การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทดลอง เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ด้วยการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับเทคนิคทำนาย-สังเกต-อธิบาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเรียนรู้แบบสืบเสาะเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพในการสอนวิทยาศาสตร์มาหลายทศวรรษ และการบูรณาการเทคนิคที่น่าสนใจอื่นๆ เข้ากับการเรียนรู้แบบสืบเสาะก็ได้ผลที่ดียิ่งขึ้น ดังนั้น การวิจัยได้พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี โดยการบูรณาการเทคนิคทำนาย-สังเกต-อธิบายในขั้นสร้างความสนใจและขั้นขยายความรู้ของการสืบเสาะ 5E และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทดลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนยโสธรพิทยาคม จำนวน 41 คน ที่เรียนด้วยกิจกรรมที่พัฒนาขึ้น ผู้วิจัยใช้คำถามกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของนักเรียนในขั้นสร้างความสนใจร่วมกับกิจกรรมทำนายที่เน้นการตั้งสมมติฐานเพื่อนำไปสู่การสำรวจและอธิบายข้อมูลตามขั้นตอนของการเรียนรู้แบบ 5E ต่อไป (5 แผน รวม 10 คาบ) และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ซึ่งเป็นแบบปรนัยจำนวน 28 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (mean 21.34, S.D. 1.80) สูงกว่าก่อนเรียน (mean 6.98, S.D. 1.94) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และมีความก้าวหน้าทางการเรียนแบบปกติ (<g>) เท่ากับ 0.68 ซึ่งจัดอยู่ในระดับความก้าวหน้าปานกลาง และนักเรียนมีทักษะการทดลองเฉลี่ยร้อยละ 78.57 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก แสดงว่าการสอดแทรกเทคนิคทำนาย-สังเกต-อธิบายเข้าไปในขั้นสร้างความสนใจของการเรียนรู้แบบสืบเสาะสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการทำกิจกรรมในขั้นตอนต่างๆ ของการเรียนรู้แบบสืบเสาะได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้นักเรียนมีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทดลองอย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
References
ชาตรี ฝ่ายคำ. (2551). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 11(1) 36-38.
ณราภรณ์ บุญกิจ. (2553). ตัวแทนความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง แสง จากการกิจกรรมการเรียนการสอนแบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย (น. 1212-1220). ใน การประชุมทางวิชาการการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ครั้งที่ 11. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดารารัตน์ ชัยพิลา และสกนธ์ชัย ชะนูนันท์. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงการตามแนวคิด STEM Education เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์, 27(2), 98-109.
บุษยา แสงทอง และสุภาพร พรไตร. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องกระบวนการจำลองตัวของดีเอ็นเอ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (น. 217 - 227). ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการระดับชาติ มอบ.วิจัย. ครั้งที่ 10. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ปราญชลี นนทะวัน ประนอม แซ่จึง และกานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา. (2558). การศึกษามโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารชีวโมเลกุล โดยการเรียนรู้แบบสืบเสาะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (น. 371-379). ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ ม.อบ. วิจัย. ครั้งที่ 9. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ใผ่ พันงาม และศักดิ์ศรี สุภาษร. (2560). การพัฒนาความเข้าใจมโนมติ เรื่อง สารละลาย ด้วยการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้นร่วมกับเทคนิคทำนาย-สังเกต-อธิบาย ในขั้นสร้างความสนใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (น. 1128-1143). ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 44. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
พนัสดา มาตราช สุภาพ ตาเมือง และศักดิ์ศรี สุภาษร. (2559). การพัฒนาความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมดุลเคมี ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ผสมผสานกับเทคนิคทำนาย-สังเกต-อธิบายในขั้นสร้างความสนใจสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (น. 356-366). ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ งานเกษตรแฟร์นนทรีอีสาน ครั้งที่ 4. สกลนคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ.
พิริยา พงษภักดิ์ และไชยพงษ เรืองสุวรรณ. (2556). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะหเรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกโดยใชวิธี Predict-Observe-Explain (POE) สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแกน, 36(2), 74-83.
พิศน์ณิชา กุลปฐวีวัฒน์ ธนากร เสาศิริ นิภาวรรณ สรหงส์ และน้ำฝน คูเจริญไพศาล. (2556). การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว., 30(1), 103-121.
มิรันตี โทผาวงษ์ และกานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา. (2557). ความก้าวหน้าทางการเรียนและทักษะการทดลองในการเรียนเรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย–สังเกต–อธิบาย. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 5(1), 57-65.
วรุนันท์ ช้อยกิตติพันธ์ และกานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา. (2558). การพัฒนามโนมติวิทยาศาสตร์เรื่องรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (น. 380-387). ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ ม.อบ. วิจัย ครั้งที่ 9. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ศักดิ์ศรี สุภาษร. (2554). กระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ในการทดลองเคมีระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย: การทบทวนงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 22(3), 331-343.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). หนังสือเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ 3. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
สนทยา บ้งพรม และศักดิ์ศรี สุภาษร. (2558). การพัฒนาความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าเคมี ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ผสมผสานกับเทคนิคการทำนาย-สังเกต-อธิบาย ในขั้นขยายความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (น. 411-420). ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมทางวิชาการระดับชาติ ม.อบ. วิจัย. ครั้งที่ 9. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
สุธาทิพย์ บุญส่ง และสุภาพร พรไตร. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (น. 228-239). ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ ม.อบ. วิจัย. ครั้งที่ 10. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ฮิกมะฮ์ อาแวกะจิ และศักดิ์ศรี สุภาษร. (2558). การพัฒนาความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่องสมดุลเคมี ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ผสมผสานกับเทคนิคทำนาย-สังเกต-อธิบายในขั้นขยายความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (น. 388-398). ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมทางวิชาการระดับชาติ ม.อบ. วิจัย. ครั้งที่ 9. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill.
Karisook, R. & Tipparach, U. (2010). The attitudes and expectations of students from Benchama Maharat School on learning Physics. In Proceedings of 36th Congress on Science and Technology of Thailand. Bangkok: The Science Society of Thailand Under the Patronage of His Majesty the King.
Kearney, M. (2004). Classroom use of multimedia-supported predict-observe-explain tasks in a social constructivist learning environment. Research in Science Education, 34, 427-453.
Simmaroon, N., Phusee-orn, S. & Nuangchalerm, P. (2016). Development of the program for enhancing integrated science process skills, ability in analyzing, and scientific mind of Mathayomsuksa 4 students through the integration of authentic assessment (in English). Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, 22(1), 141-152.