การศึกษาทักษะทางพฤติกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Main Article Content

ชนิตา พิมพ์ศรี
นฤดม พิมพ์ศรี
กรวรรณ โหม่งพุฒ
ปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์

บทคัดย่อ

ทักษะทางพฤติกรรม มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ ทักษะทางสังคม และสุขภาพจิตของนักศึกษา การศึกษาในระดับอุดมศึกษา  มีรูปแบบการเรียนที่ความแตกต่างกันตามกลุ่มสาขาวิชา นักศึกษาจึงจำเป็นต้องมีทักษะทางพฤติกรรมที่ต่างกันออกไป  ผลการศึกษาทักษะทางพฤติกรรมของนักศึกษาแต่ละกลุ่มสาขาวิชาจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่ม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการกำกับอารมณ์และพลังสุขภาพจิต และ  2) เปรียบเทียบการกำกับอารมณ์และพลังสุขภาพจิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในแต่ละกลุ่มสาขาวิชา ได้แก่ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ, กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, และกลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 153 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) มาตรวัดการกำกับอารมณ์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี และ 2) แบบประเมินพลังสุขภาพจิตอาร์คิว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยการกำกับอารมณ์โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ปกติ (X̅ = 54.23) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการกำกับอารมณ์ของนักศึกษาแต่ละกลุ่มสาขาวิชา พบว่า นักศึกษาในกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีการกำกับอารมณ์สูงกว่านักศึกษาในกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ ยังพบว่า นักศึกษามีค่าเฉลี่ย   พลังสุขภาพจิตโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ปกติ (X̅ = 56.50) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพลังสุขภาพจิตของนักศึกษาแต่ละกลุ่มสาขาวิชา พบว่า นักศึกษาทุกกลุ่มสาขาวิชามีระดับพลังสุขภาพจิตไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่านักศึกษาจะมีทักษะ   ทางพฤติกรรมทั้งสองด้านอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ก็ยังคงต้องได้รับการดูแลและสนับสนุนทั้งจากครอบครัว อาจารย์ และเพื่อน เพื่อเสริมสร้างให้มีทักษะทางพฤติกรรมที่ดียิ่งขึ้นไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กัญญ์รินท์ สีกาศรี ศราวิน เทพย์สถิตภรณ์ และสุชาดา กรเพชรปาณี. (2560). ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการรับรู้อารมณ์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 15(2), 69-79.

ชนิตา รุ่งเรือง. (อยู่ระหว่างการตีพิมพ์). การพัฒนามาตรวัดการกำกับอารมณ์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสาร การวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชนิตา รุ่งเรือง. (2563). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนามาตรวัดการกำกับอารมณ์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดวงมณี จงรักษ์ และ เพ็ญประภา ปริญญาพล. (2561). อิทธิพลของความยืดหยุ่นทนทาน กลวิธีเผชิญปัญหา และการศึกษา ต่อสุขภาพจิตของทหารพรานที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ความไม่สงบชายแดนใต้. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 17(1), 33-47.

นันทิกา อนันต์ชัยพัทธนา ดลฤดี เพชรขว้าง สุทธินี มหามิตร วงค์แสน และเกศินี การสมพจน์. (2561). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา, 19(2), 106-119.

ปวีณา นพโสตร อัจรา ฐิตวัฒนกุล และนิรดา กลิ่นทอง. (2561). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(2), 1-10.

มะลิวรรณ วงษ์ขันธ์ พัชรินทร์ นินทจันทร์ และ โสภิณ แสงอ่อน. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความแข็งแกร่งในชีวิตในวัยรุ่น. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 29(1), 57-75.

ระวีนันท์ รื่นพรต, ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน, และ งามละมัย ผิวเหลือง. (2010). ปัจจัยทำนายการปรับตัวของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 16(3), 390-405.

ศุภรา เชาว์ปรีชา. (2551). Resilience ในเด็กที่ถูกทารุณกรรม. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 53(3), 309-322.

สุดารัตน์ ตันติวิวัทน์. (2560). จิตวิทยาเชิงบวก: การพัฒนา การประยุกต์ และความท้าทาย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อ การพัฒนา, 9(1), 277-290.

สมพร อินทร์แก้ว เยาวนาฎ ผลิตนนทเกียรติ ศรีวิภา เอี่ยมสะอาด และ สายศิริ ด่านวัฒนะ. (2563). คู่มือเปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี: พลังสุขภาพจิต (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

อายุพร กัยวิกัยโกศล สุทธามาศ อนุธาตุ และพัชรินทร์ นินทจันทร์. (2558). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตต่อภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่ง. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 29(1), 27 – 43.

Gillespie, S. M., & Beech, A. R. (2016). The wiley handbook on the theories, assessment, and treatment of sexual offending. John Wiley & Sons, Ltd. DOI: 10.1002/9781118574003.wattso012

Gross, J. J. (2002). Emotion regulation: Affective, cognitive, and social consequences. Psychophysiology, 39(3), 281-291. doi: 10.1017.S0048577201393198

Harerimana, J. P. (2019). Promoting non-cognitive skills: A classroom practice. International Journal of Research and Scientific Innovation, VI(XI), 209-210.

John, O. P., & Gross, J. J. (2004). Healthy and unhealthy emotion regulation: Personality processes, Individual Differences, and Life Span Development. Journal of Personality, 72(6), 1301-1333.

Koole, S. L. (2009). The psychology of emotion regulation: An integrative review. Cognition and Emotion, 23 (1), 4-41.

Lipnevich, A. A., & Roberts, R. D. (2014). Noncognitive skills in education: Emerging research and applications in a variety of international contexts. Learning and Individual Differences, 22, 173–177.

Ong E., & Thompson, C. (2019). The importance of coping and emotion regulation in the cccurrence of suicidal behavior. Psychological Reports, 122(4), 1192– 1210.

Purnamaningsih, E. H. (2017). Personality and emotion regulation strategies. International Journal of Psychological Research, 10(1), 53-60. DOI 10.21500/20112084.2040.

Rosen, J., Glennie, E., Dalton, B., Lennon, J., & Bozick, R. (2010). Noncognitive skills in the classroom: New

perspectives on educational research. Research Triangle Institute Press.

Saklofske, D., Austin, E., Mastoras, S., Beaton, L., & Osborne, S. (2012). Relationships of personality, affect, emotional intelligence and coping with student stress and academic success: Different patterns of association for stress and success. Learning and Individual Differences, 22, 251–257.

Thompson, R. A. (1994). Emotion regulation: A theme in search of a definition. Monographs of the Society for Research in Child Development, 59 (2/3), 25–52.

Wanzer, D., Postlewaite, E., & Zargarpour, N. (2019). Relationships among noncognitive factors and academic performance: Testing the University of Chicago Consortium on School Research Model. AERA Open. https://doi.org/10.1177/2332858419897275