แนวทางการพัฒนากลุ่มโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6

Main Article Content

ศุภพงษา จันทรังษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่ต้องการในการพัฒนากลุ่มโรงเรียน 2. เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนากลุ่มโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 วิธีดำเนินการวิจัย
ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน เป็นรูปแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และครู รวมจำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ
แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของ
แนวทางการพัฒนากลุ่มโรงเรียน ใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นด้วยค่าดัชนี PNI Modified


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการดำเนินงานกลุ่มโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการจัดตั้งกลุ่มโรงเรียน ส่วนสภาพความต้องการของดำเนินงานกลุ่มโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการกลุ่มโรงเรียน 2) แนวทางการพัฒนากลุ่มโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย แนวทางการพัฒนากลุ่มโรงเรียน ตัวชี้วัด และวิธีดำเนินการ ประเด็นแนวทางการพัฒนากลุ่มโรงเรียน ประกอบด้วย 6 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 ส่งเสริม สนับสนุน จัดทำระเบียบกลุ่มโรงเรียน มี
4 ตัวชี้วัด วิธีดำเนินการ 11 ข้อ แนวทางที่ 2 ส่งเสริมบทบาทการกระจายอำนาจกรรมการกลุ่มโรงเรียน มี 5 ตัวชี้วัด วิธีดำเนินการ 11 ข้อ แนวทางที่ 3 ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานกลุ่มโรงเรียน มี 4 ตัวชี้วัด วิธีดำเนินการ 1 ข้อ แนวทางที่ 4 เพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการกลุ่มโรงเรียนได้มาตรฐานการศึกษาพื้นฐาน มี 5 ตัวชี้วัด วิธีดำเนินการ 5 ข้อ แนวทางที่ 5 ส่งเสริมบริหารจัดการกลุ่มโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโรงเรียน มี 5 ตัวชี้วัด วิธีดำเนินการ 5 ข้อ แนวทางที่ 6 จัดสรรงบประมาณอย่างโปร่งใสปรับกลไกบริหารมุ่งเน้นสัมฤทธิผลโรงเรียน มี 8 ตัวชี้วัด วิธีดำเนินการ 5 ข้อ


 


คำสำคัญ: แนวทางการพัฒนา, กลุ่มโรงเรียน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). แนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). การคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). การจัดการเครือข่าย : กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของ การปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ส. เอเชียเพลส.

จีรวิทย์ มั่นคงวัฒนะ. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. ค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2562, จาก https://www.gotoknow.org/posts/344746

จีรวิทย์ มั่นคงวัฒนะ. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

ชมแข พงษ์เจริญ. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการโรงเรียนเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพในประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 26 (79), 167-184.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุรีวิทยาสาส์น.

ภารดี อนันต์นาวี. (2552). หลักการ แนวคิด ทฤษฏีทางการบริหารการศึกษา ฉบับปรับปรุง. ชลบุรี : มนตรี.

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2547). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม ประชาชนองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นและราชการ กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

สมบูรณ์ บูรศิริรักษ์. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมศักดิ์ เอี่ยมดี. (2556). การพัฒนาระบบการบริหารเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัย นเรศวร, 15(ฉบับพิเศษ), 216 – 224.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. (2560, 15 สิงหาคม). ระเบียบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ว่าด้วยการบริหารเครือข่ายโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 พ.ศ. 2560. ค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2560, จาก https://www2.chaiyaphum3.go.th/main/

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. (2555, 16 พฤศจิกายน). ระเบียบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ว่าด้วยกลุ่มโรงเรียน พุทธศักราช 2555. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. (2561, 8 สิงหาคม). ระเบียบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ว่าด้วยกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2. (2557, พฤศจิกายน). ระเบียบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ว่าด้วยเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2557. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. (2558, กันยายน). ระเบียบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ว่าด้วยกลุ่มโรงเรียนและศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2554 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2558. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1. (2560, 20 กรกฎาคม). ระเบียบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 ว่าด้วยกลุ่มโรงเรียน พ.ศ. 2560. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3. (2558, 25 มิถุนายน). ระเบียบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 ว่าด้วยวิธีการได้มาของคณะกรรมการบริหารกลุ่มโรงเรียน และครูวิชาการประจำกลุ่มโรงเรียน พ.ศ. 2558. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3. (2558, 25 มิถุนายน). ระเบียบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 ว่าด้วยกลุ่มโรงเรียน พ.ศ. 2558. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. (2561, 16 พฤษภาคม). ระเบียบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ว่าด้วยกลุ่มโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 พ.ศ. 2561. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. (2555, ธันวาคม 26). ระเบียบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ว่าด้วยกลุ่มโรงเรียน พ.ศ. 2555. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. (2556, 27 กุมภาพันธ์). ระเบียบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 ว่าด้วยศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา พุทธศักราช 2556. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟิก.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). การจัดทำแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). ค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2560, จาก www.nesdb.go.th

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. [ม.ป.ป.]. ระเบียบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ว่าด้วยศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2557. [ม.ป.ท.]: กลุ่มนโยบายและแผน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาและการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาระบบราชการ. (2553). ชุดเครื่องมือการเรียนรู้ เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลง. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

สุวิมล ติรกานันท์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวานิช. (2552). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุทัย ดุลยเกษม และอรศรี งามวิทยานนท์. (2540). ระบบการศึกษากับ. กรุงเทพฯ: แปลนปริ้นติ้ง.

Creswell, J. W. (2013). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed methods approaches. [n.p.]: Sage publications.

Greenberg, J., & Baron, R. A. (1995). Behavior in organization : Under standing and managing the human side of work. 5th ed. New Jersey: A Simon and Schuster.

Owens, R. G. (1993). Organizational behavior in education. (3th ed.). New Jersey: [n.p.].

Raadschelders, L. C. N. (2003). Government: A public administration perspective. New York: M. E. Sharpe.

Robbins, S. P., & Coulter, M. (1999). Management. New Jersey: Prentice – Hall.

Robbin, S. P., & Coulter, M. (1999). Management. (6th ed.). New Jersey: Prentice Hall. Inc.

Schermerhorn, J. R. (1996). Organizational behavior. New York: John Wiley.

Useem, E. L. (1994). Renewing School: A Report on the Cluster Initiative in Philadelphia. Retrieved March 5, 2008, from http://ericdb/ED 378251.Htm

Warren, G. B. (1996). Organization Development : Its Nature, Origins and Prospects. Massachusetts : Addison-Wesley.