การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบท สภาพปัจจุบันและความต้องการด้านการจัด
การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 2) พัฒนาครูด้านการจัด
การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 และประเมินผลของการพัฒนา 3) ศึกษาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ซึ่งแบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาบริบท สภาพปัจจุบันและความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียน ระยะที่ 2 การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียน และประเมินผลของการพัฒนา ระยะที่ 3 การศึกษาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมที่เกิดกับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันครูมีสภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.69, S.D.=0.75) และครูมีความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.60, S.D.=0.67) 2) ผลการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม พบว่า 2.1) ครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีคะแนนทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมหลังการอบรมเฉลี่ยเท่ากับ 39.91 คิดเป็นร้อยละ 79.82 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2.2) ครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ได้ระดับคุณภาพดีมาก จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 78.72 และระดับดี จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 21.28 3) ผลการศึกษาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมที่เกิดกับนักเรียน พบว่า 3.1) ในภาพรวมนักเรียนมีคะแนนทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 78.32 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3.2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.63, S.D.=0.61)
Article Details
References
กริช ภัทรภาคิน. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะภาษาอังกฤษในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). ผลการประเมิน PISA 2015. ค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2559, จาก https://www.pisathailand.ipst.ac.th/news-8/
จำรัส อินทลาภาพร. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา สำหรับครูระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เฉลิม จักรชุม. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 11(2), 129-143.
ชาลินี เกษรพิกุล. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูภาษาไทยด้านการสอนคิดวิเคราะห์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 2(2), 200-208.
พระราชรัตนมงคล [มนตรี ยางธิสาร]. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมวิธีสอนศีลธรรมระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของพระสอนศีลธรรม ตามโครงการของกระทรวงศึกษาธิการ. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ Openworlds.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). สะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ [องค์การมหาชน]. (2560). ประกาศผลสอบ O-NET ประจำปีการศึกษา 2560. ค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2561, จาก http://www.niets.or.th/th/catalog/view/2989.
สิทธิพล อาจอินทร์. (2550). รูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับครูวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สิทธิพล อาจอินทร์. (2560). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อาทิตย์ โพธิ์ศรีทอง. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ทางด้านดนตรี ในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อุทัยวุฒิ ศรีจันทร์ ไชยา ภาวะบุตร และพิเชนทร์ จันทร์ปุ้ม. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตบทเรียนออนไลน์ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(48), 103-108.
Castle, S., Fox, Rebecca K., & Sounder, K. O. (2006). Do Professional Development School (PDSs) Make a Difference?: A Comparative Study of PDS and Non-PDS Teacher Candidates. Journal of Teacher Education, 57(1), 65–80.
Jeanpierre, B., Oberhauser, K., & Freeman, C. (2005). Characteristics of Professional Development That Effect Change in Secondary Science Teachers’Classroom Practices. Journal of Research in Science Teaching, 42(6), 668–690.
Mishra, P. & Koehler, M. J. (2006). Technological pedagogical content knowledge: A framework for teacher knowledge. Teachers College Record, 108(6), 1017-1054.
Mitkovska, S. J. (2010). The Need of Continuous Professional Teacher Development. Procedia Social and Behavioral Sciences Journal, 2(2), 2921–2926.
Partnership for 21st Century Skills. (2009). Framework for 21st Century learning. Retrieved August 19, 2013, from http://www.p21.org/storage/documents/P21_Framework.pdf.
Partnership for 21st Century Skills. (2009). P21 framework definitions. Retrieved August 19, 2013, from http://www.p21.org/storage/documents/P21_Framework_Definitions.pdf.