สถานะพหุวัฒนธรรมศึกษาในโรงเรียนชายแดนไทย-สปป.ลาว : กรณีศึกษาโรงเรียนในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

วสันต์ สรรพสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สถานะของแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษาที่ปรากฏในโรงเรียนในพื้นที่ชายแดนไทย-สปป.ลาว อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งผู้วิจัยเลือกโรงเรียนริมโขงวิทยาคม (นามสมมุติ) อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เป็นพื้นที่วิจัย และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยา ได้แก่ การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ และการศึกษาเอกสาร ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562- กุมภาพันธ์ 2563 โดยใช้แนวคิดพหุวัฒนวัฒนธรรมศึกษาของ Sonia Nieto (1994) และ James A. Banks (2010) เป็นกรอบในการศึกษาและวิเคราะห์ พบว่า สถานะพหุวัฒนธรรมศึกษาปรากฏในโรงเรียนชายแดนไทย-สปป.ลาว โดยภาพรวมอยู่ในระดับอดทนอดกลั้น (Tolerance) กล่าวคือ 1) พื้นที่นโยบายโรงเรียน เพิ่งก้าวข้ามจากการศึกษาแบบมุมมองวัฒนธรรมเดี่ยวมาสู่การอ้าแขนรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมและกำหนดนโยบายใหม่ที่สนองบริบทของผู้เรียนและบริบทของพื้นที่ 2) พื้นที่ห้องเรียนและการจัดการเรียนการสอน มีการบูรณาการประเด็นพหุวัฒนธรรมเข้าไปหลักสูตรการจัดบรรยากาศห้องเรียน และการจัดการเรียนการสอนในบางรายวิชา และ 3) พื้นที่วิถีชีวิตประจำวันของนักเรียน มีการเพิ่มกิจกรรมในรูปแบบ 3F Model และเปิดพื้นที่ทางสังคมในนักเรียนกลุ่มวัฒนธรรมรองได้แสดงออกถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม แต่อดทนอดกลั้นดังกล่าวของโรงเรียนยังตั้งอยู่ในสถานะที่สั่นคลอนและยังแฝงไปด้วยการกลืนกลายและหลอมรวมความแตกต่างทางวัฒนธรรมของนักเรียน นอกจากนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าโรงเรียน สถาบันฝึกหัดครู หน่วยงานของรัฐ ชุมชน และองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ควรมีส่วนร่วมในพัฒนาหลักสูตร เตรียมครู และสร้างองค์ความรู้ด้านศาสตร์การสอนที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนทุกคนเพื่อทำให้สถานะพหุวัฒนธรรมศึกษาของโรงเรียนก้าวไปสู่ระดับการยอมรับ การเคารพ และการยืนยัน สามัคคี และการวิพากษ์ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือและแนวปฏิบัติสำหรับการจัดการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย (ฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

ขวัญชีวัน บัวแดง. (2556). ทายาทของแรงงานย้ายถิ่นจากประเทศพม่า การศึกษา และอัตลักษณ์ ข้ามชาติ. ใน สุชาดา ทวีสิทธิ์ (บก.), พลเมืองในโลกไร้พรมแดน (หน้า 124-155). กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล (คพรส.) สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

ชาย โพธิสิตา. (2559). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 7) . กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งฯ.

ฐิติมดี อาพัทธนานนท์. (2555). โรงเรียนหลากวัฒนธรรม": นโยบายการจัดการศึกษาของรัฐไทยในสังคมพหุวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ทิฆัมพร สมพงษ์, วุฒิชัย เนียมเทศ, เอกรินทร์ สังข์ทอง, เรชา ชูสุวรรณ. (2560). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 28(3), หน้า 95-107.

ทิพวรรณ พ่อขันชาย. (2555). อำนาจ และการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมในการศึกษาของกลุ่มชาติพันธุ์บรู. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาชนบทศึกษา

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

นงเยาว์ เนาวรัตน์. (2561). การศึกษาพหุวัฒนธรรม : มุมมองเชิงวิพากษ์และการปฏิบัติการในโรงเรียน. เชียงใหม่ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุบผา อนันต์สุชาติกุล. (2554). รูปแบบและการจัดการศึกษาสำหรับทายาทรุ่นที่สองของผู้ย้ายถิ่นจากประเทศพม่า. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ศิวรักษ์ ศิวารมย์. (2551). สังคมศาสตร์การศึกษา . กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน (พ.ศ.2560-2564) ของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดเชียงราย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560-2564. เชียงราย : กระทรวงศึกษาธิการ.

สุธิรัส ชูชื่น. (2555). พหุวัฒนธรรมศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้...ทางเลือกหรือทางรอด?. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), หน้า 124-136.

สุนิดา ศิวปฐมชัย. (2554). การศึกษาข้ามแดนไทย-กัมพูชา: ภาระ หรือ โอกาส. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 30(1), หน้า 65-83.

สุภางค์ จันทวานิช. (2536). วิธีการเก็บข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. ใน อุทัย ดุลยเกษม (บรรณาธิการ), คู่มือการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่องานพัฒนา (หน้า 81-108). ขอนแก่น: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อุษณีย์ ธโนศวรรย์ และศริชัย พรประชาธรรม. (2553). การศึกษา : มายาการความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม. ใน ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (บก.), ความรุนแรงซ่อน/หาสังคมไทย (หน้า 219-326). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

Apple, M. W. (2013). Knowledge, power, and education: The selected works of Michael W. Apple. New York: Routledge.

Banks, J. A. (2010). Multicultural Education Issues and Perspectives (7th ed.). New Jersey: John Wiley & Sons.

De Melendez, W. R., & Beck, V. O. (2013). Teaching young children in multicultural classrooms: Issues, concepts, and strategies. Cengage Learning.

Giroux, H.A. (2005). Border Crossings: Cultural Workers and the Politics of Education. New York, NY: Routledge.

Hopkins-Gillispie, D. (2011). Curriculum & Schooling: Multiculturalism, Critical Multiculturalism and Critical Pedagogy. The South Shore Journal, Vol. 4, 1-10.

McLaren, P., and Farahmandpur, R. (1999). Critical Multiculturalism and the Globalization of Capital: Some Implications for a Politics of Resistance. Journal of Curriculum Theorizing, 15(4), 27-46.

Nieto, S. (1994). Affirmation, Solidarity, and Critique: Moving Beyond Tolerance in Multicultural Education. New York: Longman.

Sapphasuk, W. (2019). Cultural Citizenship Construction in Thailand – Lao PDR Border School. Chiang Mai: Doctor of Philosophy (Education), Graduate School, Chiang Mai University.

Sapphasuk, W., & Nawarat, N. (2018). Cultural Citizenship In Thailand-Lao PDR Border School. In the ASEAN/Asian Academic Society International Conference Proceeding Series (pp. 166-171).