การจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน ในหัวข้อ งานและพลังงาน เพื่อพัฒนาการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

สุทธิพงษ์ โล้เจริญรัตน์

บทคัดย่อ

ความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับใช้เพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ยุคใหม่ (Next Generation Science Standards) ที่ได้กล่าวไว้ว่า นักเรียนที่มีความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ จะเป็นบุคคลที่สามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ ในหัวข้อ งานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 32 คน โดยเป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากกลุ่มนักเรียนที่ผู้ทำวิจัยทำการสอนด้วยตนเอง รวบรวมข้อมูลโดยใช้ใบกิจกรรมวัดการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมี 3 องค์ประกอบ คือ ข้อกล่าวอ้าง หลักฐาน และการให้เหตุผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและจัดกลุ่มข้อมูล พร้อมกับหาค่าความถี่และร้อยละของกลุ่มข้อมูลในแต่ละองค์ประกอบของการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมของความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ คือ 1.11 คะแนน จากคะแนนเต็ม 2.00 คะแนน เมื่อพิจารณาในแต่ละองค์ประกอบ พบว่านักเรียนมีความสามารถในการแสดงหลักฐานมากที่สุด คือ 1.35 คะแนน และสามารถสร้างข้อกล่าวอ้างเพื่อสนับสนุนหลักฐานของตนเอง รองลงมา คือ 1.19 คะแนน และด้านการให้เหตุผลต่ำสุดคือ 0.80 คะแนน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

จรูญลักษณ์ วรโคตร. (2561). การศึกษาการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง กรด-เบส, วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5(ฉบับพิเศษ), 49-55.

ฉลองวุฒิ จันทร์หอม. (2563). การสำรวจความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21, 644-654.

ชาตรี เฮงสกุลวงษ์. (2558). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยบูรณาการการเล่นเกมเข้ากับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บริบทเป็นฐานในเรื่องแรงและการเคลื่อนที่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฐวรรณ ศิริธร. (2562). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง เพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง แรง มวล และกฎการเคลื่อนที่. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(1), 130-141.

ตีรณา ชุมแสง. (2560). การพัฒนาความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์เรื่องสมดุลกลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน. วารสารการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ 2560, 1,178-1,189.

บัณฑิกา จารุมา. (2563). วิธีพัฒนาทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 413-428.

พัชราภรณ์ บุณยทรรศนีย์. (2558). การพัฒนาทักษะการอภิปรายโต้แย้ง เรื่องแรงและกฎการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 30(3), 76-85.

รัชกร เวชวรนันท์. (2562). การพัฒนาทักษะการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้เกมเป็นฐานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20, 1,664-1,674.

วันวิสาข์ รักงาม. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง ของไหล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้บริบทเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 34(2), 52-65.

สำนักข่าวอิศรา. (2558). อนาคตเด็กไทยในมือครู นักวิชาการแนะปรับสอน “ลดท่องจำ เน้นคิด วิเคราะห์”. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563, https://www.isranews.org/thaireform-other-news/35752-teacher_357521.html

สุวิมล ว่องวาณิช. (2555). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 16). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารีรัตน์ สุริโย. (2558). การพัฒนาแนวคิดเรื่องดุลยภาพในมนุษย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2(1), 32-41.

Bennett, J. (2003). Teaching and Learning Science: A Guide to Recent Research and Its Applications. Continuum.

De Jong O. (2006). Context-Based Chemical Education: How to improve it. The Plenary Lecture Presented at the 19th ICCE, Seoul, Korea.

Gilbert, J. K. (2006). On the nature of context in chemical education. International Journal of Science Education, 28(9), 957–976.

Kemmis, S. and McTaggart, R. (1998). The Action Research Planner. Deakin University Press.

McNeill, K. L. and Krajcik, J. (2008A). Assessing Middle School Students’ Content Knowledge and Reasoning Through Written Scientific Explanation, Assessing Science Learning. (p.101-116). NSTA Press.

McNeill, K. L., Lizotte, D. J., and Krajcik, J. (2006). Supporting Students' Construction of Scientific Explanations by Fading Scaffolds in Instructional Materials. Journal of the Learning Sciences, 15(2), 153-191.

National Research Council. (2012). A Framework for K-12 Science Education: Practices, Crosscutting Concepts, and Core Ideas. National Academy Press.

Seel, N. M. (2012). Encyclopedia of the science of learning. London: Springer Science + Business Media.

Toulmin, S. E. (2003). The Uses of Argument. 1st ed. Cambridge University.