กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาความสามารถของสมองในการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนบ้านใหม่ (วันครู 2503)

Main Article Content

กชกร ศรีสังข์
เรชา ชูสุวรรณ
สุวลัย มหากันธา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาความสามารถของสมองในการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนบ้านใหม่ (วันครู 2503) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน    1 ท่าน ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา จำนวน 1 ท่าน ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบงานนิเทศการศึกษาปฐมวัย จำนวน 1 ท่าน ครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการปฐมวัย จำนวน 1 ท่าน และครูผู้สอนระดับชั้นปฐมวัย จำนวน 6 ท่าน รวมทั้งสิ้น 10 ท่าน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยสรุปกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาความสามารถของสมองในการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัยได้ดังนี้ 1) การมีส่วนร่วมศึกษาข้อมูลพื้นฐานวิเคราะห์สภาพปัญหาปัจจุบัน กำหนดความต้องการของการใช้กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม และการมีส่วนร่วมคิด ร่วมวางแผน 2) การมีส่วนร่วมปฏิบัติตามแผน ประกอบไปด้วยการมีส่วนร่วมในการสร้างประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะ EF ด้านความจำเพื่อใช้งาน ด้านการใส่ใจจดจ่อในสิ่งที่ทำ ด้านการยั้งคิดไตร่ตรอง ด้านการควบคุมอารมณ์ และการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนร่วมที่อยู่ในฐานะผู้อำนวยการ และผู้ทรงคุณวุฒิ 3) การมีส่วนร่วมในการติดตาม และประเมินผล ประกอบไปด้วย (1) การสะท้อนผลการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็กปฐมวัย (2) ผลการใช้กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะ EF ของเด็กปฐมวัย แบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ ด้านการบริหาร ด้านครู และด้านเด็กปฐมวัย 3) ข้อจำกัด และอุปสรรค 4) สิ่งที่ควรปรับปรุงเพื่อพัฒนากระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะ EF ของเด็กปฐมวัย แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านการบริหาร ด้านครู และด้านการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)
Author Biography

กชกร ศรีสังข์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

References

จิระพร ชะโน. (2562). การคิดเชิงบริหารกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย. วรสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(1),1-7.

ชาย โพธิสิตา. (2556). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2560). การประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร (EF) ในเด็กปฐมวัย. ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการ การพยาบาลกุมารเวรศาสตร์ครั้งที่ 29. กรุงเทพฯ: สถาบันชีววิยาศาสตร์โมเลกุลมหาวิทยาลัยมหิดล.

บุญชม ศรีสะอาด และ สุริทอง ศรีสะอาด. (2552). การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2561). เลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ EF. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ปาริชาติ วลัยเสถียร, สหัทยา วิเศษ, จันทนา เบญจทรัพย์, ชลกาญจน์ ฮาซันนารี และ พระมหาสุทิตย์ อบอุ่น. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์.

มณีรัตน์ บุญเต็ม และ ประชุม รอดประเสริฐ. (2557). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยองค์คณะบุคคลในสถานศึกษาขั้น

พื้นฐานสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาภาคใต้ตอนล่าง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย, 4(1), 102-111.

ราชบัณฑิตสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์.

วิโรจน์ ผลแย้ม และ ศักดา สถาพรวจนา. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย, 4(1), 171-184.

วีระศักดิ์ ชลไชยะ. (2559). พัฒนาทักษะ EF ตั้งแต่ปฐมวัย...รากฐานของการพัฒนาประเทศในยุค Thailand 4.0. กรุงเทพฯ: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์.

ศรัณย์ เจียระไน, พิมพา ม่วงศิริธรรม และ อัศวิน มณีอินทร์. (2558). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(2), 44-54.

สถาบันอาร์แอลจี. (มิถุนายน 2558). เด็กติดยาและเสพติดสิ่งอื่นเหตุเพราะบกพร่อง EF. ModernMom FOCUS, 1(5), 4-5.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สิริยากร กองทอง. (2559). กลยุทธ์การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มุ่งเน้นแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สุภาวดี หาญเมธี. (2558). EF ภูมิคุ้มกันชีวิตและป้องกันยาเสพติด. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดี.

สุภาวดี หาญเมธี, ธิดา พิทักษ์สินสุข และ ภาวนา อร่ามฤทธิ์. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มติชน.

อโณทัย สุขเจริญโกศล. (2562). EF ทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21. วรสารการศึกษาไทย, 16(148), 24-2.