การเรียนรู้บูรณาการสตีมศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและ การแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

Main Article Content

ภิญโญ วงษ์ทอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา และความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยแผนการเรียนรู้บูรณาการสตีมศึกษา (STEAM Education) ขั้นตอนการวิจัยเริ่มจากการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการเรียนรู้บูรณาการสตีมศึกษาด้วยการโค้ชแบบหนุนนำต่อเนื่อง(coaching and monitoring) ให้กับครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดนครนายกจำนวน 8 คน จาก 8 โรงเรียนโรงเรียนละ 1 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จากนั้นครูสร้างแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการสตีมศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและนำไปจัดกิจกรรมในโรงเรียนของตนเอง กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนในโรงเรียนดังกล่าวซึ่งมีนักเรียนรวม 65 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่1) แผนการเรียนรู้บูรณาการสตีมศึกษา 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( )ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ร้อยละ (%) และค่าสถิติt-test แบบ dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาหลังเรียน(ร้อยละ 47.85) สูงกว่าก่อนเรียน (ร้อยละ 30.46) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 60 และ2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้บูรณาการสตีมศึกษาอยู่ในระดับมาก ( =4.43, SD=0.37) นอกจากนี้พบว่านักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการสตีมศึกษาสามารถสังเกต รวบรวมข้อมูล ระบุปัญหา หาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับวัย ทดลองปฏิบัติสรุปผล และนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ได้ซึ่งแสดงว่าผู้เรียนเกิดการพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)