การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานกับพัฒนาการการเรียนรู้ ในรายวิชาตัวแบบสถิติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนรู้ โดยใช้โครงงานเป็นฐานในรายวิชาตัวแบบสถิติ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน โดยกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 40 คน ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ตัวแบบสถิติ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามความพึงพอใจและการประเมินคะแนนพัฒนาการการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้นเอง ผลการศึกษาพบว่านักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยส่วนใหญ่ได้คะแนนเก็บสูงกว่าค่าเฉลี่ย นักศึกษามีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบคะแนนพัฒนาการการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียน พบว่า นักศึกษามีพัฒนาการในระดับที่สูงมาก และมีค่าเฉลี่ยของคะแนนเพิ่มขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คำสำคัญ: โครงงานเป็นฐาน ตัวแบบสถิติ ความพึงพอใจ
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติพทธศักราช 2542 แกไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
กันยปริณ ทองสามสี. (2562). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมด้วยเกมออนไลน์ ในรายวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10 วันที่ 27-28 มีนาคม 2561.
จิตราภรณ์ สอนเขียน. (2560). ครั้งหนึ่งในอเมริการกับโครงการ Project-Based Learning (PBL) “Once in A Lifetime”, วารสารการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, 2560, 1-12.
จีรวรรณ เกิดร่วม, ธวรรณรัตน์ นาคเครือ และ น้ำเพชร นาสารีย์. (2560). การออกแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพความเข้าใจ เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์, การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 12, หน้า 1609-1621.
ชัญญานุช รัตนวิชัย. (2561). การใช้เกมในการจัดการเรียนรู้ เพื่อแก้ปัญหานักเรียนขาดความกระตือรือร้นในการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2563, จาก http://www.fth1.com/uppic/10107201/news/10107201_1_20190301-074315.pdf
ชรินทร ชะเอมเทส. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีบริหาร โดยใช้โครงการเป็นฐาน (Project-Based Learning) สาหรับผู้เรียนระดับ ปวส. 2 สาขาการบัญชี. [มปท.]: วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ.
ดิเรก วรรณเศียร. (2558). MACRO model: รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21. [มปท.]: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ดวงใจ งามศิริ นิภาพร บุญยศ และนิพล พินิจวัจนะวงศ์. (2562). การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบ MARCO Model ในรายวิชาการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ, วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์, 2(2), 69-80.
รุ่งกานต์ ใจวงค์ยะ. (2560). ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐานในรายวิชา สต423 สถิติศาสตร์ไม่อิงพารามิเตอร์. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 "ราชมงคลสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0" (Creative RMUT and Sustainable Innovation for Thailand 4.0).
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ใน ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตาพับลิเคชั่น.
ศลิษา หวานวาจา. (2557). การศึกษาผลของการใช้เกมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาที่มีผลป้อนกลับต่างกันต่อ ทักษะการ ฟังวิชาภาษาเกาหลีเบื้องต้น 2 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี, วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 7(2), 974-987.
Koparan, T., & Guven, B. (2014). The Effect of Project-based Learning on the Statistical Literacy Levels of Students 8th Grade. European Journal of Educational Research, 3(3), 145-157.
Srisawasdi, N., & Panjaburee, P. (2019). Implementation of game-transformed inquiry-based learning to promote the understanding of and motivation to learn chemistry. Journal of Science Education and Technology, 28(2), 152–164.