ผลการจัดการเรียนรู้วิชาโลกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะทางภูมิศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงอนาคตของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ปวันรัตน์ ธัญญะผล
อาจารย์ ดร.กัลยา เทียนวงศ์
อาจารย์ ดร.ชัยรัตน์ โตศิลา

บทคัดย่อ

การคิดเชิงอนาคตเป็นทักษะสำคัญ ที่ช่วยพัฒนาการคิดและการคาดการณ์ของผู้เรียนบนพื้นฐานของข้อมูล อันเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาโลกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4            โดยกระบวนการสืบเสาะทางภูมิศาสตร์ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงอนาคตก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยกระบวนการสืบเสาะทางภูมิศาสตร์ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการสืบเสาะทางภูมิศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล จำนวน 40 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอาสาสมัคร (Volunteer Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย            1) แผนหน่วยการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดความสามารถในการคิดเชิงอนาคต และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการสืบเสาะทางภูมิศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการคิดเชิงอนาคตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความคิดเห็นของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กนก จันทรา. (2561). การรู้เรื่องภูมิศาสตร์: ถอดบทเรียนประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ในชั้นเรียนที่เสริมสร้างการรู้เรื่องภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นาตยา ปิลันทนานนท์. (2526). อนาคตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สำนักวิชาการ และมาตรฐานการศึกษา. (2561). คู่มือการใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง 2560) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Edelson, C; Daniel. (2011). Learn about geo-literacy—what it is, why it's important, and what we can do to advance geo-literacy in the U.S. Retrieved August 18, 2020, from https://www.nationalgeographic.org/article/geo-literacy-preparation-far-reaching-decisions/

Environmental Systems Research Institute: ESRI. (2003). Geographic Inquiry: Thinking Geographically. Retrieved August 18, 2020 from: https://www.esri.com/Industries/k-12/education/~/media /Files/Pdfs/industries/k-12/pdfs/geoginquiry.pdf

Guinness and Nagle. (2014). Geography Second Edition. Second published Dubai.

Jones, A., Buntting, C., Hipkins, R., McKim, A., Conner, L., & Saunders, K. (2011). Developing Students’ Futures Thinking in Science Education. Research in Science Education, 42(4), 687–708. doi:10.1007/s11165-011-9214-9.

National Geographic Society. (2017). Geo – Inquiry Process Educator Guide. Retrieved August 18, 2020 from: https://media.nationalgeographic.org/assets/file/Educator_Guide_Geo_Inquiry_Final_1.pdf

Oxford University Press. (in press). Oxford Big Ideas Geography 8: Geographers Toolkit. Retrieved August 18, 2020, from https://www.oup.com.au/__data/assets/pdf_file/0024/58038/Oxford-Big-Ideas-Geography-8-Geographers-Toolkit.pdf

Siew, N. and Rahman, M. (2019). Assessing the Validity and Reliability of the Future Thinking Test using Rasch Measurement Model. International Journal of Environmental and Science Education, 14(4), pp. 139-149.

Tilbury, D (2011). Education for Sustainable Development: An Expert Review of Processes and Learning. Retrived September 29, 2020, from https://sustainabledevelopment.un.org/content/documents/927unesco10.pdf

United Nations Thailand. (2015). การจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs). ค้นเมื่อ 21 กันยายน 2563, จาก https://www.un.or.th/globalgoals/th/the-goals/

Warren et al. (2014). Sustainability Education Framework for Teachers: Developing sustainability literacy through futures, values, systems, and strategic thinking, Journal of Sustainability Education, 6, 1-14. Retrieved from http://www.jsedimensions.org/wordpress/wp-content/uploads/2015/01/Warren-et-al.-JSE-May-2014-With-Hyperlinks-Rider-corrected.pdf

Wiek, A., Withycombe, L., & Redman, C. L. (2011). Key competencies in sustainability: A reference framework for academic program development. Sustainability Science, 6(2), 203-218.