ผลของการออกกำลังกายด้วยท่าไหว้ครูมวยไทยแบบผสมผสาน ต่อสมรรถภาพทางกาย และน้ำหนักตัวของนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

Main Article Content

พิชญาพร เนตรแสงสี
วายุ กาญจนศร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยท่าไหว้ครูมวยไทยแบบผสมผสานต่อสมรรถภาพทางกาย และสัดส่วนร่างกายของนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ นักศึกษาเพศชายและเพศหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จำนวน 34 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม 17คน และกลุ่มทดลอง 17 คน ที่มีอายุระหว่าง 19 - 24 ปี ระยะเวลา ในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ ช่วงเวลา (17.00 – 18.00 น.) ทดลองวันละ 60 นาที กลุ่มทดลองทั้งหมด เป็นนักศึกษาในสังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์  ในปีการศึกษา 2563  ทำการทดสอบเก็บข้อมูล 2 ครั้ง ก่อนการทดลองสัปดาห์ที่ 1 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 ข้อมูลทดสอบได้แก่ น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย อัตราส่วนรอบเอวรอบสะโพก เปอร์เซ็นต์ไขมัน ความดันโลหิตตัวบน ความดันโลหิตตัวล่าง ชีพจร นั่งงอตัวแรงบีบมือ และแรงเหยียดขา วิเคราะห์ผลทางสถิติแบบ Paired sample t-test และIndependent sample t-test ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยโดยสรุปพบว่า น้ำหนักตัว ค่าดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นต์ไขมัน ความดันโลหิตตัวบน ความดันโลหิตตัวล่าง อัตราการเต้นของหัวใจ นั่งงอตัว แรงบีบมือ และแรงเหยียดขา มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่อัตราส่วนรอบเอวและรอบสะโพกไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

คลินิกวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. (2557). ภาวะน้ำหนักเกินในวัยรุ่น. ค้นเมื่อ 3 มกราคม 2563, จาก https://www.facebook.com/teenrama.teen/posts/1533074306916296/

จรวยพร ธรณินทร์. (2521). การลดน้ำหนักยากหนักหรือ. กรุงเทพฯ: กองส่งเสริมสุขภาพ กรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. อัดสำเนา.

จรัสเดช อุลิต. (2549). คู่มือการฝึกมวยไทย. กรุงเทพฯ: ไอเดียสแควร์.

จารุวรรณ ภู่สารี และสุนิดา ปรีชาวงษ์. (2557). ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เน้นการเต้นแอโรบิกมวยไทย ต่อความดันโลหิตและดัชนีมวลกายของผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 218-225.

ชูศักดิ์ เวชแพศย์. (2536). สรีรวิทยาของการออกกำลังกาย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ธรรมกมลการพิมพ์.

ชนินทร์ ลำซ่ำ. (2562). คนอ้วนกับการออกกำลังกาย. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2562, จาก https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/127_1.pdf

ฐิติกร ศิริสุขเจริญพร. (2540). วิทยาศาสตร์การกีฬา. กรุงเทพฯ: ฝ่ายเอกสารและตำราสถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

ณิชากร ศรีเพชรดี และคณะ. (2562). อุบัติการณ์ ‘โรคอ้วน’ บนความรุ่งเรืองของอุตสาหกรรมอาหาร. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2562, จาก https://waymagazine.org/wp-content/uploads/2019/04/fat-f.jpg

ณัฐพล ประภารัตน์. (2555). ผลของการเต้นแอโรบิคแบบมวยไทยที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและความพึงพอใจของผู้เข้ร่วม กิจกรรมที่เข้าร่วมโปรแกรมการเต้นแอโรบิคแบบมวยไทย ห้างเทสโก้โลตัส สาขาตลาดคำเที่ยง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์. (2555). สรีรวิทยาการออกกำลังกาย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ตีรณสาร.

ถาวร กมุทศรี. (2560). การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย Physical Fitness Conditioning. กรุงเทพฯ: หจก.มีเดีย เพรส.

เทวี รักวานิช. (2536). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สุขภาพ บริโภคนิสัย และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันกับภาวะอ้วนเด็กวัยเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธันย์ชนก กวาวปัญญา ชมนาด วรรณพรศิริ และ กาญจนา สุขแก้ว. (2553). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตน และคีตมวยไทย ต่อสมรรถนะทางกายของทหารที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 4(2), 58-71.

ธีระ ผิวเงิน ธัญดา สุทธิธรรม และอรพิน ผาสุริยวงษ์. (2559). ผลของการฝึกออกกำลังกายด้วยโปรแกรมมวยไทยโบราณสกลนครประยุกต์ใน 12 สัปดาห์ ต่อระดับความดื้อต่ออินซูลินและไขมันในหญิงวัยสูงอายุ. วารสารวิจัย มข. (บศ.), 16(4), 1-12.

