การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ: TPACK-KWL Plus Model รูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้เป็นหน้าที่สำคัญหนึ่งของผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อถ่ายทอดกระบวนการและแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์และการเขียนสื่อความของผู้เรียน ผู้เขียนเริ่มต้นจากการวิจัยเอกสาร (Documentary research) 29 เรื่อง เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus และแนวคิดเกี่ยวกับความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี (Technological pedagogical content knowledge; TPACK) จากนั้นได้บูรณาการทั้งสองแนวคิดเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษแบบ TPACK-KWL Plus ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน กล่าวคือ ขั้นที่ 1 K: ผู้เรียนรูอะไร (What We Know) เป็นขั้นตอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความรู้เดิม (prior knowledge) ที่เป็นพื้นฐานต่อการเรียนความรู้ใหม่ออกมาโดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ขั้นที่ 2 W: ผู้เรียนต้องการรูอะไร (What We Want To Know) เป็นขั้นที่ผู้เรียนฝึกตั้งคำถามที่ต้องการรู้เกี่ยวกับบทเรียน ศึกษาค้นคว้าหาคำตอบ และตรวจสอบคำตอบที่ได้ โดยผู้เรียนสามารถเพิ่มคำถามและคำตอบของตนเองได ขั้นที่ 3 L: เกิดการเรียนรู้อะไร (What We Have Learned) ผู้เรียนเขียนบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งระหว่างการเรียนและหลังการเรียน และตรวจสอบคำถามที่ยังไม่ได้ตอบ ขั้นที่ 4 Plus สร้างแผนผังความคิด (Mind Mapping) ผู้เรียนนำความรูที่ไดทั้งหมดมาเขียนแผนผังความคิดเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดต่างๆ ขั้นที่ 5 สรุป (Summarizing) ผู้เรียนสรุปความเป็นความเรียงตามประเด็นสำคัญที่แสดงในแผนผังความคิด ในตอนท้ายของบทความผู้เขียนได้ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษแบบ TPACK-KWL Plus ในการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Right Brain or left Brain? สำหรับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อย่างเป็นรูปธรรม
Article Details
References
กนกวรรณ คันธากร และศศิวิมล ชิน. (2556). การใช้เทคนิค KWL Plus เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านในการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ 2 สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
กนกวรรณ ศรีดาวเรือง. (2554). การใช้กลวิธีการเรียนรู้อภิปัญญาตามทฤษฎีของรีเบคกา แอล ออกฟอร์ดในการพัฒนาทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษและอภิปัญญาของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๔๕ ก ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓.
ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์ และ วรรณทิพา รอดแรงค้า. (2548). แนวทางการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์: การพัฒนาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอน. ศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 20(2), 31-48.
เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์ เก็ตถวา บุญปราการ และวันทนา ไกรฤกษ์. (2558). สภาพและ ปัญหาการเรียนรู้ภาษา อังกฤษของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาสังกัดเทศบาลใน พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. รายงานการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ชนิกานต์ อินทร์พรหม. (2561). Effects of English creative writing instruction using multiple intelligences theory on English writing ability of higher secondary students. An Online Journal of Education, 13(3), 55-70.
ชัยวัฒน์ แก้วพันงาม. (2561). แนวทางในการผสมผสานดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการสอนภาษา. วารสารภาษาปริทัศน์, 33(23), 241-266.
ชุลีวรรณ สุขโข. (2560). การศึกษาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ดนตรี (Melodic approach). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ผาณิตา ปู่แต่งอ่อน. (2561). ผลการใช้สื่อวีดิโอและการใช้กลยุทธ์อภิปัญญาต่อทักษะการฟังเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนาคประสิทธิ์จังหวัดนครปฐม. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พัฒนวิมล อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2556). อททืธานี บริติชเคาน์ซิลลงนามในสัญญาการพัฒนาครู Boot Camp. ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560 จาก http://www.thaigov.go.th
มยุรี อรรฆยมาศ. (2555). เทคนิคการเรียนรู้แบบ K-W-L (K-W-L Learning Technique). ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2562, http:// www.suanpalm3.kmutnb.ac.th/kmit/km_detail.asp?id =37&type=1
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561. ค้นเมื่อ 10 กุมพาพันธ์ 2563, จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM6_2561.pdf
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2554). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่: โรงพิมพ์แสงศิลป์.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุชาดา ศรีทอง. (2555). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและแรงจูงใจในการเรียนของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีอภิปัญญาและการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุวิทย์ มูลคำ. (2550). กลยุทธ์การสอนวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). การบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ = Child centred: storyline method. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). 19 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
อมรรัตน์ จินดา และเอกนฤน บางท่าไม้. (2559). สภาพปัญหาและแนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาสาหรับสถานศึกษาในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(1), 395-407.
อินทิรา ศรีประสิทธ์. (2552). 7 ขั้นตอนที่จะท าให้คนไทยเก่งภาษาอังกฤษอย่างถาวรและ แท้จริง. ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560, จาก http://www.oknation.com
Carr, E. and Ogle D. (1987). K-W-L Plus: A strategy for comprehension and summarization. Journal of Reading, 626-631.
Koehler and M. J. (2016). Technological Pedagogical Content Knowledge (TPACK). Retrieved January 12, 2017, from http://www.tpack.org/
Koehler, M. J., & P. Mishra, (2008). Introducing TPACK. In AACTE Committee on Innovation & Technology (Eds.), Handbook of technological pedagogical content knowledge for educators (pp. 3-29). New York: Routledge.
Mishra, P., & Koehler, M. J. (2006). Technological pedagogical content knowledge: A new framework for teacher knowledge. Teachers College Record, 108(6), 1017-1054.
Norton, S., McRobbie, C. J. & Cooper, T. J. (2000). Exploring secondary mathematics teachers’reasons for not using computers in their teaching: five case studies. Journal of Research on Computing in Education, 33(1), 87.
Pardo, L., and T. Raphael. (1991). Classroom organization for instruction in content areas. The reading teacher, 44(8), 556-565.
Puarungroj, W., Pongpatrakant, P. & Phromkhot, S. (2017). nǣonōm withīkān rīan kānsō̜n yuk mai dūai khrư̄angmư̄ pramoēnphon rawāng rīan ʻō̜nlai [Trends in modern teaching and learning methods using online formative assessment tools]. Journal of Learning Innovations Walailak University, 3(2), 45-68.
Shulman, L.S. (1986). Paradigms and research programs for the study of teaching. In M.C. Wittrock (Ed.), Handbook of research on teaching (3rd ed.). New York: Macmillan.