การบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพแบบก้าวกระโดดด้วยแนวคิด I-OKRR
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้เขียนขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์วรรณกรรมเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพแบบก้าวกระโดดด้วยแนวคิด I-OKRR ผู้เขียนได้ทบทวนและวิเคราะห์วรรณกรรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพแบบก้าวกระโดดด้วยแนวคิดการบริหารจัดการผลลัพธ์แบบ OKR (Objective Key Result) บูรณาการกับองค์การแห่งนวัตกรรมและการสะท้อนคิด จากนั้นได้สังเคราะห์เป็นรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบ I-OKRR ที่ประกอบด้วย 1) การสำรวจสภาพปัจจุบันและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสถานศึกษา 2) การประกาศ I-OKRR ระดับสถานศึกษาให้รับรู้ทั่วกัน 3) การทำข้อตกลงร่วมมือร่วมใจ (MOU) เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายที่ท้าทาย 4) การปฏิบัติตามแผนการดำเนินงาน I-OKRR 5) การกำกับ ติดตาม และประเมินผล และ 6) การสะท้อนผลการดำเนินงาน (Reflection) ในตอนท้ายของบทความนี้ผู้เขียนในฐานะผู้บริหรสถานศึกษาระดับประถมศึกษาได้นำเสนอผลการนำรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบ I-OKRR ไปใช้ในสถานศึกษาของตนเองก็คือ โรงเรียนชุมชนบ้านหนองบ่อ (วิจิตรราษฎร์สามัคคี) จ.อุบลราชธานี ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 และพบว่า รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบ I-OKRR มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ได้จริงในบริบทสถานศึกษาจนปรากฏการพัฒนาคุณภาพอย่างก้าวกระโดด
Article Details
References
Doerr, J. (2562). ตั้งเป้าชัด วัดผลได้ด้วย OKRs (กิตติพัทธ์ จิรวัสวงศ์ และคณะ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด ยูเคชั่น.
Impression group. (2563). อะไรบ้างที่ทำลายระบบบริหารผลงานขององค์กร. ค้นเมื่อ 8 เมษายน 2563, จาก http://www.impressionconsult.com/web/index.php/articles/950-article-organizations-22092014.html
Luhtaniemi Petrus. (2020). Constructing Performance Measurement Model for The M&A Integration Project – Objectives and Key Results (OKR). Master’s Thesis. School of Business and Economics Jyväskylä University.
Wodtke Christina. (2562). อยากสำเร็จ ต้องโฟกัสด้วย OKR (นภดล ร่มโพธิ์ และบรรจงจิต ร่มโพธิ์, แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บิงโก.
เกศินี ประทุมสุวรรณ. (2562). การประยุกต์ใช้แนวคิด OKRs กับโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ. วารสารรามคำแหง, 38(2), 111-128.
กิตติพันธ์ จิรวัสวงศ์. (2562). OKRs @ Work บริหารผลงานสู่ความเป็นเลิศด้วย OKRs. กรุงเทพฯ: เกรท มีเดีย เอเจนซี.
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2562). คู่มือประยุกต์ใช้ระบบบริหารผลงานด้วยแนวคิดแบบ OKRs. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด ยูเคชั่น.
นภดล ร่วมโพธิ์. (2561). พัฒนาองค์กรและชีวิตด้วยแนวคิด OKRs. นนทบุรี: เอ็นพีอินเทลลิเจนซ์.
พิมพ์พญา เจริญศิริพันธ์. (2563). 5 แฟกต์ว่าด้วยความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่สกัดขาไม่ให้เด็กต้นทุนต่ำได้ไปต่อ. ค้นเมื่อ 8 เมษายน 2563, จาก https://adaymagazine.com/educational-inequality/
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานผลการศึกษาแนวทางการจัดทําระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษาที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ โดยใช้แนวคิดระบบการวัดผลแบบ OKRs : Objective and Keys Results. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.
ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์ และคณะ. (2562). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาตามแนว Objectives & Key Results (OKRs). [ม.ป.ท.]: วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง.
องค์อร ประจันเขตต์. (2557). องค์กรแห่งนวัตกรรมการศึกษา ทางเลือกใหม่ของการบริหารการศึกษา. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1), 45-51.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2562). ตัวอย่าง OKRs OBJECTIVES AND KEY RESULTS. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2562). Objectives and Key Results OKRs เครื่องมือการบริหารผลงานที่ได้ “ใจ” และได้ “งาน”. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.