การจัดกิจกรรมกลางแจ้งประกอบชุดกิจกรรมการเล่นทรายตามแนวคิด Executive Function เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมกลางแจ้งประกอบชุดกิจกรรมการเล่นทรายตามแนวคิด Executive Function สำหรับเด็กปฐมวัย และเพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัยทั้งก่อนและหลังการจัดกิจกรรมกลางแจ้งประกอบชุดกิจกรรมการเล่นทรายตามแนวคิด Executive Function ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ณ โรงเรียนแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์เขต 1 จำนวน 1 ห้องเรียน มีเด็กปฐมวัยทั้งสิ้น 32 คน เป็นหญิง 21 คน และชาย 11 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมกลางแจ้งประกอบชุดกิจกรรมโดยการเล่นทรายตามแนวคิด Executive Function จำนวน 20 แผน การจัดกิจกรรมกลางแจ้งประกอบชุดกิจกรรมการเล่นทราย จำนวน 20 กิจกรรม และแบบประเมินวัดทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 1 ชุด ซึ่งได้ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest –Posttest Design และวิเคราะห์โดยใช้ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างโดยใช้โดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกลางแจ้งประกอบชุดกิจกรรมการเล่นทรายตามแนวคิด Executive Function เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้แบบประเมินวัดทักษะการคิดเชิงเหตุผลมีค่าร้อยละพัฒนาสูงขึ้น 33.28 แสดงว่า การจัดกิจกรรมกลางแจ้งประกอบชุดกิจกรรมการเล่นทรายตามแนวคิด Executive Function เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัย ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการด้านการจำแนกประเภท และด้านการเปรียบเทียบ สูงขึ้นซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน ที่ตั้งไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลทิพย์ ต่อติด. (2544). ผลการฝึกกระบวนการสืบสอบที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
คณาจารย์ชมรมเด็ก. (2545). “การละเล่นของเด็กไทย”. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.
คะนึง สายแก้ว. (2555). การศึกษาปฐมวัย. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
จิระพร ชะโน. (2562). การคิดเชิงบริหารกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย Executive Functions and Early Childhood Development. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(1), 8-17.
ชนาธิป บุบผามาศ. (2553). การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานอีสปประกอบคำถาม. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทัศนี รอดชมภู และคณะ. (2556). การพัฒนาคู่มือโปรแกรมการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 3-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
หนึ่งฤทัย เพ็ญสมบูรณ์. (2552). ทักษะการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ทำกิจกรรมเล่นทราย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เพียงทิพย์ หังสพฤกษ์. (2553). การเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2564, จาก http://manarom.com/article-detail.php?id=76
มณฑา จำปาเหลือง. (2559). ตำราสำหรับเป็นคู่มือการพัฒนาทักษะการคิดเชิงเหตุและผล :โครงการการจัดการความรู้ครูต้นแบบกระบวนการสอนคิดเชิงเหตุและผลสู่ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. เอกสารสำหรับการอบรมตามโครงการการได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยการประสานงานของเครือข่ายวิจัยภูมิภาค (ภาคกลาง) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ลัดดา เหมาะสุวรรณ. (2551). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพื่อป้องกันโรคอ้วนและส่งเสริมการพัฒนาการเด็ก. (ม.ป.ท. : ม.ป.พ.).
ลัดดา เหลืองรัตนมาศ. (2556). ผลของการออกกำลังกายบนลู่วิ่งไฟฟ้าที่มีต่อเชาวน์ปัญญาเชิงเลื่อนไหลและหน้าที่บริหารจัดการของสมองในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น: การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรัญชลี รอตเรือง. (2554). การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กากมะพร้าว ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สถาบันอาร์แอลจี. (2559). อาร์แอลจี เร่งขับเคลื่อน EF : Executive Functions พัฒนาทักษะสมองเด็กปฐมวัย. ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563, จาก https://www.rlg-ef.com/rlg-ef-2016/
สิริยากร กองทอง. (2559). กลยุทธ์การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มุ่งเน้นแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สรวงพร กุศลส่ง. (2552). วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. เพชรบูรณ์ : ดีดีการพิมพ์.
สุภาวดี หาญเมธี. (2558). EF ภูมิคุ้มกันชีวิตและป้องกันยาเสพติดคู่มือสำหรับครูอนุบาล. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
สุมาลี บัวหลวง. (2557). ผลของการใช้เกมการเล่นกลางแจ้งที่มีต่อพฤติกรรมร่วมมือของเด็กปฐมวัย. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Piaget, J. (1963). The origins of intelligence in children. New York: W.W. Norton & Company, Inc.