เนาวรัตน์ ตรีเมฆ. (2556). เอกสารประกอบการสอนมวยไทย 1. [ม.ป.ท.]: สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตเพชรบูรณ์. เอกสารอัดสำเนา.

บรรลุ ศิริพานิช. (2541). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.

เปรมฤดี ภูมิถาวร และ พัฒน์ มหาโชคเลิศวัฒนา. (2556). โรคอ้วนในเด็กและวัยรุ่นโรคร้ายที่ประทุขึ้นในศตวรรษนี้. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2562, จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/rama_hospital/th/services/knowledge/10212020-1432

ประทีป ตั้งรุ่งวงษ์ธนา. (2540). การศึกษาการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประสานศิษฐ์ ศรีศักดิ์. (2552). การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกาย และศึกษาผลการใช้โปรแกรมการออกกำลังกาย ต่อการพัฒนาสมรรถภาพร่างกายของกำลังพลในกองทัพบก สายงานสัสดีจังหวัดบุรีรัมย์ ด้วยการฝึกมวยไทยและคีตะมวยไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามวยไทยศึกษา วิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

ปุลวิชช์ ทองแตง. (2555). ภาวะน้ำหนักเกินในเด็กไทยภาควิชาการพยาบาลพื้นฐาน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. บทความวารสาร, 18(3), 287-297.

ปิยะพงษ์ สายสวาท. (2558). ผลของโปรแกรมการฝึกแบบหนักสลับเบาร่วมกับหลักการความก้าวหน้าต่อดัชนีมวลกายองค์ประกอบของร่างกายและความสามารถในการนำออกซิเจนไปใช้สูงสุดของนักศึกษาหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและกีฬา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปภาสินี แซ่ติ้ว และธนิดา ทีปะปาล. (2559). การพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพต่อการลดน้ำหนักของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานีที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารการพยาบาลและการศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุราษฎร์ธานี, 9(3), 80-93

ปรภัทร จุฑากุล. (2562). ออกกำลังด้วย “มวยไทย” ฝึกทรงตัวช่วยระบบหายใจ. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2562, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/40394-ออกกำลังด้วย%20“มวยไทย”%20ฝึกทรงตัว-ช่วยระบบหายใจ.html

พวงทอง ไกรพิบูลย์. (2554). น้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน. ค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2564, จาก http://haamor.com/th

พงศกร สังข์เงิน และรัชนี ขวัญบุญจัน. (2558). ผลของการจัดโปรแกรมสุขภาพที่มีต่อน้ำหนักและเปอร์เซ็นต์ไขมันของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารอิเล็กทรอนิส์ทางการศึกษา ครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 10(1), 189-199.

พงศ์ธร แสงวิภาค และผกามาศ รัตนบุษย์. (2560). การส่งเสริมศิลปะมวยไทย ตามพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542. วรสารนิติศาสตร์, 6, 169.

พนิดา แสงศรี. (2557). ผลของการฝึกออกกำลังกายด้วยท่ามวยไทยโบราณสกลนครต่อสมรรถภาพทางกายแลพจิตใจในคนไทยที่นั่งนอนมาก และมีน้ำหนักเกินหรืออ้วน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสรีรวิทยาทางการแพทย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภาคพงษ์ สุวรรณสิงห์. (2556). ผลของการฝึกแรงต้านด้วยน้ำหนักตัวแบบวงจรที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มงคล ใจดี. (2541). คู่มือการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทองของชีวิต. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้งเฮาส์.

รัตนวดี ณ นคร. (2557). การออกกำลังกาย. ค้นเมื่อ 6 มกราคม 2563, จาก https://www.slideshare.net/Paraneenok/exercise-physiology-32093279

วัชรินทร์ วรรณา และปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2560). การศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะน้ำหนักเกินในอาสาสมัคร สาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน ในเขตตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู. ศรีนครินทร์เวชสาร, 32(4), 351-358.

วิชัย เอกพลากร. (2558). ระบาดวิทยาของภาวะอ้วนลงพุงในประเทศไทย. สำนักงาน: นนทบุรี สำรวจสุขภาพประชาชนไทย กระทรวงสาธารณสุข.

วิชิต ชี้เชิญ. (2553). การฝึกกายบริหารชุดแม่ไม้มวยไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

วิษณุ สมัญญา. (2556). ผลการฝึกแอโรบิกด้วยศิลปะมวยไทยที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย เพื่อสุขภาพของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเรียนรู้พลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรต.

วีระศักดิ์ เหมหาชาต. (2553). ผลของการฝึกท่าบริหารร่างกายพื้นฐานมวยไทยไชยาที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์ กับสุขภาพในวัยรุ่นเพศหญิง. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การกีฬา) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2548). รวมบทความเกี่ยวกับ ปรัชญา หลักการ วิธีสอน และการวัดเพื่อประเมินผลทางการพลศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรินทร์ เสมามร. (2562). ผลการใช้โปรแกรมการลดน้ำหนักสำหรับนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 65-74.

