การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในห้องเรียนขนาดใหญ่ กรณีศึกษาวิชา 746-101 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ปีการศึกษา 2/2560
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในชั้นเรียนเรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกแบบ 123 ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับห้องเรียนขนาดใหญ่ที่เน้นทักษะกระบวนการคิดโดยจัดชั่วโมงบรรยาย ชั่วโมงทำกิจกรรมกลุ่ม และชั่วโมงแลกเปลี่ยนความรู้ในอัตราส่วน 1:2:3 ว่าจะสามารถพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชา 746-101 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ จากการวิเคราะห์ด้วยสถิติทีแบบตัวอย่างรายคู่พบว่า คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนโดยประมาณ 3.85 คะแนนอย่างมีนัยสำคัญ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันพบว่า คะแนนวิชาคณิตศาสตร์จากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับปานกลางกับคะแนนสอบจากการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกแบบ 123 อย่างมีนัยสำคัญ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันแสดงให้เห็นว่า การจัดการเรียนการสอนเชิงรุกแบบ 123 ทำให้คะแนนสอบมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างอ่อนกับคะแนนกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญ การจัดการเรียนการสอนเชิงรุกแบบ 123 มีค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบเท่ากับ 43.28 ซึ่งสูงกว่าจุดตัด 39 คะแนนที่กำหนดระดับคะแนนแบบอิงมาตรฐานตามวิธีของ Ebel อยู่ร้อยละ 53.80 และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นหลายตัวแปรแสดงให้เห็นว่าคะแนนสอบมีความสัมพันธ์กับคะแนนกิจกรรม คะแนนสอบ O-NET วิชาคณิตศาสตร์และวิชาภาษาไทยอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้นักศึกษากว่าร้อยละ 37
เห็นว่า การจัดการเรียนการสอนแบบ 123 สามารถนำคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาได้ สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับสมาชิกในกลุ่มได้ และสามารถฝึกให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย ซื่อสัตย์อยู่ในระดับมาก และร้อยละ 39 เห็นว่าการจัดการเรียนการสอนแบบ 123 ทำให้กล้าแสดงออก สามารถนำเสนอหน้าชั้นเรียนได้อยู่ในระดับพอใช้
Article Details
References
เดชดนัย จุ้ยชุม, เกษรา บ่าวแช่มช้อย และศิริกัญญา แก่นทอง. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทักษะการคิดของนักศึกษาในรายวิชาทักษะการคิด (Thinking Skills) รหัสวิชา 11-024-112 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning). วารสาร มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 3(2), 47-57.
วนิดา เจียรกุลประดิษฐ์ และเสาวภา โชติสุวรรณ. (2560). การเรียนรู้แบบเชิงรุกในรายวิชา 721-113 เคมีทั่วไป 2. The 6th PSU Education Conference: 'Higher Education for Digital Citizenship towards Thailand 4.0', ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, วันที่ 19-20 ธันวาคม 2560.
วิโรจน์ ลิ่มคงสถาพร. (2552). การกำหนดระดับคะแนนแบบอิงมาตรฐาน. สสวท., 38(163), 62-64.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิต.
ศิริพันธ์ ติยะวงศ์สุวรรณ, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง และศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). การกำหนดมาตรฐานการประเมินการศึกษา : แนวคิด วิธีการ และการปรับใช้. วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม), 34(7), 225-240.
ศิริมา วงษ์สกุลดี, พรรณทิพา พรหมรักษ์ และ เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยการเรียนรู้เชิงรุก ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 1265-1281.
ทิศนา แขมมณี. (2560ก). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2560ข). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bonwell, C. C. (2003). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. Retrieved August 19, 2013, from https://www.asec.purdue.edu/lct/hbcu/documents/Active_ Learning_Creating_Excitement_in_the_Classroom.pdf
Fink, L. D. (2003). Creating significant learning experiences: an integrated approach to designing college courses. Jossey-Bass higher and adult education series, America: HB Printing.
Prince, M. (2004). Does Active Learning Work? A Review of the Reseach. Journal of Engineering Education, 93(3), 223-232.