จิตรกรรม : ความงามในโลกที่มองไม่เห็น

Main Article Content

อรอนงค์ ฤทธิ์ฤาชัย
สัญชัย สันติเวช
นิธิวดี ทองป้อง

บทคัดย่อ

การรับชมผลงานศิลปะต้องสัมผัสและรับรู้ความงามผ่านการมองเห็นเป็นสำคัญ จึงเป็นเรื่องยากที่จะสามารถทำให้ผู้ที่บกพร่องทางการมองเห็นสัมผัสและรับรู้ความงามได้ ทั้งที่จริงแล้วศิลปะอาจเป็นหนทางหนึ่งที่เด็กตาบอดเหล่านั้นจะได้รับความเพลิดเพลินจากการสร้างสรรค์งานศิลปะ เป็นเรื่องท้าทายอย่างมากในการที่จะหาหนทางทำให้เด็กตาบอดสามารถเรียนวิชาศิลปะโดยเฉพาะงานศิลปะประเภทที่ต้องอาศัยการมองเห็นเป็นสำคัญ เช่น จิตรกรรมหรือการวาดภาพระบายสี จึงมีนักการศึกษาหลายท่านพยายามเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้


          เด็กตาบอดสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะออกมาได้หลากหลายรูปแบบ แต่สิ่งที่ยากที่สุดคือการวาดภาพ ดังนั้นการออกแบบอุปกรณ์เพื่อช่วยให้เด็กตาบอดสามารถวาดภาพได้จึงเป็นเรื่องมหัศจรรย์ยิ่งนัก กิจกรรมการวาดภาพระบายสีหรืองานจิตรกรรมสำหรับเด็กตาบอดนั้นจะต้องมีกลไกที่ซับซ้อนของสื่อการเรียนรู้มากกว่าปกติทั่วไป อาจจะต้องเพิ่มวัสดุที่มีพื้นผิว มีเสียง และมีกลิ่นมาใช้แทนสัญลักษณ์ของสีและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยอาจประยุกต์ใช้สิ่งของหาได้ง่ายๆ รอบตัว เช่น การใช้กระดิ่งแทนสี เป็นต้น ซึ่งนอกจากนี้ก็ยังมีผู้ที่คิดค้นวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นมาอีกมากมายเพื่อช่วยให้เด็กตาบอดสามารถเรียนวิชาศิลปะและสร้างภาพออกมาในลักษณะแบบ 2 มิติได้ จนกระทั่งปัจจุบันได้มีการคิดค้นโปรแกรมที่ใช้เสียงแทนค่าสีต่างๆ โดยทำงานวาดภาพบนคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถสร้างผลงานออกมาในอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความทันสมัย สะดวกต่อการใช้งานทันต่อยุคสมัยใหม่ ยุคแห่งโลกดิจิตอล  


ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นก้าวแรกของการเริ่มต้นที่มีผู้คิดค้นวัสดุอุปกรณ์เหล่านี้ขึ้นมาเพื่อช่วยให้เด็กตาบอดสามารถถ่ายทอดงานศิลปะออกมาเป็นภาพวาด หรือแบบ 2 มิติได้ แต่สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งก็คือการเผยแพร่ความรู้เหล่านี้ออกไปให้ทั่วถึง และทำให้เด็กตาบอดได้มีโอกาสสัมผัสศิลปะได้อย่างมีความสุข นั่นคือสิ่งที่มีคุณค่ายิ่ง

Article Details

บท
บทความปริทัศน์ (Review Article)

References

ปากกาเล่นเส้น"อุปกรณ์วาดเขียนสำหรับคนตาบอด. (2556). ค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2562, จาก https://thaidisabled.blogspot.com/2013/11/pen.html

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2539). ศิลปศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

สัญชัย สันติเวส และคณะ. (2560). การออกแบบสื่อเพื่อจัดการเรียนรู้วิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) สำหรับนักเรียนตาบอดระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อรอนงค์ ฤทธิ์ฤๅชัย. (2556). เอกสารประกอบการสอนวิธีวิทยาการสอนศิลปศึกษา. ขอนแก่น: ภาควิชาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Freeman, M. (2016). ‘Please Touch The Art’, How One Art Show Is Changing The Way We See Art. Retrieved February 8, 2018, from https://socialnewsdaily.com/64491/please-touch-the-art-how-one-art-show-is-changing-the-way-we-see-art/

Livewithdrug. (2017). 3DPEN ปากกามหัศจรรย์ช่วยเด็กตาบอดวาดภาพได้. ค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2516, จาก https://livewithdrug.com/2017/07/23/special-pen-helps-blind-students-to-draw/

Lowenfeld, B. (1981). “Effects of blindness on the cognitive functioning of children.” In Berthold Lowenfeld on blindness and blind people: Selected papers. New York: American Federation for the Blind.

Santiwes, S. (2012). Color perception of artistic expression from drawing and painting by utilizing sound pitches for the congenital blind. Thesis in Doctor of Philosophy Program in Design Arts (International Program), Silpakorn University.