ผลของการใช้แอปพลิเคชันไลน์ในการตอกย้ำคำศัพท์ในรูปแบบของการส่งความหมาย และความหมายอิงบริบทเพิ่มขึ้นจากการเรียนการสอนในห้องเรียนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทนในการจำคำศัพท์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

Main Article Content

เรวดี หิรัญ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษยังคงมีปัญหาสำหรับผู้เรียนที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ และหนึ่งในปัจจัยหลักก็คือการไม่เข้าใจคำศัพท์ ซึ่งทำให้ผู้เรียนไม่สามารถเข้าใจเรื่องที่อ่าน หรือสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลคะแนนการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มทดลอง 2) ศึกษาความแตกต่างระหว่างผลคะแนนการทดสอบทันทีหลังเรียนในห้องเรียนและคะแนนการทดสอบทันทีหลังผ่านกระบวนการการตอกย้ำด้วยแอปพลิเคชันไลน์ 3) ศึกษาผลคะแนนการทดสอบในส่วนของความหมายเปรียบเทียบกับความหมายอิงบริบทโดยเว้นระยะเวลา 2, 4 และ6 สัปดาห์ หลังสิ้นสุดกระบวนการ 4) ศึกษาผลคะแนนการทดสอบคำศัพท์ที่มีการตอกย้ำ และคำศัพท์ที่ไม่มีการตอกย้ำด้วยแอปพลิเคชันไลน์ 5) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนคำศัพท์หลังผ่านกระบวนการ ของกลุ่มทดลองที่มีความสามารถแตกต่างกัน และ 6) ศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มทดลองต่อกระบวนการการตอกย้ำด้วยแอปพลิเคชันไลน์ ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มแบบง่ายใน  การเลือกกลุ่มทดลองซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 กลุ่มๆ ละ 25 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยการทดสอบหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน (MD = 4.00) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2) คะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบทันทีหลังเรียนในห้องเรียนสูงกว่า คะแนนแบบทดสอบคำศัพท์ทันทีหลังผ่านกระบวนการการตอกย้ำด้วยแอปพลิเคชันไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) คะแนนเฉลี่ยการทดสอบความคงทนในการจำคำศัพท์ในส่วนของความหมายอิงบริบทสูงกว่า ส่วนที่เป็นความหมาย (MD = 1.84) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 4) คะแนนเฉลี่ยการทดสอบคำศัพท์ที่มีการตอกย้ำด้วยแอปพลิเคชันไลน์สูงกว่า คำศัพท์ที่ไม่มีการตอกย้ำ (MD = 5.10) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคำศัพท์ของนักเรียนทั้ง 3 กลุ่มความสามารถแตกต่างกัน จากสูงมาต่ำ ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยนักเรียนกลุ่มอ่อนมีคะแนนเฉลี่ยพัฒนาการสูงที่สุด (26 เปอร์เซ็นต์) และ 6) ผลความคิดเห็นของนักเรียนต่อกระบวนการนี้จากแบบสอบถาม อยู่ในระดับดี


ดังนั้น จะเห็นได้ว่ากระบวนการการตอกย้ำคำศัพท์ ด้วยแอปพลิเคชันไลน์ ช่วยพัฒนาความสามารถภาษาอังกฤษด้านคำศัพท์ของนักเรียนเพิ่มขึ้นจากในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี แม้ในกลุ่มนักเรียนที่มีความสามารถต่ำทางภาษาอังกฤษ    

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ปัญจลักษณ์ ถวาย. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่เรียนโดยใช้แบบ ฝึก กิจกรรมเพิ่มพูนคำศัพท์ร่วมกับการอ่าน. SDU Research Journal Humanities and Social Sciences, 10(2), 55-72.

ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (‎2556) ไลน์รูปแบบการสื่อสารบนความสร้างสรรค์ของสมาร์ทโฟน: ข้อดีและข้อจำกัดของแอปพลิเคชัน. วารสารนักบริหาร, 33(4), 42-54

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2560). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559. ค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://www.newonetresult.niets.or.th

Atkinson, R. C., & Shiffrin, R. M. (1968). Human memory: A proposed system and its control processes. Psychology of Learning and Motivation, 2, 89-195.

Altiner, C. (2011). Integrating a Computer-based Flashcard Program into Academic Vocabulary Learning. Doctoral Dissertation, Iowa State University.

Conti, E., Madhavan, V., Such, F. P., Lehman, J., Stanley, K., & Clune, J. (2017). Improving Exploration in Evolution Strategies for Deep Reinforcement Learning Via a Population of Novelty-Seeking Agents. Retrieved February 12, 2018, from http://arxiv.org/pdf/1712.06560.pdf

Kashani, S., & Shafiee, S. (2016). A comparison of vocabulary learning strategies among elementary Iranian EFL learners. Journal of Language Teaching and Research, 7(3), 511-518.

Kee, C. N. L., & Z. Samsudin (2014). Mobile device: Toys or learning tools for the 21st-century teenagers? Turkish Online Journal of Educational Technology, 13(3), 107-122.

Liu, P. E., & Wu, W. V. (2016). Exploring the Effectiveness of LINE for EFL Vocabulary and Reading. International Journal of Learning, Teaching and Educational Research, 15(13), 71-83.

Logsdon, A. (2018). Reading Comprehension Problems and Strategies to Improve. Retrieved February 12, 2018, from https://www.verywellfamily.com/understanding-reading-comprehension-problems-2162728

Markham, P. (1989). Effects of Contextual versus Definitional Computer-assisted Vocabulary Instruction on Immediate and Long-term Vocabulary Retention of Advanced ESL Students. Educational Psychology, 9(2), 121-126, DOI: 10.1080/0144341890090203

Nash, H., & Snowling, M. (2006). Teaching New Words to Children with Poor Existing Vocabulary Knowledge: A Controlled Evaluation of the Definition and Context Methods. International Journal of Language & Communication Disorders, 41(3), 335-354.

Nemati, A. (2009). Memory vocabulary learning strategies and long-term retention. International Journal of Vocational and Technical Education, 1(2), 014-024.3

Ramezanali, N. (2017). Short and Long-term Vocabulary Learning and Retention Through Multimedia Glossing: A Mixed Methods Research. Electronic Thesis and Dissertation Repository.

Schmitt, N. (2008). Instructed second language vocabulary learning. Language Teaching Research, 12(3), 329-363.

Sulisworo, D., Ishafit, I., & Firdausy, K. (2016). The Development of Mobile Learning Application using Jigsaw Technique. iJIM, 10(3), 11-16.

Teng, F. (2016). The effects of context and word exposure frequency on incidental vocabulary acquisition and retention through reading. The Language Learning Journal. DOI 10.1080/09571736.2016.1244217

Webb, N. (2005). Depth-of-Knowledge Levels for Four Content Areas. Retrieved February 12, 2018, from http://www.hed.state.nm.us/uploads/ files/ABE/Policies/depth_of_knowledge_guide_for_all_subject_areas.pdf

Wu, J. C., & Chu, H. C. (2007). The effects of multimedia annotations on the vocabulary retention of EFL readers. English Teaching & Learning, 31(2), 89-126.