การศึกษากลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนของนักศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

Main Article Content

พิมพร วัฒนากมลกุล
ปรมินทร์ ประภาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ในภาพรวม 2. ศึกษาเปรียบเทียบกลวิธี และวิเคราะห์ความแตกต่างในการใช้กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ในแต่ละกลุ่มชั้นปี 3. ศึกษาปัจจัยที่มีส่วนสนับสนุนและสร้างเสริมในการใช้กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 4. นำผลสรุปมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนของหลักสูตรสาขาวิชาภาษาจีน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามกลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ ซึ่งใช้รวบรวมข้อมูลทางสถิติพรรณนา และการทดสอบสมมติฐานการวิจัย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) ในกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน การทดสอบความเป็นอิสระหรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวหรือไคสแควร์ (Chi-square) รวมทั้งหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient(r) ค่าสถิติร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เพื่อเปรียบเทียบหาความแตกต่างทางสถิติ    


ผลการวิจัยพบว่า


  1. นักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนใช้กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์โดยภาพรวมในระดับปานกลาง จากการวิเคราะห์กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนตามรายด้าน พบว่า กลวิธีที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญมากที่สุด คือ กลวิธีการชดเชย กลวิธีทางสังคม กลวิธีทางอารมณ์ กลวิธีอภิปริชาน กลวิธีปริชานและกลวิธีด้านการจดจำ ตามลำดับ

  2. จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนกับกลุ่มระดับชั้นของผู้เรียน พบว่า ตัวแปรกลุ่มชั้นปีที่เรียน ไม่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรการใช้กลวิธีการเรียนรู้ หรือมีความสัมพันธ์กันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ หากแต่ว่าเมื่อพิจารณาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ตามรายด้านนั้น พบว่า การใช้กลวิธีด้านการจดจำ กลวิธีปริชาน กลวิธีการชดเชย กลวิธีอภิปริชาน กลวิธีทางอารมณ์และกลวิธีทางสังคมมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในการใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01

  3. ปัจจัยที่มีส่วนสนับสนุนและสร้างเสริมในการใช้กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี หลักสูตรสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ โดยประกอบด้วย ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ซึ่งเรียงลำดับปัจจัยที่มีผลมากที่สุดถึงน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านพฤติกรรมการเรียนและความสนใจส่วนบุคคล ด้านสภาพแวดล้อม ด้านผู้สอน ด้านระดับความยากง่ายของภาษา ด้านความคิดความคาดหวัง และด้านความรู้พื้นฐานของคำศัพท์

  4. แนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนหลักสูตรสาขาวิชาภาษาจีน จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงกลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ที่มากที่สุด จนถึงน้อยที่สุด ทำให้ทราบถึงรูปแบบแนวทางการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งผู้สอนสามารถพัฒนาตามแนวความคิดความแตกต่างระหว่างบุคคล แต่ละกลุ่มชั้นปี เพื่อที่จะสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ตามรายวิชาที่ต้องเน้นใช้ทักษะทางภาษาต่างๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กันต์ อาลัยญาติ. (2554). การศึกษากลวิธีการเรียนรู้คำเลียนเสียงธรรมชาติภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนชาวไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ญี่ปุ่นศึกษา) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นารีรัตน์ วัฒนเวฬุ. (2560). การศึกษากลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 23(1), 93 – 134.

ปิยนุช อุดมเกียรติสกุล. (2559). ศึกษากลยุทธ์การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนเอกชนจังหวัดปทุมธานี. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัยใช้องค์ความรู้สู่ความยั่งยืน, 17 มิถุนายน 2559 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.

พระสุขพล ปุณฺณสุโข และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย. วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 6(1), 507 – 519.

พัฐนนท์ พลหาญ. (2559). กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างของผู้เรียนไทยที่เรียนทางด้านธุรกิจในระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(45), 197 – 219.

ยิ่งรัก ชุนชาติประเสริฐ. (2546). กลวิธีการเรียนภาษาจีนกลางของนักศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภลักษณ์ กฤษณานนท์. (2556). การศึกษากลยุทธ์การเรียนรู้คำศัพท์ของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย. วิทยานิพนธ์

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ญี่ปุ่นศึกษา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อนุ ยอดพรหมมินทร์ และนวมินทร์ ประชานันท์. (2550). กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. รายงานการวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อรรถพล คำเขียน. (2549). กลวิธีการเรียนภาษาของนักศึกษาไทยกับเวียดนาม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

I.S.P. Nation. (1990). Teaching and Learning Vocabulary. New York: Newbury House.

李雅梅 (Li Xiaomei, 2008). 《泰国学生汉语词汇学习策略使用情况调查研究》,《云南师范大学学报》,第2期.

O’Malley, J. M. & Chamot, A. U. (1990). Learning strategies in second language acquisition. Cambridge: Cambridge University Press.

Oxford, R. L. (1990). Language learning strategies: what every teacher should know. New York: Newbury House Publishers.

潘菊香 (Pan Juxiang, 2013). 《泰国留学生汉语词汇学习策略研究》,广西大学硕士学位论文.