ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่องของไหลสถิตและพลศาสตร์ของไหล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

พิชชาพร ประยูรอนุเทพ
แสงกฤช กลั่นบุศย์
ขวัญ อารยะธนิตกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและสร้างแบบทดสอบเพื่อวัดความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่อง


ของไหลสถิตและพลศาสตร์ของไหล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสำรวจความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่องของไหลสถิตและพลศาสตร์ของไหล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 70 คน ของโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ในภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2564 โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบเพื่อวัดความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพและมีแบบทดสอบที่สามารถใช้วัดมโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่องของไหลสถิตและพลศาสตร์ของไหล จำนวน 7 ข้อ ครอบคลุม 3 วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ผลการสำรวจพบว่านักเรียนมีมโนมติที่คลาดเคลื่อนคิดเป็นร้อยละ 60 โดยมีประเด็นมโนมติที่คลาดเคลื่อนแบ่งออกเป็น 5 ประเด็น (พื้นที่หน้าตัดของภาชนะกับความดันในของไหลสถิต ความสูงที่เกี่ยวข้องกับความดันในของไหลสถิต ตำแหน่งที่อยู่ใกล้ถังใหญ่จะมีความดันมาก ความดันแปรรผันตรงกับความเร็ว และการคำนวณหาความดันในกรณีใด ๆ สามารถหาได้จากสมการปาสคาล )

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุมสาระการเรียนรูวิทยาศาสตร (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพชุมนุม สหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย จํากัด

กิตติศักดิ์ ศรีวงค์ษา. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติที่มีต่อวิชาฟิสิกส์เรื่องฟิสิกส์นิวเคลียร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 18(1), 135-152.

ณรงค์ศักดิ์ สีหะวงศ์. (2557). การเสริมสร้างความเข้าใจของนักเรียนเรื่องกลศาสตร์ของไหลด้วยชุดการทดลองอเนกประสงค์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ดารารัตน์ วังโน. (2561,20 มีนาคม). การสำรวจความเข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อนเรื่องแรงและความดัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.

ธันยรัตน์ พลเยี่ยม. (2560). การศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ เรื่อง โมเมนตัมและการชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(1), 84-95.

ธีรพงศ์ จุลสายพันธ์. (2555). แนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7 (1), 205-223

นัฏฐา มิ่งสุข. (2564). การศึกษาความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อแรงพยุงในของเหลว ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 5(2), 119-132

ประภัสสร บุญเถิง. (2555). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องพลศาสตร์ของไหลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดกิจกรรมการทดลอง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

พชรพร กิจพิบูลย์. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการแก้โจทย์ปัญหา และเจตคติที่มีต่อวิชา วิทยาศาสตร์ โดยวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภัทรชา สุขสบาย. (2558) ความสามารถในการนำความรู้เรื่องของไหลไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเจคคติต่อการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน . มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/กรุงเทพฯ.

ภัทรพงศ์ อินทรกำเนิด. (2551). การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวโน้มบริบทการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกและสังคมไทย ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม. วารสารสำนักนโยบายและแผนการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 1(1), 134.

สงวนศรี ภักติยานุวรรตน์. (2538). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชา ฟิสิกส์และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องแม่เหล็ก-ไฟฟ้า โดยใช้การสอนด้วยชุดการสอนกับการสอนปกติ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุชญา พันทวี. (2558). การศึกษาแนวคิด เรื่อง พลังงานจลน์และพลังงานศักย์โน้มถ่วงของนักเรียนระดับช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงแนวคิดจากมุมมองด้านภววิทยา. [เอกสารนำเสนอ]. การเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 34, ขอนแก่น, ประเทศไทย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Alvaro Suarez. (2017). Student Conceptual Difficulties in Hydrodynamics. Physical Review Physics Education Research, 13(2). https://doi.org/10.1103/physrevphyseducres.13.020132

C. P. Wijaya, S. K. Handayanto, M. Muhardjito. (2016). The diagnosis of senior high school class X Mia B students misconceptions about hydrostatic pressure concept using three-tier. Indonesian Journal of Science Education, 5(2), 14-21

Ceken, R. (2014). Primary school teacher education students' misconception on waste. International Journal of Academic Research, 6(3), 19-23. https://doi.org/10.7813/2075-4124.2014/6-3/b.3

Chang, C., Yeh, T., & Barufaldi, J. P. (2009). The positive and negative effects of science concept tests on student conceptual understanding. International Journal of Science Education, 32(2), 265-282. https://doi.org/10.1080/09500690802650055

National Research Council. (1997). Science teaching reconsidered: A handbook. Washington, DC: National Academics Press.

Smith and Wittmann. (2008). Applying a resources framework to analysis of the Force and Motion Conceptual Evaluation. Physics Education Research, 4(2), 1-12