Total Physical Response (TPR) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนครขอนแก่นDEVELOPING CHINESE LISTENING SKILLS AMONG THE 11TH GRADERS OF NAKONKHONKAEN SCHOOL USING TOTAL PHYSICAL RESPONSE: TPR

Main Article Content

ธัญลักษณ์ ทุมพิลา
นฤภรณ์ วุฒิพันธุ์
นารีนารถ กลิ่นหอม

บทคัดย่อ

จากที่ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบตอบสนองด้วยท่าทาง Total Physical Response (TPR) เป็นนวัตกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนรู้ภาษาจากการสังเกตการกระทำของผู้อื่น และจากการฝึกฝนด้วยตนเอง ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะนำนวัตกรรมนี้มาใช้ในการพัฒนาความสามารถด้านการฟังภาษาจีนของนักเรียน


          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการฟังภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนครขอนแก่น โดยการจัดการเรียนรู้แบบตอบสนองด้วยท่าทาง    Total Physical Response (TPR) ใช้รูปแบบการวิจัยแบบเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre –Experimental Designs)  แบบ One Group Pretest - Posttest Design กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 โรงเรียนนครขอนแก่น ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 28 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive  sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  1) แผนการจัดการเรียนรู้ความสามารถด้านการฟังภาษาจีนโดยใช้รูปแบบตอบสนองด้วยท่าทาง Total Physical Response (TPR) จำนวน 6 แผน  2) แบบวัดความสามารถด้านการฟังภาษาจีน ประกอบด้วยแบบทดสอบก่อนเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน 3) แบบสังเกตการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความก้าวหน้า


          ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบตอบสนองด้วยท่าทาง Total Physical Response(TPR)  มีคะแนนเฉลี่ยการทดสอบความสามารถด้านการฟังภาษาจีนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  โดยมีคะแนนการทดสอบก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 7.86 ( =7.86) คิดเป็นร้อยละ 39.29 คะแนน การทดสอบหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 14.89 ( =14.89) คิดเป็นร้อยละ 74.46 และคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 7.04

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กัลยาณี คำมุลนา. (2553). การพัฒนาทักษะการฟัง - พูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนอนุบาลพิมานเด็ก จังหวัดขอนแก่น ที่ได้รับการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

คำพันธ์ แสนสุข. (2556). การศึกษาการเรียนรู้การฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1 ด้วยวิธีการสอน แบบการตอบสนองด้วยท่าทาง โรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทองในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาระบบสองภาษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

ธนู ทดแทนคุณ และกานต์รวี แพทย์พิทักษ์. (2552). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, วุฒิชัย เนียมเทศ, และณัฐวิทย์ พจนตันติ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความ ท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 208-222.

ปทิตตา ติวงค์. (2556). การพัฒนาความสามารถด้านการฟัง-พูด ภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ปิยณัฐ ทั่งจันทร์แดง. (2557). การศึกษาความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบตอบสนองด้วยท่าทางร่วมกับเทคนิคแผนผังมโนทัศน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและ การสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ผ่องศรี เอื้องไพโรจน์. (2558). การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยจากการศึกษาและหลักฐานทางประวัติศาสตร์. ค้นเมื่อ วันที่ 2 มีนาคม 2559, จาก http://mcpswis.mcp.ac.th/html_edu/cgi-bin/mcp/main_php/print_informed.php?id_count_inform=13261

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2551). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้: ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณี อินทพันธ์. (2553). การสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง: วิวัฒนาการและการนำไปใช้กับผู้เรียนต่างบุคลิกภาพรูปแบบการเรียนและระดับความสามารถทางภาษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เรณู สัมมัตถะ. (2553). การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ภาพยนตร์การ์ตูน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรติ หอมลา. (2553). การส่งเสริมความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษและความสามารถในการฟังของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงโดยการใช้ภาพยนตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิรีวรรณ ร่มเย็น. (2554). รายงานการวิจัยเรื่องการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรม Information gap ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) ระดับประถมศึกษา. ขอนแก่น: โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) ระดับประถม.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2553). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. มหาสารคาม: ภาควิชาวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุภิญญา เรือนแก้ว. (2552). ความสำคัญของภาษาจีนในปัจจุบัน. ค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2560, จาก https://sites.google.com/site/thaistudyinchina/khwam-sakhay-phasa-cin

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทยญี่ปุ่น. [ม.ป.ป.]. ทักษะการฟัง. ค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2560, จาก http://www.pattanakit.net/

สรายุทธ กันหลง. (2553). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัย (Assessment of research tools). ค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2560, จาก ttp://www.ipernity.com/blog/248956/418310

สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก.

Peerayut1001. (2555). TPR (Total Physical Response). Retrieved June 30, 2560, from http://peerayut1001.blogspot.com/