ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้วีดิทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์บนเว็บที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภาคตัดกรวยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน

Main Article Content

ธนพัฒน์ ทองมา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภาคตัดกรวยของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้วีดิทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์บนเว็บ (กลุ่มทดลอง) กับกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (กลุ่มควบคุม) และ (2) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับความสามารถทางการเรียนของนักเรียนกับวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภาคตัดกรวย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม จำนวน 2 ห้อง รวม 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย บทเรียนวีดิทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์บนเว็บแอปพลิเคชัน Edpuzzle เรื่องภาคตัดกรวย แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภาคตัดกรวย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภาคตัดกรวยสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ระดับความสามารถทางการเรียนของนักเรียนกับวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภาคตัดกรวยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภาคตัดกรวยของนักเรียนกลุ่มปานกลางและกลุ่มอ่อนในกลุ่มทดลองจะสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่สำหรับนักเรียนกลุ่มเก่ง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภาคตัดกรวยของนักเรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

จิรากร สำเร็จ. (2551). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) โดยเน้นเทคนิค KWDL ที่มีต่อความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Re_Sta/Chirakorn_S.pdf

ฉันท์ทิพย์ ลีลิตธรรม, และ มนต์ชัย เทียนทอง. (2557). การสังเคราะห์กรอบแนวคิดการเรียนรู้ในห้องเรียนกลับทางร่วมกับเทคโนโลยีการเรียนรู้แบบภควันตภาพโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15. (หน้า 120-126). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทัศนีย์ กาตะโล. (2547). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่องภาคตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต CMU Intellectual Repository. http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/23046

นรินธน์ นนทมาลย์. (2554). ผลของการแทรกเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H ในวิดีโอบรรยายออนดีมานด์บนเว็บ 2.0 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. Chulalongkorn University Intellectual Repository. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32248

พันทิพา อมรฤทธิ์. (2561). การสร้างสื่อบทเรียนปฏิสัมพันธ์ด้วย Edpuzzle. ค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2564, จาก https://mgt.skru.ac.th/mgt_km/file/prefile/20180731-6189148.pdf

ยุภาพร ด้วงโต้ด. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3494

วรรณวรางค์ น้อยศรี. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ SSCS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยนเรศวร. http://www.edu.nu.ac.th/th/news/docs/download/2020_06_10_15_38_48.pdf

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

ศิริพล แสนบุญส่ง. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านโดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคอมพิวเตอร์สำหรับครูของนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ

วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(พิเศษ), 133-146.

สุพัตรา อุตมัง. (2558). แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน : ภาพฝันที่เป็นจริงในวิชาภาษาไทย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์

ศรีนครินทรวิโรฒ, 16(1), 51-58.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). ห้องเรียนกลับทาง: ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21 [เอกสารประกอบการประชุมผู้บริหารโรงเรียนในสังกัด สพป.แพร่เขต 2]. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.mbuisc.ac.th/phd/academic/

flipped%20classroom2.pdf

สุวิมล เสวกสุริยวงศ์. (2553). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการสร้างแบบสอบวินิจฉัยทางคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34753

เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต. (2547). การปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้. ใน สารานุกรมศึกษาศาสตร์ ฉบับที่ 31 (น. 51-57). กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Amstelveen, R. (2019). Flipping a college mathematics classroom: An action research project. Education and Information Technologies, 24(2), 1337-1350.

Ayçiçek, B., & Yanpar Yelken, T. (2018). The Effect of Flipped Classroom Model on Students' Classroom Engagement in Teaching English. International Journal of Instruction, 11(2), 385-398.

Barret, G., & Goebel, J. (1990). Unit 24 The Impact of Graphing Calculators on the Teaching and Learning of Mathematics in Teaching & Learning Mathematics in the 1990s. VA: The Council.

Bergmann, J., & Sams, A. (2012). Flip your classroom: Reachevery student in every class day. Eugene, Oregon: International Society for Technology in Education.

Crockett, L. W. (2016). 5 Strategies for a Successful Flipped Math Class. Retrieved May 18, 2021, from https://globaldigitalcitizen.org/5-strategies-flipped-math-class

Hidayat, L. E., & Praseno, M. D. (2021). Improving Students’ Writing Participation and Achievement in an Edpuzzle-Assisted Flipped Classroom. EDUCAFL: Journal of Education of English as Foreign Language, 4(1), 1-8.

National Council of Teachers of Mathematics. (1989). Curriculum and Evaluation Standards for School Mathematics. VA: The Council.

Silverajah, V. G., & Govindaraj, A. (2018). The use of Edpuzzle to support low-achiever's development of self-regulated learning and their learning of chemistry. In Proceedings of the 10th International Conference on Education Technology and Computers (pp. 259-263). https://doi.org/10.1145/3290511.3290582

Wilson, A. (2016). The Flipped Approach: The Use of Embedded Questions in Math Videos. [Doctoral dissertation n.p.]. The University of Texas at El Paso.