การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของ Badham

Main Article Content

จริยา จันทร์งาม
สิรินาถ จงกลกลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของ Badham ระหว่างก่อนและหลังเรียนและหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของ Badham หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70      กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนนักเรียน 13 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดโคกสระน้อย ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของ Badham มีค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.67 แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่า IOC เท่ากับ 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.96 และ แบบวัดทักษะและกระบวนการ         ทางคณิตศาสตร์ มีค่า IOC เท่ากับ 1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.83 และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ Kolmogorov-smirnov test ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที ผลการศึกษา พบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทาง   การเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05                                                        

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กุลวดี อำภาวงษ์. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างเรขาคณิต สองมิติและสามมิติ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

กิติพงษ์ ลือนาม. (2561). วิธีวิทยการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: โรงพิมพ์ ห้างหุ้นส่วน จำกัด โคราช มาร์เก็ตติ้ง แอนด์โปรดักชั่น.

ชุติมา ฉุนอิ่ม. (2558). การพัฒนาการคิดเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของบาดแฮม (Badham) (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

ราชนก บรรหาร, สิรินาถ จงกลกลาง และอิสรา พลนงค์. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หน่วยการเรียนรู้เรื่องการหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียน รู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาร่วมกับบาร์โมเดล. วารสารราชพฤกษ์. 19(1), น. 99-108.

โรงเรียนวัดโคกสระน้อย. (2563). หลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนวัดโคกสระน้อย.นครราชสีมา: โรงเรียนวัดโคกสระน้อย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ครูคณิตศาสตร์มืออาชีพเส้นทางสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: 3-คิว มีเดีย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สมบูรณ์ ตันยะ. (2556). วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนการเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุดารัตน์ พันหา และสิรินาถ จงกลกลาง. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้การบวก การลบ การคูณการหารเศษส่วน และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. วารสารราชพฤกษ์.18(1), น.110-118.

อัมพร ม้าคนอง. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Carpenter, T.P. et al. (1999). Children’s mathematics: Cognitively guided instruction. Portsmouth, NH: Heinemann.

Carpenter, T.P. et al. (2000). Cognitively guided instruction: A research-based teacher professional development program for elementary school mathematics. National Center for Improving Student Learning and Achievement in Mathematics and Science.

Schielack, J.F. (2000). Designing questions to encourage children’s mathematical thinking. Teaching Children Mathematics, 6(6), pp. 398-402.

Way, J. (2014). Using questioning to stimulate mathematical thinking. Australien Primary Mathematics Classroom, 13(3), pp. 22- 27.