การจัดการเรียนรู้บนแพลตฟอร์มห้องเรียนออนไลน์: การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของสื่อวิดีโอออนไลน์ (E1/E2) เรื่องพลังงานความร้อนที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เรื่องพลังงานความร้อนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน และ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน 2) สื่อวิดีโอออนไลน์เรื่องพลังงานความร้อน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่ข้อมูลไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของสื่อวีดิโอออนไลน์เรื่องพลังงานความร้อนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.89/80.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย จำกัด.
จิตราภรณ์ ชั่งกริส. (2559). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ตามแนวคิด Flipped Classroom.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เจษฎา ราษฎร์นิยม สุเมธพงศ์ จงรักษา อารยา ลี และมนมนัส สุดสิ้น. (2562). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง พันธุศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT และการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ผังมโนมติรูปตัววี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(3), 25–35.
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2560). ห้องเรียนกลับด้าน : ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน, 6(2), 171–182.
ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด: ทฤษฎีและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชบาพร พิมวัน. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับสืบเสาะหาความรู้ (5E) ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมบัติของสารพันธุกรรมและมิวเทชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรบัณทิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7–20.
ธีระชล สาตสิน และ ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล. (2564). ถอดบทเรียนการสอนออนไลน์: ความท้าทายสำหรับอาจารย์ ในสถานการณ์โรคโควิด 19. วารสารพยาบาลทหารบก, 22(1), 1–9.
นพัฒน ทองมา. (2565). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้วีดิทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์บนเว็บที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภาคตัดกรวยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 45(2), 34–52.
นัฏฐารุจา สรอยกุดเรือ และ พรรณวิไล ดอกไม. (2564). การจัดการเรียนรูดวยรูปแบบหองเรียนกลับดานโดยใชกระบวนการสืบเสาะ หาความรูแบบเปดเพื่อเสริมสรางทักษะการคิดขั้นสูง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 5. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 18(2), 151–164.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
เผด็จ เพชรออด พงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ และ ทิพย์เกสร บุญอำาไพ. (2562). การพัฒนาระบบการสอนผ่านวีดิทัศน์บนเมฆาวิถีวิชาเตรียมแพทย์สำหรับนิสิตแพทย์ในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(3), 333–347.
ภพ เลาหไพบูลย์. (2542). แนวการสอนวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
วสันต์ ศรีหิรัญ. (2560). ห้องเรียนกลับด้านกับการคิดวิเคราะห์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 14(65), 19–28.
วิญลี่ รุ่งฤดีสมบัติกิจ. (2564). ผลของการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านเรื่องการวิเคราะห์ภาพถ่ายส่งขายออนไลน์ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาตร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 20(2), 12–21.
วุฒิชัย ภูดี. (2564). แนวทางการจัดการเรียนรูโดยการบูรณาการหองเรียนกลับดานกับการสอนแบบสืบเสาะแบบ 5E โดยใชเครื่องมือดิจิทัลผานหองเรียนเสมือนจริงในการสอนคณิตศาสตร. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 4(2), 279–288.
ศุภวรรณ การุญญะวีร. (2564). การเรียนการสอนสำหรับนักเรียนในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร, 2(2), 48–55.
ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์.. ค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2565, จาก https://pisathailand. ipst.ac.th/pisa2018-fullreport/
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563. ค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.niets.or.th/ uploads/editor/files/O-NET/3เผยแพร่rapidreportM3-2563(1).pdf
สัญญา ศรีคงรักษ์. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
เอกราช ตาแก้ว. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ธาตุและสารประกอบ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรูรวมกับแนวคิดห้องเรียนกลับดานสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 4. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 4(1), 71–83.
Bates, A. W. (2015). Teaching in a Digital Age: Guidelines for Designing Teaching and Learning. BC campus.
Bergmann, J., & Sams, A. (2012). Flip Your Classroom: Reach Every Student in Every Class Every Day. United States of America: ISTE and ASCD.
Hrastinski, S. (2008). Asynchronous and Synchronous E-Learning. Educause Quarterly, 31(4), 51-55.
Lemlech, J. K. (1994). Curriculum and Instructional Methods for the Elementary and Middle School. New York: Macmillan College Publishing Company.
Means, B., Toyama, Y., Murphy, R., Bakia, M., & Jones, K. (2010). Evaluation of Evidence-Based Practices in Online Learning: A Meta-Analysis and Review of Online Learning Studies. Retrieved 27 June 2024, from https://www2.ed.gov/rschstat/eval/tech/evidence-based-practices/finalreport.pdf