การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ MIAP ร่วมกับชุดสาธิต และการจำลองการทำงาน รายวิชาการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าและระบบเซอร์โว

Main Article Content

สันติ หุตะมาน

บทคัดย่อ

การขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ามีความสำคัญต่องานอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการควบคุมเครื่องต้นกำลังสำหรับการหมุนที่ใช้ไฟฟ้าในการทำงาน การศึกษาด้านการควบคุมการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ามักจะใช้สมการทางคณิตศาสตร์ที่สลับซับซ้อนในการอธิบายปรากฎการณ์ของการควบคุม ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะศึกษาการนำรูปแบบการเรียนรู้ MIAP มาใช้ร่วมกับชุดสาธิตการควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง และการจำลองการทำงานประกอบการจัดการเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ 1). เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนที่ใช้รูปแบบการเรียนรู้ MIAP ควบคู่กับชุดสาธิตการควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง และการจำลองการควบคุม กับผู้เรียนที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบ บรรยายประกอบโปรแกรมนำเสนองานควบคู่กับใบเนื้อหา และ 2). เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ MIAP ควบคู่กับชุดสาธิตการควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง และการจำลองการควบคุม การดำเนินการวิจัย เริ่มจากการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้วิชา การขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าและระบบเซอร์โว จากนั้นจึงทำการออกแบบและสร้างชุดสาธิตการควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง แล้วจึงออกแบบและจัดทำใบเนื้อหา โปรแกรมนำเสนองานใบงานประกอบการจำลองการควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์จำนวน 20 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจโดยผู้เรียน เนื้อหาแบ่งออกเป็น 4 หน่วยการเรียนรู้ ครอบคลุมเกี่ยวกับ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง การควบคุมแบบพี การควบคุมแบบพีไอ และการควบคุมแบบพีไอดี จากนั้นนำชุดสาธิต ใบเนื้อหา และโปรแกรมนำเสนองานและใบงาน ให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่านประเมินความเหมาะสมในการนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้พบว่าอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 4.17 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.963)  พร้อมทั้งประเมินดัชนีความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับแบบทดสอบ (IOC) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับแบบทดสอบอยู่ในช่วง 0.4 – 1.0 แล้วจึงนำไปทดลองใช้กับผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา การขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าและระบบเซอร์โว จำนวน 37 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 18 คนใช้รูปแบบการเรียนรู้ MIAP ควบคู่กับชุดสาธิต ใบเนื้อหา โปรแกรมนำเสนองานและใบงานประกอบการจำลองการควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า และกลุ่มควบคุมจำนวน 19 คน ใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบบรรยายประกอบโปรแกรมนำเสนองานควบคู่กับใบเนื้อหา ผลการทดสอบทางสถิติทดสอบที พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า รูปแบบการเรียนรู้ MIAP ร่วมกับชุดสาธิตและใบงานประกอบการจำลองการควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้าช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ดีขึ้นกว่าวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ MIAP ควบคู่กับชุดสาธิตและใบงานการจำลองการควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า อยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 4.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.728 ตามมาตรวัดประเมินค่าของลิเคิร์ต)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ชนาธิป โหตรภวานนท์ สุรีย์พร สว่างเมฆ และวันดี วัฒนชัยยิ่งเจริญ. (2562). การพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบจลองเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(2), 64-79.

ชนิดาภา บุญประสม และกฤช สินธนะกุล. (2563). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บแบบผสมผสานตามฐานสมรรถนะโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP ในรายวิชาขั้นตอนวิธีและโครงสร้างข้อมูล. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 11(1), 12-20.

ณัฐพล ธนเชวงสกุล และณมน จีรังสุวรรณ. (2561). การออกแบบรูปแบบการเรียนการสอนดวยกระบวนการเรียนรูแบบ MIAP บนเทคโนโลยีการประมวลผลแบบคลาวดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อสงเสริมทักษะการเรียนรูในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(4), 58-69.

พงศกร วังศิลา วนินทร สุภาพ และจักรกฤษ กลิ่นเอี่ยม. (2563). การศึกษาการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(3), 150-163.

ลฎาภา ลดาชาติ. (2562). การส่งเสริมความเข้าใจและการใช้แบบจำลองในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์: กรณีศึกษากับครูวิทยาศาสตร์ประจำการ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(2), 271-284.

วันซัลมา ปานากาเซ็ง อภิสิทธิ์ ภคพงศ์พันธุ์ และรักพร ดอกจันทร์. (2562). กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์เรื่อง กำหนดการเชิงเส้นโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(1), 271-284.

ศิริพล แสนบุญส่ง และกฤช สินธนะกุล. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามฐานสมรรถนะด้วยกระบวนการเรียน MIAP ระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 8(2), 37-46.

สุชาติ ศิริสุขไพบูลย์. (2526). การสอนทักษะปฏิบัติ. ไม่ปรากฎที่พิมพ์. หน้า 39-41.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Gabriela Rata, Ciprian Bejenar and Mihai Rata. (2019). A Solution for Studying the D.C. Motor Control Using NI myRIO-1900. In Proceeding of 8th International Conference on Modern Power Systems (MPS), May 21-23, 2019, Cluj-Napoca, Cluj, Romania.

M. A. Taut, G. Chindris, and D. Pitica. (2018). PID Algorithm used for DC Motor Control. In Proceedings of 2018 IEEE 24th International Symposium for Design and Technology in Electronic Packaging (SIITME), October 25-28, 2018, Iasi, Romania.

Prashant Verma, Prateek Gupta and Bhavnesh Kumar. (2019). Graphical User Interface (GUI) to study DC motor dynamic characteristics. In Proceedings of 2017 International Conference of Electronics, Communication and Aerospace Technology (ICECA 2017), April 20-22, 2017, Coimbatore, India.