แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ที่ใช้อภิปัญญาเป็นฐานเพื่อพัฒนาการคิดอภิปัญญาและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน: ความท้าทายสำหรับครูคอมพิวเตอร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้เขียนขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์วรรณกรรมเกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การคิดอภิปัญญา และเทคนิคการสอนแบบ KWL-Plus เพื่อพัฒนาแนวทางทางการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ที่ใช้อภิปัญญาเป็นฐานเพื่อพัฒนาการคิดอภิปัญญาและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน ผู้เขียนได้วิเคราะห์วรรณกรรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอภิปัญญาและสามารถสังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบอภิปัญญาเป็นฐาน 1) สร้างความสนใจในการเรียนรู้ 2) วางแผนการเรียนรู้ 3) กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ 4) ดำเนินการเรียนรู้ 5) กำกับและควบคุมการเรียนรู้ 6) อธิบายและลงข้อสรุปจากการเรียนรู้ 7) ประเมินการคิดและการเรียนรู้ และ 8) ขยายการเรียนรู้ ซึ่งขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบอภิปัญญาเป็นฐานสามารถบูรณาการได้เป็นอย่างดีกับเทคนิคการสอนแบบ KWL-Plus อันประกอบด้วย K (รู้อะไรมาแล้ว - What you Know) W (อยากรู้อะไรเพิ่มเติม - What you want to know) L (เมื่อเรียนแล้วได้เรียนรู้อะไรบ้าง - What you have Learned) และ Plus (สรุปความรู้ผ่านแผนผังความคิด) ในตอนท้ายของบทความนี้ผู้เขียนนำเสนอตัวอย่างการประยุกต์แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ที่ใช้อภิปัญญาเป็นฐานเพื่อพัฒนาการคิดอภิปัญญาและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนในวิชาคอมพิวเตอร์สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การจัดตำแหน่งข้อความ ในวิชาการสร้างเว็บเพจด้วยภาษา HTML
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จตุรงค์ เลิศชูวงศา. (2559). การใช้การเรียนรู้ที่เน้นปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมอภิปัญญาและผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการเขียนโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทิพย์วิมล วังแก้วหิรัญ. (2561). ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยยุทธศาสตร์สะท้อนอภิปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน: กรณีศึกษารายวิชาภาษาไทย สังคมศึกษา และวิทยาศาสตร์. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 5(1), 11-24.
ไทยทริบูน. (2561). พัฒนาทักษะ 3R8C สู่ผู้นำเชิงนวัตกรรมรองรับ Thailand 4.0. ค้นเมื่อ 2 เมษายน 2564, จาก http://thaitribune.org/contents/detail/305?content_id=33074&rand=1533432729
นิตยสาร School in focus. (2556). การเรียนรู้แนวใหม่ในศตวรรษที่ 21. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://anongswu502.blogspot.com/
บรรพตี แดนขนบ. (2557). ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการสอนแบบ KWL-Plus ที่มีต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงคิดวิเคราะห์ และความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 6(16), 113-121.
พัทธนันท์ รชตะไพโรจน์. (2559). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น.
ภัทรนันท์ ศรอินทร์. (2560). การศึกษาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.
วันวิดา กิจเจา. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus. Veridian E-Journal, มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 1036-1044.
ศราวุธ เกิดสุวรรณ. (2558). การใช้อภิปัญญาพัฒนาความสามารถในการกำกับตนเองของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชวชีพชั้นปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ. (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2564, จาก https://webs.rmutl.ac.th/assets/upload/files/2016/09/20160908101755_51855.pdf
อภิปัญญา” การรู้คิด (MetaCognition) หลักสูตรเรียนไปไม่ลอก-โตไปไม่โกง. (2556). ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/nn1234/2013/08/16/entry-1
Beyer, B. K. (1987). Practical strategies for the teaching of thinking. Boston, MA: Allyn and Bacon.
O’Malley, J. M., & Chamot, A. U. (1990). Learning strategies in second language acquisition. Cambridge, UK: Cambridge University Press.
Oxford, R. (1990). Language Learning Strategies: What Every Teacher Should Know. New York: Newbury House Publishers.
Paris, S. F. (1983). Becoming a strategic reader. Contemporary Educational Phychology, 8(3), 293-316.