การออกแบบและพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ ที่ส่งเสริมการคิดขั้นตอนวิธี สำหรับโครงสร้างข้อมูล

Main Article Content

พรสวรรค์ วงค์ตาธรรม
จารุณี ซามาตย์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ที่ส่งเสริมการคิดขั้นตอนวิธี สำหรับโครงสร้างข้อมูล โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental Research) แบบ Type I (Richey and Klein, 2007)  ซึ่งประกอบด้วย 3  กระบวนการ คือ
1) กระบวนการออกแบบ 2) กระบวนการพัฒนา และ 3) กระบวนการประเมิน โดยการวิจัยครั้งนี้อยู่ในกระบวนการออกแบบและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้มี  2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ด้านสื่อ ด้านประเมินผล และนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาอัลกอริทึมและโครงสร้างข้อมูลขั้นนำ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 12 คน ผลการวิจัยพบว่า สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) สถานการณ์ปัญหาที่ส่งเสริมการคิดขั้นตอนวิธี 2) แหล่งการเรียนรู้ 3) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4) ศูนย์ให้คำแนะนำ และ 5) ฐานการช่วยเหลือ และผลจากการประเมินประสิทธิภาพของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มผู้เรียนพบว่า มีประสิทธิภาพในด้านผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ด้านความคิดเห็นของผู้เรียน ด้านการคิดขั้นตอนวิธี และด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ชณิดาภา บุญประสม. (2554). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบทบทวนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียนรู้ร่วมกันแบบเพื่อนคู่คิด ในรายวิชาโครงสร้างข้อมูล หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ณัฐกานต์ เมยเค้า. (2557). เมนทอลโมเดลของผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่าย

ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์วิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. (2555). การเปลี่ยนแปลงโลกของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาสู่ “ครูมืออาชีพ”. ค้นเมื่อ 23 กันยายน 2555, จาก http://hu.swu.ac.th/hu/km/Files/2_Changes_in_the_world21.pdf

สุมาลี ชัยเจริญ. (2551). เทคโนโลยีการศึกษา หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เสาวลักษ์ คำถา. (2552). บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตวิชาโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา. (2550). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบแรก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ.2554-2558). กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งแอนดพับลิชชิ่ง.

Futschek, G. (2006). Algorithmic Thinking: The Key for Understanding Computer Science. Informatics Education – The Bridge between Using and Understanding Computers: International Conference in Informatics in Secondary Schools – Evolution and Perspectives. Proceedings ISSEP 2006. (pp. 159-168).

Hromkovi, J. (2016). Examples of Algorithmic Thinking in Programming Education. Olympiads in Informatics, 10(2), 111–124.

Naveh, N. (2005). The Design of Learner-centred, Technology-enhanced Education: Developing of Algorithmic Thinking in Middle School Pupils in Israel. Retrieved June 23, 2015, from http://www.phd.richardmillwood.net/en/portfolio/media/

Nili, Naveh. (2005). Developing of Algorithmic Thinking in Middle School Pupils in Israel. Retrieved June 2, 2015, from http://www phd.richardmillwood.net/en/portfolio/media/Algorithmic%20thinking.pdf

Richey, R. C., & Klein, J. (2007). Design and developmental research. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Treffinger, D. J. (2005). Creative Problem Solving: an introduction. Waco, TX: Prufrock Press.

Wing, M. J. (2006). Communications of The ACM: Computational Thinking. Retrieved June 20, 2014, from https://www.cs.cmu.edu/~15110-s13/Wing06-ct.pdf