): Education and Social Science. P.32-37 Feb 9-10, 2023, Kyoto, Japan.

Krittagan, D., Noppadol. T. (2022). Development of Shot-term Special Education Course for Early Childhood Teacher and Primary School Teacher Central Area under the Kru-Rak-Tin Project. Specialusis Ugdymas / Special Education 2022, 1(43), 7055-7062.

Lais, O. L., Sari, H. N., & Erkko, S. (2022). How environmental and individual factors dynamically influence student teacher professional agency during teacher education, Scandinavian Journal of Educational Research, DOI: 10.1080/00313831.2022.2127879

Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative data analysis: An expanded sourcebook. 2nd ed. Sage Publications, Inc.

Noppadol. T., Kriangwut. N., Choat I. (2023). Implementation of Kru-Rak-Tin Project by Muban Chom Bueng Rajabhat University: Lessons Learned from a Field Case Study. International Journal of Management and Applied Science (IJMAS), 9(3), 34-40.

Savickiene, I. (2010). Conception of Learning Outcomes in the Bloom's Taxonomy Affective Domain. Quality of Higher Education, 7, 37-59. https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ900258.pdf

Stoichici (Iavorschi), E., & Ioniță (Cristea), A. E. (2022). Dynamics of relationships between mentors and beginning teachers. Technium Social Sciences Journal, 38(1), 103–113. DOI: https://doi.org/10.47577/tssj.v38i1.7759

Tonsai. K., Tanakit. S., & Jintana. N. (2022). Development of Psychological and Life Skills Short-Term Training Courses for Full-Ride Scholarship Student: A Case Study of Muban Chombueng Rajabhat University's KRURAKTIN Scholarship. 10th International Conference on Teaching, Education & Learning (ICTEL). P.109. July 11–12, 2022. Budapest, Hungary.