การพัฒนาสื่อบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การเต้นโขนประกอบคำพากย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ทรงธรรม สุขยานี
นงนุช นุชระป้อม
สะวรรณยา เกตานิรุจน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์การวิจัย  เพื่อ  1)  พัฒนาสื่อบทเรียนออนไลน์  เรื่อง  การเต้นโขนประกอบคำพากย์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  2)  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์  ก่อนเรียนและหลังเรียน  3)  ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ที่มีต่อบทเรียนออนไลน์  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  เป็นนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา  ที่เรียนโขนตัวลิง  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2564  จำนวน   40 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ประกอบไปด้วย  1)  บทเรียนออนไลน์  เรื่อง  การเต้นโขนประกอบคำพากย์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  2)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  3)  แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์  เรื่อง  การเต้นโขนประกอบคำพากย์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6


ผลการวิจัยพบว่า  1)  สื่อบทเรียนออนไลน์  เรื่อง  การเต้นโขนประกอบคำพากย์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  มีค่าอยู่ระหว่าง  83.38/89.25  แสดงว่าบทเรียนออนไลน์มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  2)  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์  ก่อนเรียนมีค่า  gif.latex?\bar{x}  =  16.63  และ  S.D.  =  0.67  และหลังเรียนมีค่า  gif.latex?\bar{x}  =  17.85  และ  S.D.  =  0.62  แสดงว่าบทเรียนออนไลน์  เรื่อง  การเต้นโขนประกอบคำพากย์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี  3)  ผลของการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ที่มีต่อบทเรียนออนไลน์  อยู่ในระดับมากที่สุด  ( gif.latex?\bar{x}  =  4.61, S.D.  =  0.49)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2562). โขน: มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติรายการของ

ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมศิลปากร. (2556). โขน อัจฉริยนาฏกรรมสยาม. กรุงเทพฯ: มรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.

เจนจบ สุขแสงประสิทธิ์, & ฬิฏา สมบูรณ์. (2564). รูปแบบการเรียนด้วยตนเองทางเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนใน

ยุคศตวรรษที่ 21 บริเวณพื้นที่ชายแดน จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(3), 179-181.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

ณิชชา ชำนิยนต์. (2560). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดยใช้ตัวช่วยเสริมศักยภาพบนเว็บรายวิชาเทคโนโลยีและ

นวัตกรรมทางการศึกษาของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัย

ราชภัฏธนบุรี, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ธวัช รวมทรัพย์, & รัตน์พรรษ ประภาศิริลักษณ์. (2561). องค์ประกอบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารวิชาการ

มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 13(1), 76.

นงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร. (2558). เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีรายมงคลธัญบุรี, 2(2), 10.

นาตยา ช่วยชูเชิด. (2556). ผลการใช้บทเรียนออนไลน์แบบสืบเสาะร่วมกับโปรแกรมมูเดิล สำหรับนักเรียนระดับ

ประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารกลุ่มมนุษย์ศาสตร์-สังคมศาสตร์, 3(2), 52-64.

นิพนธ์ ศุขปรีดี. (2563). นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษายุคดิจิตอล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

กาญจนบุรี, 9(2), 180.

เบญจพร ตีระวัฒนานนท์, ดวงพร ธรรมะ, & ดำรัส อ่อนเฉวียง. (2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียน

กลับด้าน เรื่อง การสร้างภาพกราฟิก โดยโปรแกรมนำเสนอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. E-

journal of Education Studies, Burapha University, 2(2), 16-30.

ประวิทย์ ฤทธิ์บูลย์. (2563). โขนวิทยา: ศาสตร์ศิลป์ ถิ่นสยาม. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชัน.

ปณิตา วรรณพิรุณ. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาการคิด

อย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและ

สื่อสารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงศ์รัตน์ ธรรมชาติ & ชวลิต เกิดทรัพย์. (2564). ทบทวนบทเรียน ONSITE สู่ ONLINE กับการพัฒนาครูที่ไร้ทิศทาง

ในยุควิกฤต COVID-19. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(12), 23-25.

พิมพ์วิภา มะลิลัย, ดำรัส อ่อนเฉวียง, & สุขมิตร กอมณี. (2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาภาษาจีนกลาง เรื่อง

พินอิน ด้วยกูเกิลคลารูม (Google Classroom) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. E-journal of

education Studies, Burapha University, 2(2), 31-43.

ภัทรจาริน บำรุงกูล, ธนะวัฒน์ วรรณประภา, & อาจณรงค์ มโนสุทธิฤทธิ์. (2564). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดย

ผสมผสานแนวคิดบทเรียนแสวงรู้บนเว็บ (WebQuest) ร่วมกับห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) เพื่อ

พัฒนาทักษะดนตรี (การเป่าขลุ่ยเพียงออ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารบัณฑิตศึกษา, 18(80),

-54.

เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. (2556). การออกแบบการเรียนการสอนด้วยระบบ e-learning. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี,

(4), 23-27.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์, & จรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้

สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์

อนามัยที่ 9, 14(34), 285-296.

วันวิสา หมั่นทวี. (2556). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประเมินตนเอง สำหรับบุคลากร

ในกลุ่มบริษัทพัฒนายนต์. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

สาวิตรี ผิวงาม. (2564). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ดิจิทัลที่ส่งเสริมความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 13(2), 15.

สุดากาญจน์ ปัทมดิลก, ฉันทนา จันทร์บรรจง, ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์, ทักษ์ อุดมรัตน์, วรินทร บุญยิ่ง &

รัตนชฎาวรรณ อยู่นาค. (2564). การจัดการการศึกษาระดับชั้นปฐมวัยและประถมศึกษาช่วงการแพร่ระบาดของ

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19). Journal of Information and Learning, 32(3), 54-56.

สุดใจ ปลื้มจิตร์. (2557). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาการบัญชีต้นทุน เรื่องต้นทุนการผลิต สำหรับนักศึกษาระดับ

ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 แผนกวิชาการบัญชี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สุธาสินี นาคกรด, ไกรเดช ไกรสกุล, & วิชิต สุขทร. (2557). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วย

ตนเอง เรื่อง สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมและสังคม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 6(1), 114-122.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2553).

แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ศุภเศรษฐ์ พึ่งบัว. (2562). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาอินเทอร์เน็ตด้วยแอปพลิเคชัน Google Classroom

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยบูรพา.