การศึกษาผลการใช้กระบวนการฝึกอบรมตามแนวคิดการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญผ่านโครงการโรงเรียนกรุงเทพมหานครสู่ความเป็นเลิศ

Main Article Content

ภาวิณี โสธายะเพ็ชร
กีรติ คุวสานนท์

บทคัดย่อ

กระบวนการฝึกอบรมเป็นการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนโดยเฉพาะการยึดแนวคิดเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการฝึกอบรมตามแนวคิดการจัดการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโครงการโรงเรียนกรุงเทพมหานครสู่ความเป็นเลิศ และ 2) เพื่อเสนอแนวทางในการขับเคลื่อนแนวคิดการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนเป็นสำคัญสู่โรงเรียนกรุงเทพมหานคร วิธีการวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งมีกระบวนการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยรวบรวมข้อมูลจากการ สังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและการลงศึกษาภาคสนามในการเก็บข้อมูลเชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย


            ผลการวิจัย พบว่า ผู้เข้าอบรมมีความรู้สึกพึงพอใจต่อการอบรมมากขึ้นตามลำดับต่อกระบวนการฝึกอบรมตามแนวคิดการจัดการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child-Centered  Education) โดยประกอบไปด้วยเนื้อหา 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านครู ด้านหลักสูตรและด้านนักเรียน โดยสามารถสรุปผลจากการฝึกอบรมได้เป็นปัจจัยหลัก 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) การดูแลเอาใจใส่อย่างพิถีพิถันของคณะวิทยากร 2) หัวข้อการอบรมเป็นประโยชน์และนำไปใช้ได้จริง 3) วิทยากรพิเศษร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรง และ 4) รูปแบบกิจกรรมที่ไม่น่าเบื่อ และแนวทางในการขับเคลื่อนแนวคิดการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนเป็นสำคัญสู่โรงเรียนกรุงเทพมหานคร พบว่า ต้องการให้มีการฝึกอบรมตามหลักสูตรของต่อไป รวมทั้งลดภาระงานของครูและลดนโยบายการสั่งการจากบนลงล่าง (Top-down approaches) เพื่อให้ครูได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตนเอง คือ การออกแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2541). การประเมินผลจากสภาพจริง. กรุงเทพ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2545). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: แอล ที เพรส

วิจิตร อาวะกุล. (2550). การฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีอรุณ เรศานนท์. (2537). การจัดการงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน.

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2544). การยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและการประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ The Knowledge Center.

สำลี รักสุทธิ. (2543). ทางก้าวสู่ครูมืออาชีพ. กรุงเทพ: พัฒนาศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2540). ระบบประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกรุงเทพมหานคร. (2556). แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556-2575). สมุทรสาคร: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.

อรนุช อยู่ทิมและคณะ. (2546). Authentic Assessment. วารสาวิชาการ. 6(1): 9-14.

Blanchard, N. P., & Thacker, W. J. (2007). Effective training systems, strategies, and practices (3rd Ed). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Buckley, R. & Caple, J. (2007). The theory and practice of training (5th ed). London: Kogan Page Publishers.

European Union. (2009). Council Conclusions of 26 November 2009 on the professional development of teachers and school leaders (Official Journal 2009/C 302/04, 12.12.2009).

Mensah, D. K., & Jonathan, A. W. (2016, April). TEACHER PROFESSIONAL DEVELOPMENT: KEYS TO BASIC SCHOOL TEACHERS’ CURRICULUM PRACTICE SUCCESS IN GHANA. British Journal of Education, 4(4), 29-37. Retrieved December 14, 2016, from http://www.eajournals.org/wp-content/uploads/Teacher-Professional-Development1.pd

Milhem, W., Abushamsieh, K., & Pérez Aróstegui, M. (2014). Training strategies, theories and types. Journal of Accounting, Business & Management, 21(1), 12-26.

Miller, J.J. (2013). A better grading system: Standards-based, student centered assessment. English Journal, 103(1), 111-118.

Naeghel, J. D., Keer, H. V., Vansteenkiste, M., Haerens, L., & Aelterman, N. (2016). Promoting elementary school students' autonomous reading motivation: Effects of a teacher professional development workshop. The Journal of Educational Research, 109(3), 232- 252. doi:10.1080/00220671.2014.942032

Wyatt, M., & Ager, E. O. (2016). Teachers’ cognitions regarding continuing professional development. ELT Journal. doi:10.1093/elt/ccw059