การออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ (Mobile Learning) ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

อิราวรรส พูผล
สุมาลี ชัยเจริญ
ศราวุธ จักรเป็ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ (Mobile Learning) ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 ท่าน รูปแบบการวิจัยในครั้งนี้คือ การวิจัยโมเดล ระยะที่ 1 การพัฒนาโมเดล ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร และวิจัยเชิงสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปตีความและบรรยายเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการออกแบบและพัฒนาโมเดลฯประกอบด้วย 1) การกระตุ้นโครงสร้างทางปัญญาที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 2) การสนับสนุนการปรับสมดุลทางปัญญา 3) การส่งเสริมการสร้างความรู้และความคิดสร้างสรรค์ 4) การช่วยเหลือและสนับสนุนการสร้างความรู้ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ 1) สถานการณ์ปัญหา 2) ศูนย์สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ 3) ศูนย์เครื่องมือทางปัญญา 4) ศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) ศูนย์ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 6) ศูนย์การช่วยเหลือ และ 7) ศูนย์ให้คำแนะนำ (2) ผลการประเมินประสิทธิภาพโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ฯ โดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านสื่อ และด้านการออกแบบ พบว่า มีความเหมาะสมทั้ง 3 ด้าน โดยมีเนื้อหาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับการเรียนรู้ การออกแบบสื่อสอดคล้องกับหลักการทฤษฎี ส่งเสริมการสร้างความรู้ และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ธงชัย แก้วกิริยา. (2558). Mobile Learning (M-learning) ก้าวสำคัญของการศึกษายุคใหม่. วารสาร TPA News, 1(19), 9-10.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

ปีนา สุขเจริญ และสุมาลีชัยเจริญ. (2561). การออกแบบและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. Journal of Information and Learning, 29(2), 12-23.

พรวุฒิ คำแก้ว และสุมาลี ชัยเจริญ. (2562). การออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาระดับอนุปริญญา. Journal of Information and Learning, 30(1), 1-10.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

ศรเพชร สีหะราช และสุมาลี ชัยเจริญ. (2561). กรอบแนวคิดการออกแบบโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศลาว. Journal of Information and Learning, 29(1), 9-20.

ศรีสุดา ด้วงโต้ด และสุมาลี ชัยเจริญ. (2563). การออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้โดยใช้เกมมิฟิเคชันที่ส่งเสริมการกำกับตนเอง สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 11(1), 68-77.

สาโรช โศภีรักข์. (2558). M-Learning. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 3(1), 32-42.

สุคนธ์ สินธพานนท์, วรรัตน์ วรรณเลิศลักษณ์ และ พรรณี สินธพานนท์. (2555). พัฒนาทักษะการคิดตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2557). การออกแบบการสอน: หลักการ ทฤษฏีสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์แอนนาออฟเซต.

อรวรรณ เตชะพรพงษ์ และสุมาลี ชัยเจริญ. (2560). กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีและกรอบแนวคิดการออกแบบโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการศาสตร์การสอนกับศาสตร์ทางประสาทวิทยาศาสตร์. Journal of Information and Learning, 28(1), 118-129.

อารี พันธ์มณี. (2557). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bartholomew, S. (2016). A Mixed-Method Study of Mobile Devices and Student Self-Directed Learning and Achievement During a Middle School STEM Activity. A dissertation submitted in partial fulfillment of the requirements for the degree of Doctor of Philosophy in Education. Utah State University.

Chaijaroen, N., Jackpeng, S. and Chaijaroen, S. (2020). The Development of Constructivist Web-Based Learning Environments to Enhance Learner’s Information Processing and Reduce Cognitive Load. Proceedings of Third International Conference ICITL 2020 November 23-25. Porto, Portugal.

Chang, Y. S., Chen, S. Y., Yu, K. C., Chu, Y. H., and Chien, Y. H. (2017). Effects of cloud-based m-learning on student creative performance in engineering design. British Journal of Educational Technology, 48(1), 101–112.

Chiu, L. L and Hwang, G. J. (2015). Effects of mobile learning time on students’ conception of collaboration, communication, complex problem-solving, metacognitive awareness and creativity. International Journal of Mobile Learning and Organization, 8(3), 276-290.

Guilford, J.P. (1967). The Nature of Human Intelligence. New York: McGraw-Hill.

Huang, C. S. J., Yang, S. J. H., Chiang, T. H. C., and Su, A. Y. S. (2016). Effects of Situated Mobile Learning Approach on Learning Motivation and Performance of EFL Students. Educational Technology & Society, 19(1), 263–276

Khamphisan, K. Chaijaroen, S. and Jackpeng, S. (2019). The Designing Framework of Constructivist Learning Environment Model to Enhance Information Processing and Reduce Cognitive Load. Proceedings of Second International Conference ICITL 2019 December 2-5. Tromso, Norway.

Kozma, R. (1991). Learning with media. Review of Educational Research, 61(2), 179-212.

Liu, S. H. J., and Lan, Y. J. (2016). Social Constructivist Approach to Web-Based EFL Learning: Collaboration, Motivation, and Perception on the Use of Google Docs. Educational Technology & Society, 19(1), 171–186.

Richey, R. C. and Klein, J. (2007). Design and developmental research. New Jersey. Lawrence.

Singkaew, Ch., and Chaijaroen S. (2020). Development of Constructivist Web-Based Learning Environment Model to Enhance Problem-Solving and Transfer of Learning on Student in Industrial: Integration Between Pedagogy and Neuroscience. Proceedings of Third International Conference ICITL 2020 November 23-25. Porto, Portugal.

Thammabut, T., Chaijaroen, S. and Wattanachai, S. (2020). The Development of Simulation Web-Based Learning Environment to Enhance Ill-Structured Problem Solving for Engineering Students. Proceedings of Third International Conference ICITL 2020 November 23-25. Porto, Portugal.

Wonganu, P., Chaijaroen, S. and Vongtathum, P. (2019). Designing Framework of Constructivist Digital

Learning Environment Model to Enhance Creative Thinking for Undergraduate Students. Proceedings of Second International Conference ICITL 2019 December 2-5. Tromso, Norway.