DEVELOPMENT OF ANALYTICAL THINKING OF LEARNING THEORY BY USING LEARNING MANAGEMENT-BASED GRAPHIC ORGANIZER FOR GRADUATE STUDENTS IN SCIENCE TEACHING PROGRAM

Main Article Content

อรุณรัตน์ คำแหงพล
ถาดทอง ปานศุภวัชร
อนันต์ ปานศุภวัชร
พิทักษ์ วงษ์ชาลี
นิติธาร ชูทรัพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบผังกราฟิก 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบผังกราฟิก 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 22 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบค่าที (t-test for dependent samples) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


  1. การคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบผังกราฟิก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบผังกราฟิก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  3. นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบผังกราฟิก มีความพึงพอใจในระดับมากขึ้นไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2541). คลื่นลูกที่ 5-ปราชญ์สังคม : สังคมไทยที่ไม่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). การคิดเชิงวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

จินตนา สุจจานันท์. (2556). การศึกษาและการพัฒนาชุมชนในศตวรรษที่ 21 (Education and Community Development in the 21st Century). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

น้ำผึ้ง เสนดี, อนันต์ ปานศุภวัชร และ อุษา ปราบหงส์. (2560). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รายวิชาชีววิทยา เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการใช้ผังมโนทัศน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(28), 1-13.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2549). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.

แรมจันทร์ พรมปากดี. (2559). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นร่วมกับผังกราฟิก เรื่อง พันธุกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 8(22), 101-111.

ละมัย วงคำแก้ว. (2555). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เวิน ริทัศน์โส. (2559). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้แผนผังมโนทัศน์ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 8(22), 147-159.

สมจิตร ผอมเซ่ง, ดวงเดือน พินสุวรรณ์ และนวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการใช้เทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 7(1), 160-173.

อิทธิเดช น้อยไม้. (2555). การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้ผังกราฟิกเป็นเครื่องมือพัฒนาทักษะการคิด. วารสารศึกษาศาสตร์, 23(2), 11-23.

อเนก พ.อนุกูลบุตร. (2547). การสอนให้คิดเป็น. วารสารวงการครู, 2(8), 62-63.

Colliot, T., & Jamet, E. (2018). Dose self-generating a graphic organizer while reading improve students’ learning?. Computers & Education, 126, 13-22.