การออกแบบการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ผ่านรูปแบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม

Main Article Content

สมศักดิ์ บุญพรม

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงในยุคศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีชีวิตของคนในสังคม ระบบการศึกษาจึงจำเป็นต้องพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ ดังนั้นรูปแบบการจัดการเรียนรู้จะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่และนวัตกรรม โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา กระบวนการทางสังคม เพื่อให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ สามารถนำความรู้
ไปประยุกต์ใช้และดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ บทความนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ เริ่มต้นด้วยการเป็นคนกำหนดปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน แล้วเชื่อมโยงกับองค์ความรู้ในบทเรียนมาการใช้แก้ปัญหาจนได้ผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมออกมา โดยดำเนินการจัดการเรียนรู้ผ่านรูปแบบการใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านกระบวนการทำงานแบบร่วมมือ และลงมือปฏิบัติจริง จนได้ผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมออกมา เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงและความคาดหวังทางสังคมที่มุ่งการสร้างสรรค์นวัตกรรมสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ  การเรียนจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นกระตุ้นหรือท้าทาย (การนำเข้าสู่บทเรียน) 2) ขั้นกำหนดปัญหา 3) ขั้นการแสวงหาความรู้ 4) ขั้นดำเนินการ และ 5) ขั้นนำเสนอ

Article Details

บท
บทความเทคนิค (Technical Article)

References

ณชนก หล่อสมบูรณ์ ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ และขนบพร แสงวณิช. (2019). กระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อสร้างนวัตกรรมการแสดงออกทางศิลปะ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(1).

ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

มนต์ชัย สิทธิจันทร์. (2547). ผลของการฝึกจินตนาการในการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการชนาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2545). การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยใช้ PBL (Problem-Based Learning). วารสารวิชาการ, 5(2), 11-17. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.qa.kmutnb.ac.th/qa_news/2545/QANEWS32_25450916.pdf

สุธิดา การีมี, (2560). การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา.สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2555). สรุปการบรรยายพิเศษเรื่อง Science, Technology, Engineering, and Mathematics Education: Preparing students for the 21st Century. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563, จาก http://designtechnology.ipst.ac.th/uploads/STEMeducation.pdf/

Asia Society. (2017a). Advancing 21st century competenies in Singaporn. Center for Global Education.

Asia Society. (2017b). Advancing 21st Century Competenies in Japan. Center for Global Education.

Breiner, J. M., Carla, C. J., Harkness, S. S., & Koehler, C. M.. (2012). What is STEM? A discussion about conceptions of STEM in education and Shelly Sheats Harkness Partnerships. School Science and Mathematics, 112 (1), 3-11.

Carleton University. (2019). Arts-based learning. Retrieved June 20, 2020, from https://carleton.ca/experientialeducation/?p=255.

Cho, J., and Huh, J. (2017). New education policies and practices in South Korea. Retrieved June 20, 2020, from https://bangkok.unesco.org/content/new-education-policies-and-practices-south-korea.

Chitrakorn, A. (2016). Arts-based learning to enhance creativity of learners in 21st century. Journal of Education, Silpakorn University, 14(1), 60 – 73.

Dejarnette, N. (2012). America’s children: providing early exposure to STEM (science, technology, engineering and math). Initiatives Education, 133(1), 77–84.

Guilford, J.P. (1967). The Nature of Human Intelligence. NY.: McGraw Hill.

Hynes, M., Portsmore, M., Dare, E., Milto, E., Rogers, C., Hammer, D., and Carberry, A., (2011). "Infusing Engineering Design into High School STEM Courses" Publications. Paper 165.

NEA. (2010). Preparing 21st century students for a global society. Retrieved June 20, 2020, from http://www.nea.org/tools/52217.htm

Seifter, H. (2016). Proof of impact: Arts-based learning leads to improvements in creative thinking skills, collaborative behaviors and innovative outcomes. The Art of Science Learning. Retrieved May 20, 2020, from http://www.artofsciencelearning.org/phase2-research-findings

Wayne, C. (2012). What is S.T.E.M. and why do I need to know?. Retrieved February 2, 2020, from http://issuu.com/carleygroup/docs/stem12online/1