ศิริรัตน์ หิรัญรัตน์. (2534). การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและการกีฬา. กรุงเทพฯ: โรงเรียนกีฬาเวชศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ออโธปิติคส์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาลัยมหิดล.

ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย. (2562). เทคนิคการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ. ค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2562, จาก http://www.rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=661

ศุภลักษณ์ วัฒนาวิทวัส. (2542). สุขภาพส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

สุดา กาญจนะวณิชย์. (2543). การเปรียบเทียบผลของการเต้นแอโรบิกแบบศิลปะมวยไทยกับการเต้นแอโรบิกแบบแรงกระแทกต่ำที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสกสรร ละเอียด. (2553). ผลของโปรแกรมสุขภาพเพื่อลดน้ำหนักและเปอร์เซ็นต์ไขมันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มี ภาวะน้ำหนักเกิน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมพร แสงชัย และคณะ. (2545). มวยไทย : ศิลปะมวยไทยสายพระยาพิชัยดาบหัก. อุตรดิตถ์: สำนักศิลปวัฒนธรรมจังหวัด อุตรดิตถ์.

สมบูรณ์ ตะปินา. (2553). กีฬามวยไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.

สมบัติ สวางควัฒน์. (2554). ย้อนตำนานแวดวงมวยไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ก้าวแรก.

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของประชาชน อายุ 19 - 59 ปี. ค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2562, จาก https://www.dpe.go.th/manual-files-411291791796

สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2562). กลุ่มโรค NCDs. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2562, จาก https://www.thaihealth.or.th/microsite/categories/5/ncds/2/173/176-กลุ่มโรค+NCDs.html

อังคนางค์ อยู่บัว และโรจพล บูรณรักษ์. (2552). ผลของโปรแกรมผสมผสานระหว่างกิจกรรมการออกกำลังกายและการฝึกทักษะบาสเกตบอลที่มีต่อค่าดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นต์ไขมัน และสมรรถภาพทางกาย ของนักเรียนที่มีภาวะอ้วน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Benymaini, Y., Idler, E. L., Leventhal, H., & Leventhal, E. A. (2000). Positive Affect and Function as Influences on Self – Assessments of Health : Expanding Our View Beyond Illness and Disability. J Gerontol B Psychol Sci Soc Sci, 55(2), 107-16. doi: 10.1093/geronb/55.2.p107.Adult ICU.

Gappmaier, E., Lake, W., Nelson, A. G., & Fisher, A. G. (2006). Aerobic exercise in water versus walking on land: effects on indices of fat reduction and weight loss of obese women. Journal of Sports Medicine and Physical Fitness; Turin, 46(4), 564-9.

Geiger., et al. (2011). Six-Minute Walk Distance in Overweight Children and Adolescents : Effects of a Weight-Reducing Program. The Journal of Pediatrics, 150(April), 395-399.

Jason, A. et al. (2020). Muscle-strengthening Exercise Epidemiology: a New Frontier in Chronic Disease Prevention. Retrieved April 16, 2021, from https://sportsmedicine.

Levine, J. A., Eberhardt, N. L., & Jensen, M. D. (1999). Role of Nonexercise Activity Thermogenesis In Resistance to Fat Gain in Humans. Science, 283(5399), 212-4. doi: 10.1126/science.283.5399.212.

Priest, N. N. (1983). Comparative Effects of Two Programs of Aerobic Dance on the Flexibility, nBody Composition, and General Physical Condition of Selected College Women. Dissertation Thesis (ED.D) East Texas State University.

Penninx, B. W., Guralnik, J. M., Simonsick, E. M., Kasper, J. D., Ferrucci, L., & Fried, L. P. (1998). Emotional Vitality Among Disabled Older Women : The Wumen’s Health and Aging Study. Journal of the American Geriatrics Society, 46, 807-815.

Steven N. B. (2013). 1993 C.H. MaCloy Research Lecture Physical Activity, Physical Fitness and Health Research Quality for Exercise and Sports. Retrieved May 15, 2020, from https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/8278662/

Tritschler, K. (2000). Practical Measurement and Assessment. Philadelphia: Lippincott William & Wilking.

Wu, G. (2002). Evaluation of the Effectiveness of Tai Chi for Improving Balance And Preventing Falls in the Older Population-a Review. J Am Geriatr Soc, 50, 746-754.

World Health Organization. (2011). WHO Non-Communicable Diseases Country Profiles 2011. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2562, จาก https://www.who.int/nmh/publications/ncd_profile2011/en

Watterson, V. V. , MS, RPT. (2016). The Effects of Aerobic Dance on Cardiovascular Fitness. The physical and sports medicine. The Physician and Sportsmedicine, 12,1984(10), 138-145.