อริยสัจ 4 เพื่อแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา

Main Article Content

ชูเกียรติ ลอองแก้ว

บทคัดย่อ

หลักสูตรคณิตศาสตร์ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องโดยกระทรวงศึกษาธิการจำนวนหลายครั้ง แต่ฉบับที่สำคัญๆได้แก่ ฉบับพุทธศักราช 2536 สาระสำคัญที่มีการปรับปรุงคือด้านการวัดผล ฉบับพุทธศักราช 2544 ถือเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ในภาพรวม 12 ปี โดยแบ่งเนื้อหาในการสร้างองค์ความรู้แก่ผู้เรียนออกเป็น 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ฉบับพุทธศักราช 2551 มีหลักการที่สำคัญๆคือเป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการเรียนรู้ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และฉบับพุทธศักราช 2560 โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบได้พัฒนาหลักสูตรคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ที่มุ่งให้การศึกษาและการเรียนรู้มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล พัฒนาคนไทยให้มีทักษะการคิดสังเคราะห์ เน้นที่กระบวนการและทักษะการแก้ปัญหาที่ดี  ผู้เขียนจึงนำเสนอความรู้เพื่อใช้เป็นแนวทางเกี่ยวกับกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สำหรับครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาและผู้ที่สนใจทั่วไป โดยนำหลักธรรมทางพุทธศาสนาที่สำคัญเรื่องอริยสัจ 4 อันกล่าวถึงความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ประกอบด้วย ทุกข์เป็นแหล่งเกิดปัญหา สมุทัยคือเหตุที่มา นิโรธเป็นแนวทางแก้ปัญหา และมรรคคือลงมือแก้ปัญหา เพื่อปรับปรุงทักษะการคิดสังเคราะห์การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพแนะนำให้ทำการวัดและประเมินผลก่อนและหลังลงมือปฏิบัติตามแนวอริยสัจ 4

Article Details

บท
บทความเทคนิค (Technical Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2536). การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน กลุ่มทักษะคณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533). กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2562, จาก http://math.ipst.ac.th/wp-content/uploads/2015/PDF/Curriculum%202544.pdf

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2562, จาก http://lib.edu.chula.ac.th/FILEROOM/CABCU_ PAMPHELT/DRAWER01/GENERAL/DATA0000/00000218.PDF

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.scimath.org/e-books/8378/8378.pdf

ทิฏิ์ภัทรา สุดแก้ว. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ผ่านเครือข่ายทางสังคมออนไลน์เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2564, จาก http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Tech/Tipattra_S.pdf

บงกชรัตน์ สมานสินธุ์. (2551). เรื่องผลการจัดการเรียนการสอนแบบอริยสัจ4ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2564, จาก http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Sec_Ed/Bongkotrat_S.pdf

พัชรินทร์ ทิตะยา. (2562). การพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ TAI ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2564, จาก http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Patcharin.Tit.pdf

วรัญญา เธียรเงิน. (2554). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสตาร์ร่วมกับเกมการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2564, จาก http://kb.tsu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/2597/1/วรัญญา%20เธียรเงิน.pdf

วราภรณ์ เขตโสภา. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เน้นกระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 ที่มีต่อเจตคติต่อการเรียนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น ป.5. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2564, จาก http://research.grad.snru.ac.th/UserFiles/File/วราภรณ์_บทความ.pdf

วิกิพีเดีย. (2563). อริยสัจ 4. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2563, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/อริยสัจ_4

ศศิธร แก้วมี. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เทคนิค KWDL สำหรับนร.ชั้น ป.3. ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2564, จาก http://kb.tsu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/2236/1/ศศิธร%20แก้วมี%2000184091.pdf

ศิริลักษณ์ ใชสงคราม. (2562). การพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนร.ชั้นป.5ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค TGT ร่วมกับบาร์โมเดลBar Model. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2564, จาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2732/1/59253305.pdf

สุภักษร ทองสัตย์. (2558). การศึกษาการสอนแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีSTAR ที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2564, จาก http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/e-research/?q=node/1649

สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์. (2525). การวัดและประเมินผลทางการศึกษา. ขอนแก่น: ภาควิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.