ผลการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ด้วยรูปแบบปัญหาเป็นฐาน ในรายวิชาอรรถวิพากษ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4

Main Article Content

สกาวเดือน ซาธรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาด้วยรูปแบบการสอนปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning: PBL) โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 35 คน ในปีการศึกษา 2561 ภาคการศึกษาต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการ คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจำนวน 8 แผน และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย คือ แบบประเมินพฤติกรรมการคิดวิเคราะห์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน รูปแบบการวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบหลังการทดลอง (The One-Shot Case Study) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการพรรณาวิเคราะห์ ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนด้านการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยที่ 14.69 คิดเป็นร้อยละ 73.75 และมีผู้เรียนผ่านเกณฑ์ 26 คน คิดเป็นร้อยละ 74.28 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ตามที่กำหนดไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). มองฝันไปข้างหน้า: วิสัยทัศน์ประเทศไทยปี 2560. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

ทิศนา แขมมณี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธิดารัตน์ กันยะมี. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิตที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2561, จาก http://research.pcru.ac.th/pcrunc2016/datacd/pcrunc2016/files/O1-032.pdf.

บุญชม ศรีสะอาด. (2557). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัฒนา รัตนนท์. (2557). ผลการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ชุดกิจกรรมสื่อสิ่งพิมพ์.

วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

พุทธชาติ ชุมแวงวาปี และ เพชรรัตน์ จงนิมิตสถาพร. (2561). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาจากการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 41(1), 51-61.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). คิดวิเคราะห์: สอนและสร้างได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถตาพับลิเคชั่น.

สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2550). ทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน: ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. นนทบุรี: ซี ซี แอลลิดล์คิงคส์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการวิจัยการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อัญชลี ชยานุวัชร. (2554). การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. ล.1, แนวคิดและกระบวนการเรียนรู้ = Problem-based learning. นครศรีธรรมราช: งานนวัตกรรมการเรียนรู้ ส่วนส่งเสริมวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

Delisle, R. (1997). How to use problem-based learning in the classroom. Alexandria, VA: Association for Supervision and Curriculum Development.