การเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ร่างกายของเรา โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังมโนทัศน์ กับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น

Main Article Content

มนัสนันท์ วงศ์กาฬสินธ์
อนันต์ ปานศุภวัชร
อรุณรัตน์ คำแหงพล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังมโนทัศน์ และแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง ร่างกายของเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังมโนทัศน์ 3) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการของนักเรียนหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังมโนทัศน์ กับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น 4) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียน หลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังมโนทัศน์ กับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนอนุบาลบ้านแพง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 35 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม กลุ่มทดลองรับการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังมโนทัศน์ และกลุ่มควบคุมรับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังมโนทัศน์ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ร่างกายของเรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังมโนทัศน์ มีประสิทธิภาพ 79.78/78.80 และแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น มีประสิทธิภาพ 77.49/76.94 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75 2) การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังมโนทัศน์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังมโนทัศน์ สูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังมโนทัศน์ สูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น การคิดวิเคราะห์ ผังมโนทัศน์


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จารีย์ ขุนชำนาญ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning : BBL) พัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 5(2), 228-234.

จิตตรัตน์ เย็นสุข. (2557). แผนผังมโนทัศน์ (Concept Mapping). ค้นเมื่อ 19 เมษายน 2561, จาก http://jittaratyean.blogspot.com/2014/04/concept-mapping.html

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประกาย ว่องวิการณ์. (2559). ผลการสอนตามแนวการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความ

และความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

พรพิไล เลิศวิชา และอัครภูมิ จารุภากร. (2550). ออกแบบกระบวนการเรียนรู้โดยเข้าใจสมอง. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.

ไพฑูรย์ สุขศรีงาม. (2531). ความแตกฉานทางด้านวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี (Scientific-Technological Literacy). วารสารวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอน, 3(1), 6-11.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2554). การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Backward Design. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เวิน ริทัศน์โส. (2559). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้แผนผังมโนทัศน์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศุภพล มงคลเจริญพันธ์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน วิทยาลัยอาชีวศึกษาดุสิตพณิชยการ. วารสารวิชาการ

มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 13(2), 13-25.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2559). รายงานผลการประเมินคุณภาพ ภายนอกรอบสาม. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net). กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

สมจิตร สายบุญลี. (2558). การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ที่มีต่อการอ่านจับใจความ การคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อการเรียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสาคาม, 9(1), 80-91.

สุขกมล แสงวันดี. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(ฉบับพิเศษ), 254-265.

สุพัตรา ดวงแก้วกลาง. (2557). การศึกษาผลประเมินการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL)กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 5(1), 41-54.

สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

อักษรเจริญทัศน์. (2551). คู่มือครูและแผนการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

อรุณรัตน คำแหงพล, ถาดทอง ปานศุภวัชร, อนันต์ ปานศุภวัชร, พิทักษ์ วงษ์ชาลี และนิติธาร ชูทรัพย์. (2562). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่องทฤษฎีการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบผังกราฟิกสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 42(4), 89-102.

Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals. New York: Longmans.

Caine, R. N., & Caine, G. (1990). Understanding a briain-based approach to learning and teaching: Educationa Leadership. Retrieved May 15th, 2018, from https://www.semanticscholar.org/paper/Understanding-a-Brain-Based-Approach-to-Learning-Caine-Caine/8d58b6af940e0117fcd4f52ef7e73e16690261f5?p2df

Caine, R. N., & Caine, G. (1991). Teaching and the human brain. Alexenaria: Association for Supervision and

Curriculum Development. Retrieved from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED335141.pdf. May 15th, 2018.

Jensen, E. (2000). Brian-Based Learning: A Reality Chaeck. Educationnal Leadership. 57(7), 76-80.

McMillan, J. H., & Schumacher, S. S. (1997). Research in education: A conceptual introduction. New York: Longman.

Mitra, G. (2013-2014). Using Mind Maps as a tool to foster Brain Based learning in the Changing World.

Scholarl research journal for interdisciplinary studies. SPECIAL ISSUE, 1(1), 1-7.