แนวทางการจัดการและพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนการศึกษาเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

พงศ์นที คงถาวร
ผัสสพรรณ ถนอมพงษ์ชาติ
จุไรรัตน์ สุดรุ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ด้านการจัดการและพัฒนาบุคลากร
สายสนับสนุนการศึกษา 2) นำเสนอแนวทางการจัดการและพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนการศึกษาเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ประชากรคือโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 239 โรง กลุ่มตัวอย่างคำนวณจากสูตรของ Taro Yamane ได้จำนวน 71 โรง การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างผู้วิจัยเลือกแบบเจาะจงจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 42 เขตพื้นที่ทั่วประเทศ เขตพื้นที่การศึกษาละ 2 โรง ยกเว้นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 และเขต 22 ที่ไม่มีโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ดังนั้นจึงเหลือ 40 เขตพื้นที่ รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 80 โรง ผู้ให้ข้อมูลคือผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสถานศึกษา 4 กลุ่มงาน รวม 400 คน โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์ จำนวน 5 โรง ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีการจัดบุคลากรสายสนับสนุนการศึกษาและสายปฏิบัติการสอนแยกออกจากกัน ผู้ให้ข้อมูลคือผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสถานศึกษา 4 กลุ่มงาน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า
5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จำนวน 1 ฉบับ ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการจัดการบุคลากรประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์และการออกแบบงาน 2) การวางแผนบุคลากร 3) การสรรหาและการคัดเลือกบุคลากร
4) การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร 5) การบริหารผลตอบแทน 6) การบริหารความก้าวหน้าทางอาชีพของบุคลากร และแนวทางการพัฒนาบุคลากรประกอบด้วย 1) การศึกษาสภาพความต้องการการนิเทศ 2) การวางแผนการนิเทศ
3) การสร้างสื่อและเครื่องมือการนิเทศ 4) การปฏิบัติการนิเทศ 5) การประเมินผลการนิเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กัลยาณี เสนาสุ. (2560). การบริหารค่าตอบแทนเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2557). การบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management). กรุงเทพฯ: โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชซิ่ง.

จตุรงค์ นภาธร. (2562). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ : หลักการ ทฤษฎี และแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณะ. (2558). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

จิรประภา อัครบวร. (2561). การบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์ : เครื่องมือพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

จุไรรัตน์ สุดรุ่ง. (2559). การนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ชนิตา รักษ์พลเมือง และคณะ. (2558). การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต. วารสารครุศาสตร์, 45(3), 11-33.

ชวนคิด มะเสนะ. (2559). การพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางการศึกษาในทศวรรษหน้า. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 16(1), 9-16.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2556). การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดาวิษา ศรีธัญรัตน์. (2562). ระบบงานทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2559). การจัดการทรัพยกรบุคคล พื้นฐานแนวคิดเพื่อการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิติธร เจริญยิ่ง. (2561). แนวทางการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20(1), 169-180.

นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์. (2559). หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญอนันต์ พินัยทรัพย์. (2560). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. นนทบุรี: โรงพิมพ์รัตนไตร.

พรทิพย์ ทับทิมทอง. (2558). การวิเคราะห์ผลของการใช้เวลาในการปฏิบัติภาระงานสอนที่มีต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2557). การนิเทศการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ : ทฤษฎี กลยุทธ์ สู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัยและพัฒนา เรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี 2561 (IMD 2018). กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2560/2561. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2557). สาระสังเขปประเด็นการปฏิรูปประเทศไทยด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). เอกสารแนวทางการนิเทศบูรณาการโดยใช้พื้นที่เป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่การนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน “2562 ปีทองแห่งการนิเทศภายในห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน”. เข้าถึงได้จาก หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ค้นเมื่อ 21 เมษายน 2563, จาก www.esdc.go.th

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษ. (2560). หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2563, จาก www.otepc.go.th/th/content_page/item/1891-21-2560.html

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตเยาวชน. (2557). รายงานผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง กิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่กระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของครู. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2563, จาก www.qlf.or.th

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องอาจ นัยพัฒน์. (2561). การวิจัยสถาบัน: เครื่องมือพัฒนาสถาบันสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.

อลงกรณ์ มีสุทธา และ สมิต สัชฌุกร. (2554). การประเมินผลการปฏิบัติงาน ฉบับปรับปรุง (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

Arthur, D. (2015). Fundamentals of Human Resources Management: A Practical Guide for Today’s HR Professional (5 ed.). AMA Self-Study.

Conley, S., Gould, J., & Levine, H. (2010). Support personnel in schools: characteristics and importance. Journal of Educational Administration, 48(3), 309-326.

Francesc Masdeu Navarro. (2015). LEARNING SUPPORT STAFF: A LITERATURE REVIEW. Paris: OECD Publishing.

Glickman, C. D., Gordon, S. P., & Ross-Gordon, J. M. (2018). Supervision and instructional leadership:

a developmental approach (10 ed.). New York: Pearson.

Joseph M. P. (2015). Human Resource Management: A Dynamic Approach. Laxmi Publications Pvt Ltd.

Mwaisumo, W. N. (2016). The Recruitment of Support Staff in Tanzanian Secondary Schools. Journal of Education and Practice, 7(19), 86-89.

Ntabeni-Bhebe, F. (2019). Global Human Resources Management. Society Publishing.